คลิปกล้องวงจรปิดจับภาพนาที เด็กอายุ 17 ปี ควบรถยนต์ ซิ่งชนคนตาย วอนพ่อ-แม่อย่าประมาท ให้เด็กไม่มีใบขับขี่นำรถออกมาใช้บนท้องถนน เพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตจนถึงขั้นมีการสูญเสียแบบนี้ได้
ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ตามกฎของกรมการขนส่ง กำหนดให้ผู้ที่จะทำบัตรในขับขี่ประเภทนี้ต้องมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีวุฒิภาวะเพียงพอต่อการตัดสิ้นใจในการใช้รถใช้ถนนให้เกิดความปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่นแล้ว
อย่างเช่น กรณีนี้เรื่องราวอุบัติเหตที่เกิดขึ้นบริเวณทางแยกแห่งหนึ่ง ซึ่งจากภาพกล้องวงจรปิด จับภาพวินาทีรถยนต์คันหนึ่งขับมาด้วยความเร็วผ่านทางแยก ซึ่งในขณะนั้นมีรถมอเตอร์ไซค์อยู่บนถนน จึงทำให้รถยนต์คันดังกล่าว พุ่งเข้าชนรถมอเตอร์ไซค์จากด้านหลังเป็นเหตุให้ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์เสียชีวิตทันที
เบื้องต้น ทราบข้อมูลว่า ผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าวเป็นเยาวชนอายุเพียงแค่ 17 ปี โดยนำรถยนต์ของผู้ปกครองออกมาขับ ด้วยความที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจึงเกิดความคึกคะนอง ขับรถด้วยความเร็วจนเป็นเหตุให้เกิดการสูญเสีย
โดยเพจเฟซบุ๊ก อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทิร์น part 2 ได้โพสต์คลิปพร้อมระบุข้อความว่า “อุทาหรณ์พ่อแม่ผู้ปกครองต้องอ่านไว้และคอยดูแลตักเตือนบุตรหลานท่านเด็กอายุ 17 ชนคนตาย พ่อแม่ควรต้องรับผิดชอบชดใช้เยียวยาให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต แสดงความเสียใจมา ณ.ที่นี้ด้วยค่ะอุทาหรณ์ !! สอนคนเป็นพ่อและแม่เหตุการณ์นี้ คือเด็กคนนึงอายุ 17 ปี ได้ขับรถยนต์ ออกมาด้วยความเร็วเท่าไหร่ คาดการณ์กันดู ชนคนคนนึง ตายคาที่เลยอยากให้สังคมได้รับรู้และได้เห็นว่า การดูแลและเลี้ยงดูลูก ให้เป็นคนดีของสังคมนั้นสำคัญมาก ดีเท่าไหร่แล้วกับเด็กคนนึงที่ไม่มีใบขับขี่ ขับรถมาชนคน แล้วตัวเองกลับมาปลอดภัย ใช้ชีวิตปกติได้ดี ยังเดินได้ กินได้ กับอีกคนได้หมดแล้วซึ่งทุกอย่าง ทั้งการทำงานเลี้ยงแม่ การทำงานร่วมกันกับเพื่อน ความสุขและความสนุกที่ได้ทำเพียงเพราะความประมาทของคน ไม่กี่คน (อย่าแค่อ้างว่าไม่ตั้งใจเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว)ดีเท่าไหร่แล้วที่ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคนแค่คนเดียว หากแต่ว่า ดันไปเกิดขึ้นกับกู้ภัย ตำรวจ หรือคนอีกจำนวนมาก ที่มีความดีให้แก่ส่วนรวมมากกว่านี้ จะทำยังไงเลยไม่สามารถละเลยได้ว่า การกระทำของเด็กซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องเป็นความรับผิดชอบของผู้ปกครองเลยอยากให้คนเป็นพ่อและแม่ หรือผู้ปกครอง ได้ดูแลและเอาใจใส่ลูกหลานของท่านให้ได้ดี เพื่อไม่ให้เป็นภัยหรืออันตรายกับคนอื่นได้เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ควรที่จะรับผิดชอบ และรับผิดให้ได้ ทั้งพ่อแม่และลูก เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับในความบกพร่องของตนเอง ให้สังคมได้ให้อภัยต่อไป แต่โปรดอย่านิ่งเฉย หรือไม่รับผิดใดๆ หรือต้องการให้ไปสู้แค่ในชั้นศาล เพียงเท่านี้ มันก็บ่งบอกถึงความเป็นคนดีหรือไม่ดี ในสังคมแล้ว”