ไบโพลาร์ : เป็นแบบนี้ ไบโพลาร์ชัวร์! วิธีรับมือกับผู้ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ โรคอารมณ์สองขั้ว ความผิดปกติทางอารมณ์
โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างช่วงซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้า (Depressive Episode) กับช่วงมาเนีย (Mania) หรือภาวะฟุ้งพล่าน หรือ คุ้มคลั่ง (Manic Episode)
โดยอาการในแต่ละช่วง อาจเป็นอยู่หลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และอาจกลับมาเป็นปกติได้ในช่วงสั้น ๆ ก่อนจะกลับไปมีอาการของโรคไบโพลาร์สลับกันไปมาอีกครั้ง อาการของโรคไบโพลาร์นั้นวินิจฉัยได้ยาก
แต่หากสงสัยบุคคลใกล้ตัวเป็นไบโพลาร์หรือไม่ ก็สามารถสังเกตเบื้องต้นได้จากอาการและสัญญาณดังต่อไปนี้
สัญญาณของภาวะฟุ้งพล่าน
- รู้สึกมีความสุข หรือคึกคักเกินปกติ ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ไม่อยากนอน หรือนอนน้อย
- พูดเร็ว คิดเร็ว
- หุนหันพลันแล่น หรือ ด่วนตัดสินใจ
- ไม่มีสมาธิ
- มั่นใจในตัวเองมากเกินไป
- มักแสดงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ช้อปปิ้งกระจาย เอาเงินเก็บมาใช้แบบไม่เหมาะสม
สัญญาณของภาวะซึมเศร้า
- รู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวัง ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ปลีกตัวออกจากเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว คนใกล้ชิด
- เลิกสนใจกิจกรรมที่เคยโปรดปราน
- ความอยากอาหารเปลี่ยนไป เช่น จากกินจุกลายเป็นไม่อยากอาหาร จากกินน้อยกลายเป็นกินจุ
- รู้สึกอ่อนเพลียรุนแรง หรือหมดพลัง
- มีปัญหาด้านความจำ การรวบรวมสมาธิ และการตัดสินใจ
- ชอบคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย หรือสนใจเรื่องการตายมากเกินปกติ
วิธีรับมือเมื่อ บุคคลใกล้ตัวเป็นไบโพลาร์
เมื่อบุคลคลใกล้ตัวเป็นไบโพลาร์ อาจประสบปัญหาในการใช้ชีวิตมากขึ้น เพราะบางครั้งอาการของโรคไบโพลาร์ก็ควบคุมไม่ได้ หรือทั้งตัวผู้ป่วยเอง และคนรอบข้างก็ไม่ได้ใส่ใจกับอาการของโรคมากนัก กว่าจะรู้ตัว ปัญหาในการใช้ชีวิตก็อาจเกิดไปแล้ว แต่คุณก็สามารถเตรียมตัวรับมือได้ เพื่อให้ชีวิตการทำงานราบรื่นขึ้น
เมื่อมีบุคคลใกล้ตัวเป็นไบโพลาร์ คุณสามารถรับมือได้ดังต่อไปนี้
ทำความเข้าใจกับอาการของโรค
อาการของโรคไบโพลาร์ คือ มีอาการฟุ้งพล่านและอาการซึมเศร้าสลับกันไปมาเป็นช่วง ๆ หากอยู่ในช่วงฟุ้งพล่าน หรือช่วงคึก บุคคลนั้นอาจวางแผนการทำงานที่เกินจริง หรือทำตามได้ยาก รวมถึงอาจตื่นตัวมากจนแทบไม่หลับไม่นอน ส่วนในช่วงซึมเศร้า เขาอาจรู้สึกหมดพลัง ทำงานให้สำเร็จไม่ได้แม้จะเป็นแค่งานง่าย ๆ ก็ตาม หรืออาจขาดงานบ่อย และไม่ยอมทำตามคำแนะนำใด ๆ ของคุณเลย
เมื่อคุณเข้าใจอาการเบื้องต้นของโรคไบโพลาร์แล้ว คุณก็จะรู้สึกโมโหหรือไม่สบอารมณ์น้อยลง หากจู่ ๆ บุคลคลใกล้ตัวที่เคยมีมารยาทดี คุยง่าย กลายเป็นคนก้าวร้าว หรือฉุนเฉียวง่ายขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย
กำหนดขอบเขต
การเข้าใจในอาการของโรคไบโพลาร์ ไม่ได้แปลว่า คุณต้องยอมตลอดเวลาที่บุคคลใกล้ตัวแสดงอาการออกมา แต่คุณควรกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนว่า พฤติกรรมไหนที่คุณรับได้หรือรับไม่ได้
สิ่งสำคัญคือ คุณต้องอธิบายให้บุคคลใกล้ตัวที่เป็นไบโพลาร์เข้าใจว่า คุณรู้ว่า เขาควบคุมอารณ์ตัวเองได้ลำบากแค่ไหน แต่เขาก็ต้องเข้าใจด้วยว่าคุณทนได้ถึงขั้นไหน เพราะไม่อย่างนั้น คุณจะต้องมานั่งเครียด และเสียสุขภาพ ร
หลีกเลี่ยงปัญหา
คุณอาจเริ่มจับทางได้ว่า เมื่อไหร่ที่อาการโรคไบโพลาร์ของบุคคลใกล้ตัวจะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิต และสามารถป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : hellokhunmor
ข่าวที่น่าสนใจ
- อย่าตกเป็นเหยื่อ! สาวโดนหลอกไปทำงานที่ดูไบ งานสบายค่าแรงสูง กลับมาหมดตัว
- เซ็งนิดหนึ่ง! พิมรี่พาย ขายบัตรบอลอีกครั้ง หลังลูกค้าโอนไม่ครบ ลั่น โอนเกิน2พันคน
- ทนายเดชา เตือนอัจฉริยะ ระวังประวัติซ้ำรอยต้องยกมือไหว้เพื่อให้ถอนฟ้อง
- แม่หมอไอย์ ดูดวง 3 วันเกิด ใครพบเห็นก็เมตตาเอ็นดู สายเปย์ ตัวจริง