สวยไม่แพ้ใคร! “เกาะช้าง” ติดอันดับ 2 สถานที่พักเขตร้อนชื้นดีที่สุดในโลก

Home » สวยไม่แพ้ใคร! “เกาะช้าง” ติดอันดับ 2 สถานที่พักเขตร้อนชื้นดีที่สุดในโลก

ยืนยันความสวย

การันตรี! นิยตสารสื่อชั้นนำด้านการท่องเที่ยว Travel + Leisure จัดให้ “เกาะช้าง” เป็นสถานที่พักผ่อนเขตร้อนชื้นดีที่สุดอันดับ 2 ของโลก

เมื่อพูดถึงทะเลในฤดูร้อนเชื่อว่าคนไทย และชาวต่างชาติหลาย ๆ คนจะต้องนึกถึงทะเลที่ประเทศไทยขึ้นมาอย่างแน่นอน หาดทรายสวย ๆ น้ำทะเลใสเห็นตัวปลา นอกจากทะเลจะสวยแล้ว ยังมีอุทยานอีกหลายแห่งเอาใจนักท่องเที่ยวสายธรรมชาติ รอให้มาสัมผัส และเที่ยวชม ในหลายจังหวัด หลายภูมิภาค แต่ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกก็หนีไม่พ้นภาคใต้ของประเทศไทยเรานั้นเอง รับประกันเลยว่าสวยไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ อย่างแน่นอน

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 เฟซบุ๊กเพจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง – Mu Ko Chang National Park ได้แชร์ข้อความโพสต์ของเฟซบุ๊ก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ได้โพสต์รูป และข้อความระบุว่า “นายเนรมิต สงแสง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เปิดเผยว่า นับเป็นข่าวที่น่ายินดีสำหรับการท่องเที่ยวไทย เมื่อเกาะช้าง จังหวัดตราด ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสถานที่พักผ่อนเขตร้อนชื้นที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของโลก โดยนิตยสาร Travel + Leisure สื่อชั้นนำด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์

เกาะช้าง-min
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

สำหรับเกาะช้าง “อัญมณีแห่งอ่าวไทย” ได้รับการยกย่องให้อยู่ในอันดับสูงสุดร่วมกับจุดหมายปลายทางอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างพาลาวัน (ฟิลิปปินส์) และบาหลี (อินโดนีเซีย) สะท้อนให้เห็นถึงความโดดเด่นทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกาะช้างและเกาะบริวาร เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของประเทศไทย ประกอบด้วยระบบนิเวศที่หลากหลาย ทั้งป่าดิบชื้น น้ำตก ชายหาด และแนวปะการังที่อุดมสมบูรณ์ นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับความงามของธรรมชาติผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดินป่า ดำน้ำดูปะการัง และล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน

เกาะช้าง2-min
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • โชว์ตัวใกล้ชิด! “สมเสร็จ” สัตว์ป่าสงวน โผล่เดินถนน จ.นราธิวาส แบบชิล ๆ
  • เปิดตัวลายใหม่! ไปรษณีย์ไทย เปิดจอง โปสการ์ด-แสตมป์ ลาย “หมูเด้ง”
  • สุดเอือม! แก๊งชาวอินเดีย โยนขยะทิ้งลงทะเล นทท. ไทยตะโกนเตือนไม่ฟัง

ในการจัดอันดับครั้งนี้ มัลดีฟส์ครองอันดับ 1 ตามด้วยเกาะช้างของไทยในอันดับ 2 และหมู่เกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกาในอันดับ 3 การติดอันดับของเกาะช้างครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำถึงความสวยงามและเสน่ห์ของแหล่งท่องเที่ยวไทยในสายตาชาวโลก

ผลการจัดอันดับนี้คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของเกาะช้างและประเทศไทยโดยรวม โดยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาสัมผัสความงดงามของธรรมชาติและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของเกาะแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการท่องเที่ยวควรคำนึงถึงความยั่งยืนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างเป็นสำคัญ

เกาะช้าง3-min
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

การจัดอันดับโดย Travel + Leisure ครอบคลุมจุดหมายปลายทางยอดนิยมทั่วโลก รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวในแถบแคริบเบียน แปซิฟิกใต้ เอเชีย และยุโรป สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวเขตร้อนชื้นทั่วโลก สำหรับรายชื่อ 30 อันดับจุดหมายปลายทางเขตร้อนชื้นที่ได้รับการจัดอันดับมีดังนี้

1. มัลดีฟส์ – มัลดีฟส์

2. เกาะช้าง – ไทย

3. หมู่เกาะฮาวาย – สหรัฐอเมริกา

4. ฟิจิ – ฟิจิ

5. พาลาวัน – ฟิลิปปินส์

6. หมู่เกาะกัลป์ฟ์ออฟจีน – สหราชอาณาจักร

7. คอสตาริกา – คอสตาริกา

8. โบราโบร่า – เฟรนช์โปลินีเซีย

9. เม็กซิโก – เม็กซิโก

10. บาหลี – อินโดนีเซีย

11. จามีกา – จามีกา

12. สาธารณรัฐโดมินิกัน – สาธารณรัฐโดมินิกัน

13. หมู่เกาะ Tuamotu – เฟรนช์โปลินีเซีย

14. จามากา – จามากา

15. หมู่เกาะวิคตอเรีย – สหราชอาณาจักร

16. เปอร์โตริโก – สหรัฐอเมริกา

17. เกรเนดา – เกรเนดา

18. โดมินิกา – โดมินิกา

19. บาฮามาส – บาฮามาส

20. เซนต์บาร์ตส์ – แอนติกาและบาร์บูดา

21. ปาลาวา – ปาลาวา

22. ลอสกาบอส – เม็กซิโก

23. แคนคูน – เม็กซิโก

24. วิลิซิยานาเกา – ฟิจิ

25. หมู่เกาะเลามู – เคนยา

26. เซเชลส์ – เซเชลส์

27. เกาะ Zakynthos – กรีซ

28. เฟอร์นันโด เด โนโรนยา – บราซิล

29. เกาะฮาม – ออสเตรเลีย

30. อิบิซา – สเปน

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อุทยานแห่งชาติ​หมู่​เกาะช้าง​ กรมอุทยาน​แห่งชาติ​ สัตว์ป่า ​และ​พันธุ์พืช​ ร่วมกับทุกภาคส่วน ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการบริหารจัดการอุทย​านแห่งชาติ​สู่มาตรฐานการท่องเที่ยวยั่งยืนโลก (GSTC)​ ต่อไป”

ซึ่งนิตยสาร Travel and Leisure มีผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดียอยู่ประมาณ 14.8 ล้านคน และเข้าถึงผู้อ่านโดยรวมได้ประมาณ 16 ล้านคนต่อเดือนจากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบดิจิทัลหรือสิ่งพิมพ์ โดยมียอดพิมพ์อยู่ที่ 950,000 ฉบับต่อเดือน และมีจำนวนผู้อ่านที่ใช้งานประมาณ 6.1 ล้านคนทั่วโลกในปี 2567 อีกด้วย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ