วันที่ 9 ธันวาคม 2566 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข , นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข , นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค และกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ซึ่งในก่อนหน้านี้ได้มีการแย้มนโยบายออกมาว่าจะมีการปรับขยายเวลาให้สถานบันเทิง ผับ บาร์ นั้นเปิดบริการถึงเวลา 04.00 น. ซึ่งผู้ประกอบการและประชาชนทั้งหลายนั้นต่างจับตามอง ว่าทางรัฐบาลจะปรับมาตรการออกมาในรูปแบบใด ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวได้ข้อสรุปแล้วในที่ประชุม โดยจะมีการปรับเปลี่ยนและผู้ประกอบการ เจ้าของร้าน ต้องมาเช็กให้ดีก่อนเปิด ว่าสถานบันเทิงในความดูแลของตน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
- อนุทิน แจง ‘เปิดผับถึงตี 4’ แต่ไม่ได้ขยายเวลา ‘ขายเหล้า’ แค่ให้นั่งคุยต่อได้
- เศรษฐา เรียกถก! 4 จังหวัดนำร่องจัดโซน ‘เปิดผับถึงตี 4’ ดีเดย์ 15 ธ.ค.
- เศรษฐา ขอแถลงเอง ชัดเจน! ‘เงินดิจิทัล 1 หมื่น’ รับ! ดึง ‘แอพพ์เป๋าตัง’ ร่วม
จังหวัดนำร่อง
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการรองรับการขยายเวลาเปิดสถานบริการ เพื่อลดผลกระทบทางสังคม ในกรณีขยายเวลาเปิดบริการ โดยจัดทำคำแนะนำ สำหรับสถานบริการที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอนุญาตให้ขยายเวลาเปิดสถานบริการ ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2546 ในพื้นที่เป้าหมายในการขยายเวลาเปิดสถานบริการ ได้แก่
สถานบริการที่ตั้งอยู่ในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม (ทั่วประเทศ) และสถานบริการที่ตั้งอยู่ในท้องที่กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และ อำเภอเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี โดยสถานบริการต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ก่อนออกจากร้ายต้องเป่าแอลกอฮอร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยเข้มงวดในมาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
(2) บุคคลที่มีอาการมึนเมาสุราจนครองสติไม่ได้ รวมถึงผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกราย ให้สถานบริการตรวจวัดแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ ก่อนอนุญาตให้ขับขี่ออกจากสถานบริการ และในกรณีที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ ได้รับการวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดทางลมหายใจแล้วพบว่า มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 50 mg% ให้สถานบริการจัดหาที่พักคอย และอำนวยความสะดวก เพื่อรอให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดทางลมหายใจลดลง ต่ำกว่า 50 mg% จึงอนุญาตให้ขับขี่ออกจากสถานบริการ
ในกรณีที่ ผู้ขับขี่ยานพาหนะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 50 mg% ไม่ยินยอมพักคอย ให้สถานบริการประสานให้เพื่อน/ญาติ ของผู้ใช้บริการขับขี่แทน หรือจัดบริการยานพาหนะเพื่อส่งลูกค้าเดินทางกลับ โดยคิดค่าบริการจากผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูลและประเมินผลกระทบจากการขยายเวลาเปิดสถานบริการ