แพทย์ตะลึง! หลังพบทารกเกิดมาพร้อมกับหางที่แปลกประหลาดยื่นออกมาจากกระดูกสันหลังระดับเอวบริเวณทวารหนักด้านซ้ายยาวประมาณ 12 ซม. แถมมีตุ่มเนื้อคล้ายลูกบอลติดอยู่ที่ปลายอีกด้วย
ทารกเพศชายเกิดที่โรงพยาบาลเด็กอัลเบิร์ต ซาบิน ในเมืองฟอร์ตาเลซา ประเทศบราซิล เป็นหนึ่งใน 40 คนที่ได้รับการบันทึกว่าเคยเกิดมาพร้อมกับหางของมนุษย์ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์
เชื่อกันว่ามนุษย์ทุกคนมีหางเมื่ออยู่ในครรภ์มารดาช่วง 4 – 8 สัปดาห์ แต่มักจะดูดกลับเข้าสู่ร่างกาย แต่เด็กน้อยคนนี้เป็นหนึ่งในกรณีที่หายากอย่างไม่น่าเชื่อที่หางยังคงเติบโตต่อไป
การผ่าตัดได้รับการบันทึกไว้ใน Journal of Pediatric Surgery Case Reports ซึ่งอธิบายว่า ความผิดปกติ แต่กำเนิดที่หายากเกิดขึ้นได้อย่างไร
รายงานของวารสารระบุว่า บันทึกแรกของหางมนุษย์มีขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเล็กและตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางและบริเวณช่องท้อง
โดยมักจะเกิดจากการอักเสบของเอ็น(60%) เนื้องอกของเซลล์ไขมัน(30%) และกระดูกสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง (26%) ซึ่งโดยส่วนใหญ่มีรายงานว่าอวัยวะส่วนหางสัมพันธ์กับความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดที่กระดูกสันหลังหรือโรคสไปนาไบฟิดา
ผู้ป่วยทารกแรกเกิดเพศชายคลอดก่อนกำหนด เมื่ออายุครรภ์ 35 สัปดาห์ โดยไม่พบอาการแทรกซ้อนใด ๆ ยกเว้นส่วนหาง หลังจากอัลตราซาวนด์สแกนยืนยันว่า หางไม่ยึดติดกับระบบประสาทของเด็ก
ทำให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดออกได้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่ามันทำให้ทารกเจ็บปวดหรือไม่
การวินิจฉัยหางของทารกหลังการผ่าตัดเผยว่า หางประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่ไม่มีกระดูกยาวประมาณ 12 ซม. โดยมีตุ่มเนื้อปลายมนคล้ายลูกบอลขนาด 4 ซม. ประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันไขมันและเซลล์ตัวอ่อน
รายงานของวารสารฉบับดังกล่าวสรุปว่าหางของมนุษย์เป็น ความผิดปกติแต่กำเนิดที่หายาก ควรได้รับการตรวจสอบโดยกุมารแพทย์หรือศัลยแพทย์เด็ก
ซึ่งเป็นการตรวจร่างกายและรังสีในลักษณะที่ครอบคลุม เพื่อป้องกันความผิดปกติของกระดูกสันหลังที่ซ่อนเร้นในผู้ป่วยและป้องกันไม่ให้วิวัฒนาการไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทอย่างรุนแรง อีกทั้งยังยอมรับว่า เหตุใดหางของเซลล์ตัวอ่อนจึงไม่ถูกดูดกลับเข้าไปในร่างกาย ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้
มนุษย์สูญเสียหางเมื่อแยกจากลิงเมื่อประมาณ 20 ล้านปีก่อน ในบางวัฒนธรรม เชื่อว่ามนุษย์ที่เกิดมาพร้อมกับหางนั้นศักดิ์สิทธิ์และคู่ควรแก่การบูชา
ขอบคุณที่มาจาก Sciencedirect The Sun