เกิดเหตุการณ์เที่ยวบิน KE189 ของ สายการบินเกาหลีใต้ชื่อดัง ประสบเหตุการ ลดความดัน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2567 ขณะเดินทางจากสนามบินนานาชาติอินชอนไปยังไต้หวัน เที่ยวบินได้เปลี่ยนเส้นทางไปยังสนามบินนานาชาติอินชอน เนื่องจากความผิดปกติใน ระบบความดัน ซึ่งทำให้ผู้โดยสารบางรายรู้สึกไม่สบาย รวมถึงอาการปวดหูและเลือดกำเดาไหลในผู้โดยสาร 17 ราย เที่ยวบินลงจอดอย่างปลอดภัยที่สนามบินอินชอนเมื่อเวลา 17:38 น. และผู้โดยสาร 13 รายถูกส่งไปยังโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม
จากกรณีดังกล่าวผู้ใช้เฟซบุ๊กเพจ World Forum ข่าวสารต่างประเทศ ได้โพสต์รูป และข้อความระบุว่า”เกาหลีใต้ : สายการบินเกาหลีใต้ วนกลับลงจอดฉุกเฉิน วันที่ 22.6.2024 เที่ยวบิน KE189 (โบอิ้ง 737 MAX 8 ) เวลา 16.45 น. พร้อมผู้โดยสาร 125 คน ออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติอินชอน เพื่อไปยังสนามบินไทจง ไต้หวันประมาณ 50 นาทีหลังเครื่องขึ้นบิน ‘ระบบแรงดันผิดพลาด’ กัปตันนำเครื่องวนกลับ สนามบินอินชอน ลงจอดเวลา 17:38 น. จากข้อมูลของไฟลท์เรดาร์ เครื่องบินอยู่ที่ระดับความสูง 30,000 ฟุต (9,144 เมตร) ลดลงมาที่ 10,000 ฟุต และมีรายงานว่าผู้โดยสารบางคน บอกว่ารู้สึกไม่สบาย เช่น หายใจหอบเร็ว พบว่าผู้โดยสาร เลืoดกำเดาไหล 2 คน คน หนึ่งบ่นว่าไม่สบายตัว จากความดันโลหิตต่ำ และอีก 15 คนบอกว่าปวดแก้วหู จากจำนวนทั้งหมด 13 คนถูกนำส่งโรงพยาบาล (*ผู้ป่วยไม่มีอาการสาหัส)”
- แม่โอดสื่อ ลูกชายถูกเพื่อน เขวี้ยงรองเท้าใส่หน้า วิ่งตามมาจับตัวแล้วตีซ้ำ
- ผวากันเป็นแถบ ชาวบ้าน เจอ หม้อดิน คล้ายพิธี จับผีมาขังถ่วงน้ำ
- ชาวบ้านเอือม! พระยืนบิณฑบาตรับแต่ปัจจัย พอเข้าใกล้ได้กลิ่นเหล้าหึ่ง
เมื่อโพสต์ดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ออกไปนั้น ก็ทำให้กลายเป็นที่สนใจของชาวเน็ตเป็นอย่างมาก ต่างเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างมาก เช่น “บางคนแม่งมีประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับเครื่องบินอาจทำให้จำฝังใจจนไม่กล้าขึ้นเครื่องอีกเลย ส่วนกูขึ้นเครื่องบินไม่บ่อยนักไม่ใช่เพราะว่ากลัวหรือเจอประสบการณ์เลวร้ายอะไรหรอก สาเหตุหลักๆคือไม่มีตังค์ต่างหากแถมขี้เกียจโหลดกระเป๋า” “โบอิ้ง ท็อปฟอร์ม ปังไม่หยุด #ปังพินาศ” “เคยเป็น กำลังลงที่สุวรรณภูมิ ปวดมาก ปวดจน มีเสียง”เป๊าะ” เหมือนข้างใรอะไรแตก แต่โชคดีที่ไม่ดีไม่เป็นอะำรร้ายแรง ตอนนี้เวลาขึ้นเครื่อง ต้องหาหมากฝรั่งเคี้ยวแล้วไม่เป็นอีกเลย” “เคยปวดหูมากๆเหมือนกันเวลานั่งเครื่อง” “เคยเป็นรอบหนึ่งตอนนั่งไป HK ปวดจนน้ำตาไหล แต่คนอื่นไม่เป็น สงสัยวันนั้นไม่ได้นอนก่อนขึ้นเครื่อง” “เคยเป็นเหมือนกัน ปวดมากกกกกกก ปวดอยู่หลายวันด้วย” “ขึ้นเครื่องบินไม่ปวดหู แต่นั่งรถไฟเข้าอุโมงค์ปวดหูม๊ากกก” “มันปวด ทรมาณมากๆนะครับถ้า ใครเคยเป็น ผมนึกว่าจะสูญเสียการได้ยินซะเเล้ว” เป็นต้น