โควิด: ชาติร่ำรวยทบทวนนิยามใหม่ “ฉีดวัคซีนครบถ้วน” เดิม2เข็ม เปลี่ยนเป็น3เข็ม

Home » โควิด: ชาติร่ำรวยทบทวนนิยามใหม่ “ฉีดวัคซีนครบถ้วน” เดิม2เข็ม เปลี่ยนเป็น3เข็ม


โควิด: ชาติร่ำรวยทบทวนนิยามใหม่ “ฉีดวัคซีนครบถ้วน” เดิม2เข็ม เปลี่ยนเป็น3เข็ม

โควิด: ซีเอ็นเอ็น รายงานวันที่ 17 พ.ย. ว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครบถ้วนกำลังเปลี่ยนคำจำกัดความจากการฉีดวัคซีน 2 เข็ม เป็นวัคซีน 3 เข็ม.

ภูมิคุ้มกันของวัคซีนที่ลดลงและการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลต้ากระตุ้นให้ประเทศร่ำรวยพิจารณาคำจำกัดความของ “การฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน” อีกครั้ง ซึ่งมักหมายถึงการฉีดวัคซีน 2 เข็ม.

 

นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ผู้นำสหราชอาณาจักร ยอมรับเช่นนั้นเมื่อวันจันทร์ที่ 15 พ.ย. โดยกล่าวว่าการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือบูสเตอร์ มีความสำคัญต่อการป้องกันการนำมาตรการจำกัดเพื่อป้องกันโรคระบาดใหญ่กลับมาใช้อีกครั้ง.

“มันชัดเจนอย่างยิ่งว่าการได้รับวัคซีน 3 เข็ม โดยได้รับบูสเตอร์ จะกลายเป็นความจริงสำคัญ และจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นสำหรับคุณในทุกๆ ด้าน.” นายจอห์นสันแถลง.

 

ขณะที่ชาติยุโรปอื่นๆ กำลังขับเคลื่อนการบังคับเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข็มที่สามเช่นกัน.

ในฝรั่งเศส ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ประกาศว่า ทุกคนที่มีอายุเกิน 65 ปีจะต้องฉีดเข็มที่สามเพื่อตรวจสอบบัตรผ่านการฉีดวัคซีนอีกครั้งภายในวันที่ 15 ธ.ค.

ส่วนในออสเตรเลีย การฉีดวัคซีนครบถ้วนจะสิ้นสุด หลังฉีดเข็มที่สองไปแล้ว 9 เดือน ทำให้ประชาชนต้องฉีดวัคซีนเข็มที่สาม.

นอกจากนี้ ในอิสราเอล นอกจากได้รับวัคซีนเข็มที่สองภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มที่สาม เพื่อมีสิทธิ์ได้รับบัตรผ่านการฉีดวัคซีน (green pass) ซึ่งอนุญาตเข้าออกกำลังกาย ร้านอาหาร และสถานที่อื่นๆ.

An employee of the vaccination campaign prepares Biontech doses against the COVID-19 disease in Osnabueck, Germany, Saturday, Nov. 13, 2021. Germany has struggled to bring new momentum to its vaccination campaign lately, with a bit over two-thirds of the population fully vaccinated, and has balked so far at ordering vaccine mandates for any professional group. (Lino Mirgeler/dpa via AP)

ผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุขโลกกลัวว่า การพึ่งพาบูสเตอร์กำลังส่งผลต่อการจัดหาวัคซีนเริ่มต้นในเหล่าชาติยากจนต่างๆ ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนเพียง 4.6%.

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 พ.ย. นพ.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า “มันเป็น “เรื่องอื้อฉาว” ที่มีการฉีดบูสเตอร์ทั่วโลกทุกวัน 6 เท่า มากกว่าการฉีดวัคซีนเข็มแรกในประเทศรายได้ต่ำ.

“มันไม่สมเหตุสมผลที่จะฉีดบูสเตอร์แก่ผู้ใหญ่สุขภาพแข็งแรง หรือฉีดวัคซีนแก่เด็ก เมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ทั่วโลกยังรอรับวัคซีนเข็มแรก” ผู้อำนวยการ WHO กล่าว.

แอนนา แมร์ริออตต์ ที่ปรึกษานโยบายสาธารณสุขออกซแฟม ชี้แจงกลุ่มรัฐสภาอังกฤษว่าด้วยไวรัสโคโรนาเมื่อวันอังคารที่ 16 พ.ย. ว่า หากเรามองไปที่ประเทศรายได้ต่ำเป็นกลุ่มเดียว จำนวนวัคซีนที่มีการจัดส่งไปประเทศยากจนที่สุด (ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา) มีไม่ถึง 1%.

 

ดร.เดวิด นาบาร์โร ทูตพิเศษโควิด-19 ของ WHO บอกกับส.ส.อังกฤษว่า เป็นการเดิมพันสำหรับประเทศร่ำรวยที่จะพึ่งพาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน และเป็นกลยุทธ์สาธารณสุขที่ไม่เหมาะสมที่จะทำเช่นนั้นจริงๆ.

ดร.นาบาร์โรเตือนด้วยว่า ด้วยความรู้มากมายที่ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา การใช้วัคซีนเป็นอาวุธหลักในการต่อสู้กับโควิด-19 อาจนำไปสู่การเกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ.

“สิ่งที่ต้องทำคือ “แนวทางผสมผสาน” ระหว่างการสวมหน้ากากอนามัยและมาตรการสาธารณสุขอื่นๆ. นั่นคือทำทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนสามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้” ดร.นาบาร์โรระบุ.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ออสเตรีย “ล็อกดาวน์” 2 ล้านคน คุมเข้มประชาชนไม่ฉีดวัคซีน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ