จากกรณี WHO องค์การอนามัยโลก ได้มีการประกาศให้ ‘ฝีดาษลิง’ เป็นภาวะฉุกเฉิน หลังพบการระบาดรุนแรงในหลายประเทศ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) ก็ได้มีการออกมาเตือนภัยความเสี่ยงจากเชื้อ เอ็มพ็อกซ์ หรือฝีดาษลิง หลังพบผู้ป่วยที่ สวีเดน ซึ่งเป็นรายแรกที่พบในยุโรป
การติดต่อของ โรคฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร นั้นติดได้ง่ายผ่านระบบทางเดินหายใจและการสัมพัสกับผู้ป่วย โดยหลาย ๆ ประเทศได้เน้นย้ำถึงประชาชนเรื่องการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง โดยให้เฝ้าระวังตัวเองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แแออัดร่วมถึงคนพลุกพล่าน หมั่นทำความสะอาดจุดที่สัมผัสร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการติดต่อ
- WHO ประกาศยกระดับ ‘ฝีดาษลิง’ เป็นภาวะฉุกเฉิน หลังพบสายพันธุ์ใหม่!
- ‘สวีเดน’ ติดเชื้อฝีดาษลิง สายพันธุ์ เคลด วัน รายแรก นอกแอฟริกา
- EU-ECDC ยกระดับเชื้อ ‘ฝีดาษลิง’ หลังพบผู้ป่วยชาว สวีเดน ป่วยรายแรก
การติดต่อของโรคฝีดาษลิง
โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส ทั้งจากสัตว์สู่คน ได้แก่ สัตว์จำพวก หนู กระรอก และลิง ร่วมถึงจากคนสู่คนที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
- ผัสที่ตื่นโดยตรง สัมผัสเลือด สัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาลาย การไลจาม หรือจากสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
- ติดต่อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่จากทางเดินหายใจ พบในผู้ที่อยู่ใกล้ชิด พูดคุยกันเป็นเวลานาน
- ติดต่อจากแม่สู่ลูกผ่านทางรกได้
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิริราช