วันที่ 14 ต.ค. 2567 สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด สำหรับกลุ่ม 608 โดยแนะนำเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะถ้าเคยฉีดวัคซีนเข็มก่อนหน้ามาเกิน 1 ปี หรือติดเชื้อครั้งสุดท้ายมานานกว่า 3-6 เดือน และไม่ขึ้นกับว่าเคยได้รับวัคซีนโควิด-19 มาแล้วจำนวนกี่เข็ม โดยเน้นย้ำว่า เชื้อก่อโรคโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อไปนานแล้ว ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่อาจไม่สามารถป้องกันโรคได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง จึงจำเป็นที่ต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น และการที่ประชากรส่วนใหญ่ห่างหายจากการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไปนานอาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในวงกว้าง และส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง เกิดโรครุนแรงภาวะแทรกซ้อนได้ โดยข้อมูลปัจจุบันประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มกระตุ้นจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60-70 ในการป้องกันการติดโรค และสามารถป้องกันอาการป่วยหนักและเสียชีวิตได้สูงถึง 95-99%
รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงสาธารณสุขและประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาโรคไข้หวัดใหญ่แห่งประเทศไทย ให้มุมมองเสริมว่า “ปัจจุบันรัฐบาลของหลายประเทศทั่วโลกอย่างในยุโรปและอเมริกาก็มีการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ฟรีแก่ประชาชน แต่ก็ยังมีบางประเทศที่ประชาชนต้องเสียเงินเองเนื่องด้วยวัคซีนโควิด-19 มีต้นทุนทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาและผลิตวัคซีนชนิดใหม่ ๆ ให้ตามทันกับเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ในฐานะแพทย์ สนับสนุนให้มีการจัดสรรวัคซีนฟรีให้แก่คนกลุ่มเสี่ยงสูง
- แพทยสภาประกาศเตือน! ‘หมอแขวนป้าย’ ระบาด หวั่นเป็น ‘หมอเถื่อน’
- คนล้น! นทท. นับพัน แห่ดู ‘หมูเด้ง’ หลังสวนสัตว์ประกาศ เข้าฟรี 1 วัน
- เปิดใจ! ชายปีนเสาไฟฟ้าแรงสูง เผย เครียดเรื่องเมีย เคยทำมาแล้ว 2 ครั้ง
โดยแนะนำให้ฉีดปีละครั้งเนื่องจากเชื้อวิวัฒนาการเร็ว อย่างไรก็ตามเข้าใจว่าการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แต่หากมองในอีกแง่หนึ่ง กรณีที่ประชาชน โดยเฉพาะคนกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้รับหรือเข้าไม่ถึงวัคซีนป้องกัน หากเกิดติดเชื้อก็มีโอกาสเจ็บป่วยรุนแรง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในจำนวนที่มากกว่าเดิม จากพันกว่าบาทในการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงต่อคน อาจจะเป็นหลักหมื่นบาทไปจนถึงแสนบาทต่อผู้ป่วยหนึ่งคนที่ป่วยเป็นโรครุนแรง”
608 คืออะไร?
กลุ่ม 608 คือกลุ่มคนที่ต้องได้รับการวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากที่สุดนั่นคือกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรคประจำตัว ได้แก่
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคไตวายเรื้อรัง
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคอ้วน
- โรคมะเร็ง
- โรคเบาหวาน
- และ+1 คือกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีอาการรุนแรงของโรคมากหากติดเชื้อโควิด-19
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 6 – 12 ตุลาคม 2567
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 353 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 50 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 0 ราย : เฉลี่ยจำนวน 0 ราย/สัปดาห์
ผู้ป่วยสะสม 39,697 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567)
เสียชีวิตสะสม 211 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567)
ผู้ป่วยปอดอักเสบ 123 ราย
ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 57 ราย