วิธีเช็ก ใบสั่งออนไลน์ กฎหมายใบสั่งจราจร ล่าสุด วิธีจ่ายค่าปรับใบสั่ง

Home » วิธีเช็ก ใบสั่งออนไลน์ กฎหมายใบสั่งจราจร ล่าสุด วิธีจ่ายค่าปรับใบสั่ง
วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ วิธีจ่ายค่าปรับใบสั่ง

กฎหมายใบสั่งจราจร : ล่าสุด ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง โดนหมายจับถึงบ้าน! เปิด วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ – วิธีจ่ายค่าปรับใบสั่ง

ตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน มาตรการบังคับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจร ที่ไม่มาชำระค่าปรับใบสั่ง ในเวลาที่กำหนด ที่ผ่านมาพบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจร และไม่มาชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งพบว่ามีผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรแล้วไม่ไปชำระค่าปรับจำนวนมาก และยังคงมีพฤติการณ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซ้ำๆ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและ เกิดปัญหาการจราจร สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินรวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศ อย่างต่อเนื่อง

กองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงได้กำหนดมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เพื่อส่งเสริมให้ผู้ขับขี่มีวินัยจราจร ซึ่งจะช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุและปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครได้ในระดับหนึ่ง โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

กฎหมายใบสั่งจราจร ล่าสุด

สามารถตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ ได้ผ่านช่องทางใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน 
https://ptm.police.go.th/eTicket/#/

1. เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งให้กับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ทั้งแบบความผิดซึ่งหน้าและความผิดที่ตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับการกระทำความผิด ระยะเวลาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

2. กรณีผู้กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับ เมื่อพันระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง (ใบเตือน) โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง โดยให้ถือว่าเจ้าของ/ผู้ครอบครอง ได้รับแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

ซึ่งในขั้นตอนที่ 1. และ 2. ผู้กระทำความผิดสามารถเลือกชำระค่าปรับ ได้ที่สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ, ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารกรุงไทย, เค้าเตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษญ์ PTM และทางไปรษณีย์

3. กรณีพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบเตือน และผู้กระทำความผิดยังไม่มาชำระค่าปรับ นอกจากการส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีแล้ว พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้มาชำระค่าปรับ หากไม่มาพบตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนจะ ยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่เพื่อออกหมายจับ

4. กรณีถูกออกหมายเรียก หรือหมายจับ ผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามข้อหาที่ผู้ต้องหากระทำผิดตามใบสั่ง และความผิดข้อหาตามมาตรา 155 “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ม.141 (ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดในใบสั่ง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ณ สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก หมายจับไม่สามารถชำระผ่านช่องทางต่างๆ ตามข้อ 2. ได้

5. ผลของการถูกออกหมายฉับในคดีอาญา เมื่อถูกออกหมายจับแล้ว จะถูกบันทึกในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  • เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวบุตคลที่มีหมายจับได้ทั่วราชอาณาจักร โดยใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมฐานข้อมูล
  • หากบุคคลที่มีหมายจับเดินทางออกนอกประเทศจะถูกจับ และเกิดความยากลำบาก ในเรื่องการเดินทาง
  • ถูกบันทึกในทะเบียนประวัติซึ่งอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพการทำงาน กรณีที่หน่วยงานสอบถามประวัติคดีอาญาว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับ
  • เกิดความยากลำบากและความน่าเชื่อถือในการทำนิติกรรม

วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ ค้างไว้เท่าไหร่

1. กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชนและเลขหลังบัตรหรือ Laser ID จากนั้นคลิกปุ่ม ถัดไป

2. เลือกรูปแบบข้อมูลที่ต้องการใช้ลงทะเบียน ข้อมูลรถที่ครอบครองหรือใช้ข้อมูลใบขับขี่ โดยจะเลือกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จากนั้นกด ถัดไป

3. กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มให้ครบถ้วน จากนั้นคลิก ถัดไป

4. ระบบจะแสดงข้อมูลทั้งหมดที่ได้กรอกไว้ ทำการตรวจสอบความถูก แล้วกรอกอีเมลเพื่อใช้ในการลงทะเบียน กดถัดไป

5. ตรวจสอบอีเมลที่ใช้ยืนยัน นำรหัส OTP จำนวน 6 หลักที่ทางระบบส่งไปยังอีเมลมาใช้เพื่อยืนยันการสมัคร

6. ตั้งรหัสผ่าน และ ยืนยันรหัสสผ่านอีกครั้ง เสร็จแล้วคลิก ลงทะเบียน เป็นอันเสร็จสิ้นสามารถ Login เข้าใช้งานได้เลย

7. Login ด้วยเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้ จากนั้นเลือกช่วงเวลาที่ต้องการตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ กรอก ทะเบียนรถ เลขที่ใบสั่ง กดค้นหาหากมีใบสั่งขึ้นมาในระบบแสดงว่ามีใบสั่งค้างชำระ แต่หากไม่มีการค้างชำระ ระบบจะแจ้งว่าไม่พบข้อมูลใบสั่งในระบบ

วิธีจ่ายค่าปรับใบสั่ง

1. จ่ายค่าปรับที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน

2. ชำระผ่านสาขาของธนาคารกรุงไทย ชำระผ่านตู้ ATM/ADM

3. ชำระตามจุดรับชำระเงิน (ตู้บุญเติม, CenPay เป็นต้น)

4. ชำระผ่านที่ทำทำการไปรษณีย์ไทยทุกสาขา

ขอบคุณรูปภาพจากเพจ https://ptm.police.go.th

ขอบคุณข้อมูลจาก :  กองบัญชาการตำรวจนครบาล

ข่าวที่น่าสนใจ

  • เช็ค อาการซึมเศร้า ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ได้แล้วผ่านแอปพลิเคชัน DMIND Application
  • ทนายตั้ม เผย กรณี ดารุมะ ซูชิ อาจจะโดนมากกว่านั้น!
  • ด่วน! ธ.ออมสิน ปล่อยเงินกู้ระยะยาว “สินเชื่อชีวิตสุขสันต์” ไม่เกิน20ล้าน ผ่อนนาน10ปี



แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ