สาวหมวยอวดร่างใหม่ หลังลดน้ำหนัก 19 กก. ใน 8 เดือน เผยเคล็ดลับที่หมอแนะนำ!

Home » สาวหมวยอวดร่างใหม่ หลังลดน้ำหนัก 19 กก. ใน 8 เดือน เผยเคล็ดลับที่หมอแนะนำ!
สาวหมวยอวดร่างใหม่ หลังลดน้ำหนัก 19 กก. ใน 8 เดือน เผยเคล็ดลับที่หมอแนะนำ!

ทำตามหมอแนะนำ! สาวป่วยไทรอยด์ น้ำหนักพุ่ง 10 กก./เดือน ล่าสุดลดลงอย่างน่าทึ่ง 19 กก. ใน 8 เดือน ด้วยวิธีควบคุมอาหารที่ได้รับอนุมัติจากแพทย์ ทำให้หลายคนทั้งทึ่งและชื่นชม

สาวเวียดนามอายุ 25 ปี ปัจจุบันเป็นโค้ชด้านสุขภาพ ได้เปิดเผยบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก “ก่อนหน้านี้สุขภาพฉันแย่มาก เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน น้ำหนักฉันก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสุขภาพก็แย่ลงๆ แต่ตอนนี้ฉันมีร่างกายที่เต็มไปด้วยพลัง แต่ก็ยังใช้เวลาอยู่ที่ยิม 1 ชั่วโมง 30 นาที และจ็อกกิ้งระหว่างวัน 30-45 นาทีเพื่อออกกำลังกาย”

หญิงสาวเล่าว่าเมื่อก่อนเธอมักจะมีอาการหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว แต่คิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ กระทั่งต้นปี 2563 อาการเหล่านี้เริ่มชัดเจนมากขึ้น คอเริ่มใหญ่ขึ้น รู้สึกอึดอัดเล็กน้อยเมื่อรับประทานอาหารและดื่ม เธอไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายก่อนพบว่าเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ซึ่งต้องได้รับการรักษาด้วยยา วันละ 20 เม็ด

“ตอนนั้นฉันเพิ่งเรียนจบและกำลังหางานทำ เนื่องจากอาการของโรคชัดเจน ฉันไม่แข็งแรงพอที่จะไปทำงาน การไม่มีรายได้แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายทำให้ฉันค่อนข้างหดหู่และซึมเศร้าอยู่พักหนึ่ง”

หลังจากป่วยมาได้ 2 เดือน น้ำหนักก็เพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ ตอนแรกเธอคิดว่าร่างกายบวมเพราะกินยาปฏิชีวนะมาก พอหยุดกินยาอาการก็จะหายไปเอง แต่เมื่อรู้ตัวว่าตนเองมักหิวแทบตลอดเวลา และทุกๆ วันเวลาตี 1-2 เธอจะตื่นขึ้นมาหาอาหารก็รู้ว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากการกินยา

“ใน 1 เดือน น้ำหนักของฉันเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 กิโลกรัม ตอนนั้น ฉันสูง 158 ซม. และหนัก 65 กก. ดังนั้นฉันจึงรู้สึกประหม่าอยู่เสมอ ไม่กล้าส่องกระจกหรือถ่ายรูป”

วิธีลดน้ำหนักใครๆก็ทำตามได้

เธอได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่า ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินส่งผลให้ระบบเผาผลาญของเธอแย่ลงกว่าปกติมาก หากเธอยังคงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น สุขภาพของเธอไม่เพียงแต่จะแย่ลงเท่านั้น แต่ยังต้องเผชิญความเสี่ยงของไขมันในเลือดสูง เธอจำเป็นต้องลดน้ำหนักด้วยการเปลี่ยนอาหารและออกกำลังกาย

ในตอนแรกเธอใช้วิธีการลดน้ำหนัที่ค้นหาจากในโลกออนไลน์ แต่วิธีดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ และแน่นอนว่าไม่ได้ผล แพทย์จึงช่วยเจาะลึกลงไปว่าทำไมเธอถึงน้ำหนักขึ้น และค้นพบว่ามีสาเหตุมาจากปริมาณแคลอรี่

“ฉันคำนวณดัชนีร่างกายใหม่ วางแผนมื้ออาหารด้วยปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสม ใช้วิธีกินคลีน และออกกำลังกาย ยิ่งไปกว่านั้น ฉันป่วย ฉันจึงต้องลดน้ำหนักตามหลักวิทยาศาสตร์ และด้วยวิธีที่ช่วยให้สุขภาพของฉันดีขึ้น ไม่ใช่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเนื่องจากเหตุการณ์บางอย่าง”

จากข้อมูลของ American Heart Association ปริมาณแคลอรี่ที่แนะนำสำหรับผู้หญิงวัยผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 1,600-2,400 แคลอรี่ต่อวัน ปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายบริโภคต่อวันขึ้นอยู่กับน้ำหนัก สุขภาพ อายุ และจุดประสงค์ในการรักษาน้ำหนัก หรือการลดน้ำหนักของแต่ละคน

เมื่อพิจารณาถึงความปรารถนาที่จะลดน้ำหนักของตนเองแล้ว เธอจึงได้แบ่งแคลอรี่สำหรับมื้ออาหารแต่ละมื้อในแต่ละวันแยกเป็นประมาณ 400-500 แคลอรี่สำหรับมื้อเช้า 600-700 แคลอรี่สำหรับมื้อกลางวัน 400-500 แคลอรี่สำหรับมื้อเย็นและประมาณ 200 แคลอรี่สำหรับของว่างอื่นๆ

โดยเธอเลือกที่จะเข้าครัวทำอาหารทานเอง ให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงแต่แคลอรี่ต่ำ เช่นอกไก่ ปลา เป็นต้น กุ้ง ปลาหมึก ไข่ขาว โปรตีนจากผักและถั่ว “ฉันลดและเกือบจะงดน้ำตาล น้ำอัดลม ชานม หรืออาหารจานด่วน ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นอาหารโปรดของฉันมาก่อนก็ตาม”

อย่างไรก็ดี เนื่องจากเมื่อก่อนเธอมักจะทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน และส่วนมากล้วนเป็นอาหารที่มีแคลอรีสูง ดังนั้นเมื่อเธอต้องเปลี่ยนนิสัยการกินเพื่อลดแคลอรี่ ก็ทำให้รู้สึกหิวตลอดเวลา ร่างกายอ่อนแอ

เพื่อเอาชนะสิ่งนี้จึงเปลี่ยนเป็นแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5-6 มื้อ/วัน แทนที่จะเป็น 3 มื้อเหมือนเมื่อก่อน และคำนวณแคลอรี่ใหม่สำหรับแต่ละมื้อ เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารและหลากหลายเพียงพอ วิธีนี้ช่วยให้เธอไม่ต้องทรมานจากอาการปวดหิวเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป แต่ช่วยรักษาสมดุลของพลังงานที่เข้าสู่ร่างกายของเธอ

ในด้านการออกกำลังกาย ในตอนแรกเธอทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาการออกกำลังกายเพื่อช่วยลดน้ำหนักและเผาผลาญไขมันส่วนเกิน และซื้ออุปกรณ์สำหรับออกกำลังกายที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มออกกำลังกาย เธอก็ประสบปัญหาเนื่องจากอาการใจสั่นและหายใจลำบาก ที่เกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

“ฉันสามารถออกกำลังกายได้เพียง 5-10 นาทีก่อนที่จะต้องนั่งหายใจหรือหยุดออกกำลังกาย” หลังจากนั้นจึงต้องพยายามฝึกช้าๆ โดยค่อยๆ เพิ่มขึ้นวันละไม่กี่นาที รอจนสุขภาพเริ่มดีขึ้นดีขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งสามารถออกกำลังกายได้นานถึงครั้งละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

สุดท้ายต้องขอบคุณการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และการรับประทานอาหารตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่เหมาะสมกับสุขภาพทำให้เธอลดน้ำหนักได้ 19 กก. ใน 8 เดือน ปัจจุบันมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 48 กก. และมีความสุขมากๆ เมื่ออาการต่อมไทรอยด์ทำงานเกินก็ดีขึ้นเช่นกัน

ทั้งนี้ เธอยังได้รับการสนับสนุนจากแพทย์ให้คงวิธีการดูแลสุขภาพไว้ต่อไป “หมอแสดงให้ฉันเห็นถึงผลเสียของไขมันส่วนเกินในร่างกาย และต่อโรคที่ฉันต้องทนทุกข์ทรมาน ดังนั้นเขาจึงสนับสนุนให้ฉันมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีต่อไป”

ปัจจุบันเพื่อออกกำลังกายและรักษารูปร่างต่อไป เธอจึงหันมาเข้ายิมและจ๊อกกิ้งทุกวัน ทานอาหารคลีน 80% และอีก 20% ที่เหลือสำหรับอาหารจานโปรด หรือสังสรรค์กับญาติ เพื่อน และเพื่อนร่วมงาน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ