สาวเรียบร้อยตั้งแต่เกิด จู่ๆ เปลี่ยนไป "ใจเกเร" เจ้าชู้เอาไม่อยู่ หมอเฉลย "ป่วย" ครอบครัวช็อก

Home » สาวเรียบร้อยตั้งแต่เกิด จู่ๆ เปลี่ยนไป "ใจเกเร" เจ้าชู้เอาไม่อยู่ หมอเฉลย "ป่วย" ครอบครัวช็อก
สาวเรียบร้อยตั้งแต่เกิด จู่ๆ เปลี่ยนไป "ใจเกเร" เจ้าชู้เอาไม่อยู่ หมอเฉลย "ป่วย" ครอบครัวช็อก

สาวเรียบร้อยตั้งแต่เกิด จู่ๆ เปลี่ยนไปเป็นคนละคน เจ้าชู้สุดๆ ขึ้นโรงพักถี่ๆ แม่สุดทนพาไปหาหมอ ผลตรวจพบความผิดปกติทางจิต

บางครั้งการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพในบุคคลอย่างกะทันหัน อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยที่ไม่คาดคิด ดังเช่นกรณีของ “ชาร์ลอตต์” หญิงสาวจากประเทศอังกฤษ เป็นเด็กผู้หญิงที่สงบและใจดีโดยเนื้อแท้ แม้ในช่วงวัยแรกรุ่นก็ไม่ได้มีพฤติกรรมกบฏหรือทำให้ครอบครัวต้องกังวลเลย อย่างไรก็ตาม ขณะที่เรียนอยู่ในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา จู่ๆ บุคลิกและการประพฤติตัวก็เปลี่ยนไปกระทันหันอย่างน่าแปลกใจ

ชาร์ลอตต์เริ่มไม่นอนตลอดทั้ง เอาแต่เขียนเพลงและส่งเสียงดัง ในคืนแรกครอบครัวไม่ได้คิดมากนัก เพราะตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ เธอชอบดนตรีและเรียนรู้เครื่องดนตรีหลายชนิด อย่างไรก็ดี เมื่อพฤติกรรมเช่นนี้ดำเนินไปเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ พวกเขาก็กังวลและเริ่มพูดคุยกับชาร์ลอตต์ อย่างไรก็ตาม แทนที่จะอธิบายเหตุผล เธอกลับกรีดร้องและโกรธพวกเขา ไม่ได้คุยกับใครอีกเลยเป็นเวลาหลายวัน

หลังจากนั้นชาร์ลอตต์มักจะออกไปค้างคืนโดยไม่กลับบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอไม่เคยทำมาก่อน บุคลิกของเธอเอาแน่เอานอนไม่ได้ แสดงออกถึงความสุขและความเศร้าในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจรที่ไม่ร้ายแรงอยู่บ้าง อีกทั้งยังชอบการ “ล้วงกระเป๋า” และขโมยสิ่งของในร้านสะดวกซื้อ ออกเดทกับผู้ชายหลายคนในเวลาเดียวกันเพื่อสนองความต้องการทางเพศ

“ญาติๆ เพื่อนๆ มักบอกว่าฉันแปลก แต่ฉันเองก็ไม่รู้ตัว ตอนนั้นฉันคิดว่าคนอื่นเข้มงวดกับฉันมากเกินไป คิดว่ามันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเดินทางสู่ความเป็นผู้ใหญ่ บางครั้งฉันก็รักทุกสิ่งรอบตัว แต่จู่ๆ ฉันก็รู้สึกแย่ เบื่อจนไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป” ชาร์ลอตต์กล่าว

หลังจากพฤติกรรมนี้ดำเนินไป 4 เดือน ความจริงก็ถูกค้นพบเมื่อแม่ของชาร์ล็อตต์พาลูกสาวไปที่ห้องฉุกเฉิน หลังจากที่เธอถูกจับเป็นครั้งที่ 3 ในข้อหาล้วงกระเป๋า แม่เริ่มกังวลว่าเธอป่วยหนักและจงใจกบฏ สุดท้ายแล้วผลออกมาว่าชาร์ลอตต์ป่วยจริงๆ แต่ไม่ใช่ความเจ็บป่วยทางกาย แต่เป็นความผิดปกติทางจิต

เธอเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรค “ไบโพลาร์” เป็นเวลาหลายสัปดาห์ หลังจากนั้นแพทย์จึงตัดสินใจปล่อยให้เธอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกร่วมกับการใช้ยา ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โชคดีที่อาการของเธอดีขึ้น และการได้เป็นนักดนตรีก็ช่วยได้มาก เพราะเธอสามารถแสดงอารมณ์ผ่านดนตรีได้

เมื่อเผชิญกับโรคไบโพลาร์ อารมณ์ของผู้ป่วยก็จะเปลี่ยนไปตามวัน สัปดาห์ เดือน หรือฤดูกาลด้วย เมื่อมีสัญญาณของโรคอย่าประมาท แต่ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ