หมอแชร์เคส 3 คนไข้อายุน้อย ทุกคนมีสัญญาณเตือน 1 อาการเหมือนกัน แต่ละเลยจน “ไตวาย” ต้องฟอกไตตลอดชีวิต
แพทย์จากแผนกโรคไต โรงพยาบาลแพทย์แผนโบราณหนิงโป ประเทศจีน ระบุว่า ในช่วงที่ผ่านมามีผู้ป่วยหญิง 3 ราย ที่มีภาวะไตวาย คนไข้รายที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดถือว่ายังเด็กมาก อยู่ในช่วงวัยเพียง 30 ปีเท่านั้น แต่กลับพบว่าไตได้รับความเสียหาย และต้องฟอกไตตลอดชีวิต
จุดร่วมของผู้ป่วยไตวาย 3 ราย
ผู้ป่วยหญิงคนแรกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อายุ 31 ปี คนไข้บอกว่ามีเวียนศีรษะมา 6 เดือน ไม่ได้ไปหาหมอเพราะคิดว่าเพียงแค่เครียดเกินไป แต่ล่าสุดอาการปวดหัวเริ่มรุนแรงมากขึ้น จึงมาตรวจที่โรงพยาบาลและผลพบว่าความดันโลหิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นที่ 226/140 mm/Hg และระดับค่าครีเอตินิน (Creatinine) ในเลือดอยู่ที่ 911 μmoI/L
ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีความดันโลหิตสูง การทำงานของไตเสียหายอย่างรุนแรง และมีภาวะยูรีเมีย ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาด้วยการการล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis: PD) เพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งมักใช้กับผู้ป่วยไตวาย
คนไข้รายที่ 2 อายุ 36 ปี ก็เข้าตรวจที่โรงพยาบาลด้วยอาการวิงเวียนศีรษะ เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ความดันโลหิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 213/146 mm/Hg และครีเอตินินในเลือดสูงที่ 1006 μmoI/L หลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ความดันโลหิตลดลงสู่ระดับปกติ แต่การทำงานของไตไม่สามารถฟื้นฟูได้ ผู้ป่วยยังคงต้องเข้ารับการฟอกไต
ผู้ป่วยหญิงรายที่ 3 อายุ 31 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการวิงเวียนศีรษะ และความดันโลหิตวัดได้ 174/98 mm/Hg ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไต และจำเป็นต้องฟอกไต
แพทย์ที่ทำการรักษากล่าวว่า “สิ่งที่คนไข้ทั้งสามคนมีเหมือนกันคือ มีความดันโลหิตสูงกันทุกคน”
ผู้ป่วยทั้งหมดมีสัญญาณเตือนความดันโลหิตสูง เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 คนไม่ได้สนใจอะไรมากนัก คิดว่าตนเองมีอาการอ่อนเพลียเป็นปกติจึงไม่ได้ไปหาหมอ กระทั่งเมื่อร่างกายแสดงความผิดปกติอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจึงไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจเช็ก แต่เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความเสียหายต่อไตอย่างรุนแรงและไม่สามารถรักษาให้หายได้
ความเชื่อมโยงระหว่างความดันโลหิตสูงกับไตวาย
แพทย์ไทยตู่ตงกล่าวว่าความดันโลหิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ไตได้ ดังนั้นการควบคุมความดันโลหิตจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง
แพทย์แผนกโรคไต โรงพยาบาลแพทย์แผนโบราณหนิงโป กล่าวว่า ความดันโลหิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ไตได้ ดังนั้นการควบคุมความดันโลหิตจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง
“จากกรณีผู้ป่วยหญิง 3 รายที่กล่าวมาข้างต้น เรายังอยากเตือนทุกคน โดยเฉพาะเมื่อคนหนุ่มสาวเห็นสัญญาณที่น่าสงสัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง พวกเขา ต้องไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาและรักษาโรคได้ทันท่วงที จึงจะจำกัดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนร้ายแรงได้”
นอกจากการควบคุมความดันโลหิตแล้ว ผู้คนควรเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อป้องกันโรคเชิงรุกด้วย เช่น
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
– กินเพื่อสุขภาพ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำ รับประทานผักและผลไม้ให้มาก
– ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
– ห้ามสูบบุหรี่
– ห้ามใช้ยาแก้อักเสบและยาแก้ปวดโดยพลการ
– ตรวจเช็กร่างกายสม่ำเสมอ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
– ตรวจคัดกรองผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงเป็นประจำ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน หรือมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบันโรคเบาหวาน ระบบย่อยอาหารและไตแห่งชาติ – NIDDK ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 2 ของภาวะไตวายในสหรัฐอเมริกา รองจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้หลอดเลือดในไตเสียหายได้ ส่งผลให้ไตไม่สามารถขจัดของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป ของเหลวที่สะสมยังคงเพิ่มความดันโลหิตซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้