เช็กก่อนเลี้ยง! สัตว์ที่ห้ามเลี้ยงในประเทศไทย หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

Home » เช็กก่อนเลี้ยง! สัตว์ที่ห้ามเลี้ยงในประเทศไทย หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

สัตว์ที่ห้ามเลี้ยง-min

สิ่งจำเป็นก่อนรับสัตว์มาเลี้ยง ควรเช็กข้อกฎหมาย และรายชื่อสัตว์ ทั้งหมด 7 ประเภท 1,302 ชนิด หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ!

ก่อนเลี้ยงต้องเช็ก! ว่าด้วยพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงกำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครอง คือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะฉนั้นหากใครต้องการเลี้ยงสัตว์ จำเป็นจะต้องเช็กรายชื่อสัตว์ที่ห้ามเลี้ยงและห้ามมีไว้ครอบครอง มิเช่นนั้นจะมีบทลงโทษทั้งจำทั้งปรับ จะมีสัตว์ชนิดใดบ้าง เช็กเลย!

  • “เห็ดพิษ” อันตรายถึงชีวิต “ไม่รู้จัก ไม่แน่ใจ ไม่เก็บ ไม่กิน”
  • 6 สมุนไพรไทย ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ เผด็จศึกสิงห์อมควัน!
  • “ภาวะโลกร้อน” ส่งผลให้การทำงานของสมองแย่ลง และเป็นโรคประสาทเร็วขึ้น

สัตว์ที่ห้ามเลี้ยงในประเทศไทย

1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวน 201 ชนิด

2. นก จำนวน 952 ชนิด

3. สัตว์เลื้อยคลาน มีจำนวน 91 ชนิด

4. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีจำนวน 12 ชนิด

5. ปลา จำนวน 14 ชนิด

6. แมลง มีจำนวน 20 ชนิด

7. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ อีกจำนวน 12 ชนิด

รวมทั้งสิ้นขณะนี้ประเทศไทยมีจำนวนสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งสิ้น จำนวน 1,302 ชนิด สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ กรมประมง

งูแสงอาทิตย์-ห้ามเลี้ยง-min
ที่มา อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

บทลงโทษผู้ละเมิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์

สำหรับบทลงโทษผู้กระทำผิด โทษฐานละเมิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2546 มีการกำหนดบทลงโทษไว้ดังนี้

1. โทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทลงโทษดังกล่าวเป็นไปตามความผิดดังนี้

  • ล่าหรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยที่ไม่เป็นข้อยกเว้น
  • มีสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง ยกเว้นเป็นสัตว์ป่าชนิดที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ตามกฎหมาย
  • ค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ยกเว้นเป็นสัตว์ป่าชนิดที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ตามกฎหมายนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่า หรือนำผ่านสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี

2. โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับความผิดดังต่อไปนี้

  • เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • นำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าวโดยมิใช่กรณีการนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์และได้รับอนุญาตจากอธิบดี
  • จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี

3. โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

สำหรับผู้ที่มีไว้ในครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ โดยไม่ได้รับอนุญาต

4. โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับผู้ที่ทำการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ ซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากสัตว์ดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาต

5. โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับความผิดดังนี้

  • เก็บ ทำอันตรายมีรังของสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง
  • ยิงสัตว์นอกเวลาอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น
  • ล่าสัตว์ป่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าอื่น ๆ หรือเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่าในบริเวณวัดหรือในบริเวณสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

6. โทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

สำหรับความผิดเกี่ยวกับการนำสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่เพื่อการค้า โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี นำสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าวเคลื่อนที่ผ่านด่านตรวจสัตว์ป่า โดยไม่แจ้งหรือแสดงใบอนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์ป่า

7. โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับความผิดฐานล่าสัตว์ป่าใด ๆ เก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

8. โทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับความผิดดังต่อไปนี้

  • ยึดถือ ครอบครองที่ดิน ปลูกสร้างสิ่งใด แผ้วถาง ทำลายต้นไม้ พรรณพืช ฯลฯ
    ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
  • ล่าสัตว์ เก็บรัง ยึดถือครอบครองที่ดิน ทำลายต้นไม้ พันธุ์พืช ฯลฯ ในเขตกำหนดห้ามล่าสัตว์ป่า

9. โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับความผิดโทษฐาน “ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้”

10. กรณีนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิด

ตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นตน มิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมด้วย

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่ากฏหมายว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองสัตว์ป่าของไทยมีความเข้มข้นทั้งตัวเนื้อหาและบทลงโทษผู้กระทำผิด เช่นนั้นแล้ว หากประชาชนชาวไทยละเมิดข้อกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยง การครอบครอง การค้า และจุดประสงค์อื่น ๆ ก็จะถูกดำเนินตามกฏหมายอย่างเท่าเทียมกันทั้งสิ้น

เหยี่ยว-ห้ามเลี้ยง-min
ที่มา http://www.lowernorthernbird.com/checklist.php?cat_id=27&c_id=245

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ