วันที่ 25 มี.ค. บีบีซี รายงานว่า เจ้าหน้าที่ออสเตรเลียยืนยันว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟ พืดหินปะการังที่ยาวที่สุดในโลกกว่า 2,000 ก.ม. ได้รับความเสียหายรุนแรงจากการฟอกขาวขนานใหญ่อีกเป็นครั้งที่สี่ในรอบ 6 ปี ที่ความเสียหายรุนแรงและเป็นวงกว้างเช่นนี้

(FILES) This file picture taken on March 7, 2022 shows the current condition of the coral on the Great Barrier Reef, off the coast of the Australian state of Queensland. – Australia’s Great Barrier Reef is suffering a “mass bleaching event” as coral comes under heat stress from warmer seas, reef authorities said on March 25, 2022. (Photo by Glenn NICHOLLS / AFP)
นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเพื่อให้ระบบแนวปะการังที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สุดในโลกอยู่ต่อไป หลังมีความกังวลอย่างยิ่งว่าการฟอกข่าวครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปีเดียวกับปรากฏการณ์ลานีญาที่ทำให้อุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเย็นลง และตอนนี้กลัวความเสียหายที่อาจเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลอุ่นขึ้นครั้งถัดไป
“รูปแบบสภาพอากาศในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้ายังมีความสำคัญในการกำหนดขอบเขตและความรุนแรงโดยรวมของการฟอกขาวของปะการังทั่วอุทยานทางทะเล” เจ้าหน้าที่แนวปะการังกล่าว

(FILES) This file photo taken on November 20, 2014 shows an aerial view of the Great Barrier Reef off the coast of the Whitsunday Islands, along the central coast of Queensland. – Australia’s Great Barrier Reef is suffering a “mass bleaching event” as coral comes under heat stress from warmer seas, reef authorities said on March 25, 2022. (Photo by SARAH LAI / AFP)
ด้านมูลนิธิอนุรักษ์แห่งออสเตรเลียกล่าวว่า นี่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจจริงๆที่ได้รับการยืนยันการฟอกขาวอีกครั้ง
“เหตุการณ์ฟอกขาวที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเหล่านี้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างหนัก และส่งผลกระทบต่อทุกคนที่รักความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติอันน่าทึ่งนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ทะเลมากมาย” มูลนิธิอนุรักษ์แห่งออสเตรเลียระบุในแถลงการณ์
ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ของสหประชาชาติ 2 คนอยู่ในรัฐควีนส์แลนด์ในภารกิจการตรวจสอบแนวปะการัง ทั้งนี้ การฟอกขาวปะการังครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2541 และอีกครั้งในปี 2545, 2559, 2560 และ 2563
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เกรตแบร์ริเออร์รีฟ มรดกโลกของออสเตรเลีย เผชิญปัญหาอะไรบ้าง