ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำการให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก และวัยรุ่น ผู้ใดควรได้รับวัคซีน และควรได้รับอย่างไรถึงจะเหมาะสม
ตามประกาศจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 24 กันยายน 2564 ระบุว่า ในระยะแรกของการให้วัคซีนในเด็กและวัยรุ่น ได้กําหนดให้ผู้มีโรคประจําตัวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคใควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ เป็นผู้มีความเร่งด่วนอันดับต้น ให้ได้รับวัคซีนชนิด mRNA ของ บริษัท Pfizer BioNTech จํานวน 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ขึ้นไป ได้แก่
- เด็กและวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี ทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน
- เด็กอายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจําตัว ที่อาจเกิดโรคโควิด-19 รุนแรงอาจถึงขึ้นเสียชีวิต ได้แก่
- บุคคลที่มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ มีน้ําหนัก 70 กิโลกรัม ขึ้นไปในเด็กอายุ 12-13 ปี น้ําหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 13-15 ปี น้ําหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็ก ฉายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกัน)
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง 3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง 4. โรคไตวายเรื้อรัง 5. โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ํา 6. โรคเบาหวาน
- กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ติดตามข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น เพื่อให้คําแนะนําเพิ่ม ทั้งนี้โดยคํานึงถึงความปลอดภัย และประโยชน์ทางด้านสุขภาพของ เด็กเป็นสําคัญ ดังนี้
เด็กและวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี อายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี แนะนําให้ฉีดวัคซีนชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer BioNTech โดย
- เด็กและวัยรุ่นชาย รับวัคซีน เข็มที่ 1 และ ชะลอการให้เข็มที่ 2 ไปก่อน จนกว่าจะมีคําแนะนําเพิ่มเติม (เนื่องจากการฉีดเข็ม 2 ในเด็กกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงกว่าเข็มแรก จากกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งพบน้อยมาก
- เด็กและวัยรุ่นหญิง สามารถรับวัคซีน 2 เข็มห่างกัน อย่างน้อย 3 สัปดาห์
ชนิดของวัคซีนที่แนะนําในเด็กและวัยรุ่น
ขณะนี้ (วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564) มีวัคซีนที่มีในประเทศไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป คือ วัคซีน ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer-BiONTech
แนะนําให้ใช้วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเด็ก อายุต่ํากว่า 18 ปีจากองค์การอาหารและยาแล้ว เท่านั้น
นอกนั้นนี้ แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยา (อย.) ให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งในขณะนี้ (วันที่ 22 กันยายน 2564) มีวัคซีนชนิดเดียวที่มีในประเทศ ไทย คือชนิด mRNA ของ Pfizer-BioANTech และเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2554 วัคซีนชนิด mRNA ของ Moderna ได้รับการรับรองเพิ่มเติม (แต่ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนนี้ในประเทศไทย) สําหรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ของ Soripharm และ Sinovac อยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อมูลเรื่องการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในเด็ก และขณะนี้ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่น แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่ได้รับการรับรองโดย อย.2 เข็มห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ในเด็กและวัยรุ่นทุกคนที่ อายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป และเด็กและวัยรุ่นทุกคนที่อายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีโรคประจําตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 รุนแรง ซึ่งเป็นคําแนะนําที่ให้ไว้ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2554
ทำไมเด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19
แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในเด็กจะต่ํา แต่พบมีรายงานผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการอักเสบของ อวัยวะหลายระบบในร่างกายที่สัมพันธ์กับการติดโรคโควิด-19 (Multisystem inflammatory syndrome in children, MIS-C) ในเด็กจํานวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงแม้ว่าเป็นเด็กที่ปกติแข็งแรงดี และในขณะ นี้เด็กและผู้ปกครองจํานวนมากได้รับผลกระทบจากการที่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียนเป็นระยะเวลานาน
คำแนะนำหลังฉีดวัคซีน mRNA สำหรับเด็ก
แนะนําให้เด็กงดออกกําลังกายอย่างหนักหรือการทํากิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ซึ่งถึงแม้จะพบในอัตราที่ต่ํา แต่เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน จึงแนะนําให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งเข็มที่ 1 และ 2 ให้งดการออกกําลังกายหรือการทํากิจกรรม อย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคซีน
และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บแน่น หน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืดเป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์ โดยหากแพทย์สงสัย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ควรพิจารณาทําการตรวจค้นเพิ่มเติม
หากมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นมากขึ้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจะมีคําแนะนําเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในอนาคตต่อไป สามารถติดตามคําแนะนําของราชวิทยาลัยได้ที่ www.thaipediatrics.org