จากกรณีนี้ที่ ก้าวไกล ได้ออกมาจัดตั้งใหม่ที่มาแทนชื่อพรรคเดิมที่ถูกยุบไป โดยใช้ชื่อว่า “พรรคประชาชน” มีชื่อย่อว่า “ปชช” ภาษาอังกฤษว่า “PEOPLE’S PARTY” มีชื่อขอในภาษาอังกฤษว่า “PP” โดยเครื่องหมายพรรคมีภาพสัญลักษณ์ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม และมุมทุกด้านของสามเหลี่ยมมุมแต่ละมุมเท่ากันกลายเป็นสามเหลี่ยมหกด้าน โดยใช้สีส้มเป็นสีของสามเหลี่ยม ภาพสัญลักษณ์วางเหนือ ตัวอักษรคำว่า “พรรคประชาชน” “PEOPLE’S PARTY” ซึ่งเป็นชื่อพรรคปรากฏอยู่ด้านล่างสามเหลี่ยม โดยใช้สีกรมท่าเป็นสีของตัวอักษรคำว่า “พรรคประชาชน” และใช้สีส้มเป็นสีของ “PEOPLE’S PARTY”
- เคาะแล้ว! เปิดภาพโลโก้ ‘พรรคประชาชน’ บ้านใหม่ค่ายส้ม ได้ เท้ง นั่งหัวหน้า
- ข่าวรั่ว!? เท้ง ณัฐพงษ์ นั่ง หน.พรรค ย้ายบ้านจาก ก้าวไกล เป็น พรรคประชาชน
ที่มาของ พรรคประชาชน
แต่ถ้าหากย้อนกลับไปในช่วงเวลาประมาณ 40 ปีที่แล้ว จะพบว่า มีพรรคการเมืองที่ใช้ชื่อว่า พรรคประชาชน มาแล้วครั้งหนึ่ง พรรคประชาชนนั้น แต่เดิมใช้ชื่อว่า พรรครักไทย โดยพรรครักไทยจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อปี 2526 ต่อมาในปี 2530 ด่อนจะเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคประชาชน
และในปี พ.ศ. 2531 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ นำโดยกลุ่มของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ย้ายเข้ามาสังกัดพรรคประชาชนและได้ให้คุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ เป็นรักษาการหัวหน้าพรรคและนางสาวนิตยา ภูมิดิษฐ์ เป็นรักษาการเลขาธิการพรรค
ต่อมาอีกเพียง 15 วัน ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติเลือกให้นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายวีระ มุสิกพงศ์ เป็นเลขาธิการพรรคแทน และมีแกนนำคนสำคัญ อาทิ
- นายเดโช สวนานนท์
- นายไกรสร ตันติพงศ์
- นายเลิศ หงษ์ภักดี
- นายอนันต์ ฉายแสง
- นายสุรใจ ศิรินุพงศ์
- นายถวิล ไพรสณฑ์
- นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
- นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
- นายกริช กงเพชร
อย่างที่รู้กันว่า นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อยู่ใน กลุ่ม 10 มกรา ที่ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับกลุ่มวาดะห์ หลังจากการที่ทั้งสองกลุ่มไม่ยกมือสนับสนุนร่างพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร จนทำให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ต้องประกาศยุบสภา เมื่อปี 2531 ซึ่งกลุ่ม 10 มกราบางส่วนและทางกลุ่มวาดะห์ได้ร่วมมือกันจัดตั้งพรรคการเมืองโดยใช้ชื่อว่า พรรคประชาชน (ชื่อเดิมพรรครักไทย) ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2531
อย่างไรก็ตาม พรรคประชาชน ประกาศยุบพรรคเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2532 เพื่อไปรวมกับพรรครวมไทยของนายณรงค์ วงศ์วรรณ พร้อมพรรคกิจประชาคมและพรรคก้าวหน้า โดยศาลฎีกามีคำสั่งให้ยุบพรรค ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2532