จากเหตุไฟไหม้โรงงานพลาสติก ที่อาจทำให้ทั้งคนและสัตว์ได้รับผลกระทบจากควันไฟ ควันพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของสารเคมี ผศ.น.สพ.รุ่งโรจน์ โอสถานนท์ นายกสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงที่อาจสำลักควันเอาไว้ ดังนี้
การจัดการสัตว์ป่วยที่สําลักควัน (Smoke inhalation)
การสําลักควันในสัตว์ เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ อาทิ ภาวะทางเดินหายใจส่วนต้นอุดกั้นเนื่องมาจากการบวมของกล่องเสียง (Laryngeal Swelling) มักพบอาการรุนแรง ภายในระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมงแรกภายหลังจากการสูดควัน
นอกจากนี้อาจพบภาวะการอักเสบแบบรุนแรง เกิดการหดเกร็ง หรือการบวมน้ำของหลอดลม ปอดฟีบ และภาวะหายใจลำบากแบบเฉียบพลัน (acute respiratory distress Syndrome, ARDS) หลังจากนั้น อาจพบการลอกหลุดและการตายของผนังหลอดลม ทําให้เกิดการอุดกั้น ของหลอดลมฝอยที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งอาจพบได้ในระยะเวลาหลายวันหลังจากสูดควัน การสูญเสียหน้าที่ของโครงสร้างหลอดลมเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจได้โดยง่าย
อาการที่ผิดปกติของสัตว์หลังสำลักควัน
อาการผิดปกติของสัตว์ที่พบภายหลังจากการสําลักควันจากอุบัติเหตุไฟไหม้ ได้แก่
- ไอ
- หายใจเร็ว
- หายใจลําบาก
- เสียงปอดผิดปกติจากการตรวจร่างกาย
- เสียงทางเดินหายใจส่วนต้นผิดปกติ
- มีน้ํามูก
- มีแผลไหม้
- บางรายอาจพบอาการผิดปกติทางระบบประสาทอันเนื่องมาจากภาวะสมองขาดออกซิเจน (hypoxia)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น
- ตรวจระดับออกซิเจนในหลอดเลือดแดง เพื่อประเมินสัดส่วนของออกซิเจนในร่างกายเปรียบเทียบกับ ปริมาณของออกซิเจนที่ได้รับ (PaO:FO, ratio) หากสัดส่วนดังกล่าวนี้ ต่ำกว่า 300 แสดงว่าสัตว์มีภาวะผิดปกติของ ทางเดินหายใจแบบรุนแรง
- เอกซเรย์ช่องอก ผลการเอ็กซเรย์ช่องอกมักพบรอยโรคที่ปอดชนิด alveolar pattern เป็นหลักในสุนัข สําหรับในแมวสามารถพบได้ทั้งแบบ interstitial และ alveolar patterns
การรักษาสัตว์สำลักควันเบื้องต้น
- ออกซิเจน เพื่อช่วยรักษาภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxemia)
- ในกรณีที่ยังพบภาวะขาดออกซิเจนในเลือดแบบรุนแรงแม้ว่าจะให้ออกซิเจนแก่สัตว์แล้ว ให้พิจารณาให้ ออกซิเจนผ่านทางท่อช่วยหายใจโดยการใช้เครื่องช่วยหายใจ (mechanical ventilation)
- ในบางครั้ง หากพบอาการบวมที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นแบบรุนแรง ให้พิจารณาสอดท่อช่วยหายใจ (intubation) หรือ ใส่ท่อหลอดลมคอ (tracheostomy tube)
- ให้สารน้ำ (ในid therapy) ในสัตว์ที่มีภาวะช็อก (shock) มีแผลไหม้ (burn) และขาดน้ำ (dehydration) แต่ควรทําการเฝ้าระวังอาการของสัตว์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการให้สารน้ำมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดปอดบวมน้ำได้
- อาจพิจารณาให้การรักษาในรูปแบบอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ ยาขยายหลอดลม (bronchodilators) การพ่น น้ำเกลือ (saline nebulization) การเคาะปอด (Coupage) การป้ายตาด้วยสารหล่อลื่น (ocular Lubricants) การให้ ยาระงับปวด (analgesia) และการดูแลแผลไหม้ภายนอก ขึ้นกับอาการทางคลินิกของสัตว์
อย่างไรก็ตาม ควรทําการเฝ้าระวังอาการผิดปกติของสัตว์ที่ช่วยเหลือมาจากพื้นที่ไฟไหม้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง แม้ว่าสัตว์จะไม่แสดง อาการผิดปกติใดๆ ในช่วงแรกก็ตาม เพราะสัตว์อาจมีภาวะหายใจลำบากแบบเฉียบพลันตามมาในภายหลังได้