หากพูดถึงร้านอาหาร แน่นอนว่าทุกร้านต้องเข้มงวดเรื่องความสะอาดภายในร้าน รวมถึงความสดของวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบอาหาร และกว่าจะเปิดร้านได้นั้นต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยต่าง ๆ ของหน่วยภายในประเทศ ซึ่งแน่นอนการตรวจนั้นมีเกณฑ์กำหนดที่เข้มงวดเอามาก ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกร้านจะคงระดับมาตรฐานเหล่านี้เอาได้อย่างสม่ำเสมอ
ล่าสุดทาง CNN ได้รายงานว่าทาง ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (CDC) ตรวจพบ เชื้ออีโคไล ในแฮมเบอร์เกอร์ จากร้านเบอร์เกอร์เจ้าดังของประเทศสหรัฐอเมริกา เผยมีผู้ป่วยอย่างน้อย 49 รายใน 10 รัฐ รวมถึงมีผู้สูงอายุเสียชีวิต 1 ราย และมีผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล 10 ราย หนึ่งในนั้นมีเด็กที่ป่วยเป็นโรคยูรีเมียจากเม็ดเลือดแดงแตก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการติด เชื้ออีโคไล โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ใน รัฐโคโลราโด และ รัฐเนแบรสกา
โดยทาง CDC กล่าวว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่รับประทานแซนด์วิช Quarter Pounder ของร้านเบอร์เกอร์ชื่อดังนี้ โดยหน่วยงานดังกล่าวระบุว่าการสืบสวนดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ ตรวจสอบพบว่าหัวหอมหั่นฝอยอาจเป็นแหล่งที่มาของการปนเปื้อน
CDC รายงานว่า ทางด้านของร้านเบอร์เกอร์ดังกล่าวได้หยุดใช้หัวหอม และเนื้อบดขนาดควอเตอร์ปอนด์ ในหลายรัฐแล้ว ขณะนี้ยังคงสืบสวนต่อไป ตามรายงานของหน่วยงาน ระบุว่าเนื้อบดเหล่านี้ใช้เฉพาะกับควอเตอร์ปอนด์เดอร์เท่านั้น ส่วนหัวหอมหั่นฝอยใช้เป็นหลักสำหรับควอเตอร์ปอนด์เดอร์เท่านั้น ไม่ได้ใช้กับวัตถุดิบอื่น ๆ
- ไปกันต่อ! 2 ทนายดัง จับมือแฉ สส.เพื่อไทย-ดาราช่องดัง ทำธุรกิจคล้าย ดิไอคอน
- รถตู้ไม่เห็นผดส. ในรถ ขับนอกทาง แวะซื้อข้าวมันไก่เจ้าลับ ก่อนส่งที่หมาย
- หายหิว! สาวสั่งน้ำพริกปลาทู แต่ได้ของแถม เป็นตัวประหลาดอยู่ในท้อง
ทางด้านร้านเบอร์เกอร์ ได้ออกมาแถลงถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ผลการสอบสวนเบื้องต้นเชื่อมโยงหัวหอมกับ “ซัพพลายเออร์รายเดียวที่ให้บริการแก่ศูนย์กระจายสินค้าสามแห่ง”
อาการของผู้ที่ติด เชื้ออีโคไล อาจมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องเสีย มีไข้ และอาเจียน อาการของการติดเชื้อมักเริ่มใน 3-4 วัน หลังจากกลืนแบคทีเรียเข้าไป แม้ว่าคนส่วนใหญ่ที่ป่วยจะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษาภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่บางคนอาจมีปัญหาไตร้ายแรง และต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เชื้ออีโคไล (Escherichia coli หรือ E. coli) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบได้เป็นปกติในลำไส้ของคน และสัตว์บางชนิด เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และนก. โดยปกติแล้ว เชื้ออีโคไลจะไม่ก่อโรค และมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็มีบางกรณีที่สามารถก่อโรคได้ เช่น โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และโรคท้องเดิน
การแพร่ระบาด
- เชื้ออีโคไลสามารถแพร่สู่คนได้โดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ
- เชื้อสามารถพบได้ในอาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น เนื้อหรือผักดิบ, นมและน้ำที่ไม่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนอย่างเหมาะสม
การก่อโรค
- สายพันธุ์ที่ก่อโรคในคนได้ มีตั้งแต่โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและอาหารเป็นพิษ ไปจนถึงโรครุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด
- สายพันธุ์กลุ่มอีเฮค (EHEC) หรือเอนเตอโรฮีโมราจิคอีโคไล (Enterohemorrhagic E. coli) สามารถก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ โดยการสร้างและปล่อยสารพิษ ชิกา (Shiga toxin) ออกมา