อ.เฉลิมชัย ข้ามไปฝั่งลาว ชมพระพุทธรูปที่ขุดจากแม่น้ำโขง เห็นของจริงบอกโชคดีมากๆ

Home » อ.เฉลิมชัย ข้ามไปฝั่งลาว ชมพระพุทธรูปที่ขุดจากแม่น้ำโขง เห็นของจริงบอกโชคดีมากๆ
อ.เฉลิมชัย ข้ามไปฝั่งลาว ชมพระพุทธรูปที่ขุดจากแม่น้ำโขง เห็นของจริงบอกโชคดีมากๆ

อ.เฉลิมชัย ข้ามไปฝั่งลาว ชมพระพุทธรูปที่ขุดจากแม่น้ำโขง เห็นของจริงบอกโชคดีมากๆ ยืนดูคนงานขุดมีเซอร์ไพรส์อีก

จากกรณีเมื่อช่วงเช้า (16 พ.ค.) เวลา 10.20 น. ที่เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว มีการขุดการค้นทางโบราณคดี พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงฝังอยู่ในทราย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบในบริเวณนี้ ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเป็นพระประธานวัดสำคัญที่ถูกแม่น้ำโขงพัดหายไปในแม่น้ำโขง 

นายสุพรรณ ทะสัน นายช่างโยธา โครงการอนุรักษ์และบูรณะเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน เปิดเผยว่า พระพุทธรูปที่มีการขุดค้นวันนี้ เมื่อดูจากศิลปะและขนาดหน้าตักกว้าง 1.2-2 เมตร และสูงราว 3 เมตร น่าจะเป็นพระประธานของวัดสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบจากศิลปะน่าจะมีอายุราว 500-600 ปี โดยพระประธาน ฐานชุกชี และแท่นพระประธาน ก็มีความคลายคลึงกับพระประธานวัดหลายแห่ง เช่น วัดมุงเมือง วัดลานตอง วัดปงสนุก ใน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

สำหรับการขุดค้นหาโบราณวัตถุและพระพุทธรูป ทางการลาวทำการขุดค้น ตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.2567 และพบพระพุทธรูปและโบราณวัตถุจำนวนมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปมากกว่า 200 รูป ทางกรมศิลปากรลาวได้ทำการขึ้นทะเบียน และนำโบราณวัตถุต่าง ๆ เก็บไว้ที่พระเจ้าทองทิพย์ เมืองต้นผึ้ง บางส่วนก็นำมาไว้บริเวณศาลาใกล้พื้นที่ขุดค้น ให้ประชาชนในฝั่งไทยและลาวได้กราบไหว้

ล่าสุด อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ได้เดินทางพร้อมลูกศิษย์ นั่งเรือข้ามจากเชียงแสนไปฝั่ง สปป.ลาว เพื่อชมพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ขุดพบจากแม่น้ำโขง ซึ่งนำมาไว้ที่ วัดดอนผึ้งคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว  โดยบอกว่าเห็นแล้วชอบ พระพักตร์สวยมาก 

ซึ่งหลังจากได้พูดคุยกับ พระอาจารย์ขัตติยะบารมี พระคุณเจ้าที่อยู่ในทีมค้นหา อาจารย์เฉลิมชัยก็ได้ไปชมการขุดที่ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยขณะที่ยืนดูอยู่นั้นปรากฏว่าคนงานได้ขุดพบพระพุทธรูปเพิ่มอีก เมื่อนำขึ้นมาอาจารย์เฉลิมชัยก็ได้ยกมือไหว้ยิ้มแย้มด้วยความปลื้มใจ โดยได้บริจาคร่วมขุดไป 6,000,000 กีบ หรือประมาณ 10,000 บาท

  • พบพระพุทธรูปใต้น้ำโขง องค์ใหญ่งดงามที่สุด ลุ้นให้ตรงกับพระเกศโมลีในพิพิธภัณฑ์
  • รู้จักพระเกศโมลี “เปลวรัศมี” ปริศนาแห่งเชียงแสน ร้อยกว่าปียังหาองค์พระพุทธรูปไม่พบ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ