รู้หรือไม่? เรื่องจำเป็นที่สายขนส่งต้องรู่ “บรรทุกของท้ายรถกระบะ” อย่างไรให้ไม่ถูกเรียก และปลอดภัยทั้งตัวเองและรถคันอื่น ระวังจะโดนปรับโดยไม่รู้ตัว
สื่บเนื่องจากคลิปวิดีโอในติ๊กตอก ที่เป็นที่พูดถึงในสังคมออนไลน์เป็อน่างมาก กับบรรทุกของแบบจัดเต็ม แน่นเต็มกระทะแถมยังสูงขึ้นไปจนเอียงกระเท่เร่ สร้างความหวานเสียวว่าจะหล่นแหล่ไม่หล่นแหล่ให้กับผู้ที่พบเห็น แต่ครั้งนี้คดีกลับพลิก เพราะทัวร์ชาวเน็ตดันไปลงที่เจ้าของคลิปซึ่งขับรถตามหลังกระทะคันดังกล่าว อีกทั้งไม่ช่วยเตือน แต่ยังล้อเลียนลุ้นว่าจะไปรอดหรือไม่
อ่านเพิ่มเติม – ลุ้นตัวโก่ง! กระบะขนของเกินกำลัง จะหล่นแหล่ไม่หล่นแหล่ คดีพลิกทัวร์ลงเจ้าของคลิป น่าจะเตือนสักหน่อย
ดังนั้นวันนี้ Bright Today รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขนสินค้าโดยรถกระทะอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีความนิยมทนำรถกระยะมาใช้ขนของในเชิงพาณิช แต่จะบรรทุกอย่างไรให้ไม่โดนเรียก เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และรถคัยอื่นๆที่รวมใช้ท้องถนนเดียวกับเรา วันนี้เรามีคำตอง
- บรรทุกของต้องคำนึงถึงความกว้าง / ยาว / สูง
- ความกว้าง – ให้บรรทุกได้ไม่เกินส่วนกว้างของตัวรถ
- ความยาว – เมื่อบรรทุกของต้องไม่ยื่นเกินหน้าหม้อรถ และมีความยาว ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร
- ความสูง – เมื่อบรรทุกของโดยส่วนใหญ่แล้วรถกระบะ หรือ รถบรรทุกของจะมีความสูงจากพื้นไม่เกิน 3.00 เมตร แต่หากว่าตัวรถมีความกว้างกว่า 2.30 เมตร จะบรรทุกสูงจากพื้นได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
- กฎหมายอนุญาตให้บรรทุกของได้ไม่เกิน 9.5 ตัน
- ไม่สามารถบรรทุกเหล้าเบียร์ขึ้นรถได้เกิน 10 ลิตร ถ้าหากจะขนสุราในปริมาณ 10 ลิตร หรือเกินกว่านั้นจะต้องมีใบอนุญาตนั่นเอง
กรณีหากมีความจำเป็นต้องบรรทุกของแบบเปิดท้ายกระบะในช่วงเวลากลางวันให้หาธงสีแดงเรืองแสงสี่เหลี่ยมพื้นผ้ากว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร มาติดไว้ที่ของเพื่อเป็นสัญญาณให้รถคันหลังระมัดระวัง และมองเห็นได้อย่างชัดเจน หากเป็นช่วงเวลากลางคืน หรือ เวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
หลายคนอาจดัดแปลงหรือต่อเติมรถกระบะ เพื่อความสะดวกในการบรรทุกของ แต่รู้หรือไม่ว่าการทำแบบนั้นผิดต่อข้อกฏหมายซึ่งระบุตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบมาตรา 60 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท โดยระบุว่าในการดัดแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนนึงของตัวรถจากรายการที่จดทะเบียนนั้น เช่น การติดตะแกรงเหล็กเสริมรั้วกระบะข้าง, การติดโครงเหล็กตะแกรงบนหลังคา จะต้องมีการแจ้งเข้าตรวจสภาพและแจ้งแก้ไข ณ สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนไว้ เพื่อตรวจสอบว่ามีความแข็งแรงทนทานหรือไม่ และป้องกันการเกิดอันตรายหากมีการหลุดร่วงของตะแกรงเหล็กจนเกิดอุบัติเหตุตามมา
ข้อมูล – www.viriyah.co.th
สามารถติดตามข่าวสาร และ เรื่องดีๆเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV