องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.621 หรือสายพันธุ์ “มิว” ให้เป็นสายพันธุ์โควิด-19 ล่าสุด ให้เป็นสายพันธุ์ที่ “กำลังให้ความสนใจ” นั่นหมายถึง เป็นสายพันธุ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นอันตรายได้ในอนาคตอันใกล้
โควิด-19 สายพันธุ์ “มิว” คืออะไร?
โควิด-19 สายพันธุ์ “มิว” (Mu) หรือสายพันธุ์ B.1.621 ครั้งแรกในประเทศโคลอมเบียเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ขณะนี้มีความค่าความชุกของเชื้อ 39-40% ในขณะที่เคสที่ถอดรหัสพันธุกรรมแล้วทั่วโลกพบเชื้อสายพันธุ์นี้เพียง 0.1% เท่านั้น โดยมีการตรวจพบในหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยุโรป และล่าสุดพบในประเทศญี่ปุ่น (1 ก.ย.) รวมๆ กันแล้วอย่างน้อย 40 ประเทศ
โควิด-19 สายพันธุ์ “มิว” อันตรายแค่ไหน?
WHO รายงานว่า โควิด-19 สายพันธุ์ “มิว” มีการกลายพันธุ์ในระดับพันธุกรรม ซึ่งทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายตามธรรมชาติ หรือวัคซีนที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือการรักษาด้วยการใช้ monoclonal antibody ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่สร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ออกแบบมาเพื่อรักษาโรคโควิด-19 อาจใช้ไม่ได้ผลกับไวรัสสายพันธุ์นี้
โควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ กลายพันธุ์ได้อย่างไร?
จริงๆ แล้วการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสต่างๆ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ และการกลายพันธุ์ส่วนใหญ่จะไม่มีผลหรือมีผลน้อยมากต่อคุณสมบัติของไวรัส แต่อาจส่งผลให้คุณสมบัติของเชื้อไวรัสเปลี่ยนไป เช่น แพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น หรือทวีความรุนแรงของอาการได้มากขึ้น รวมถึงต้านทานต่อภูมิต้านทานของร่างกาย ยารักษา และวัคซีนได้ เป็นต้น
ป้องกันจากโควิด-19 สายพันธุ์ “มิว” ได้อย่างไร?
ระหว่างการค้นคว้าศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ วิธีป้องกันเชื้อไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ยังคงเป็นการล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนสัมผัสอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายตัวเอง และก่อนรับประทานอาหาร สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกไปนอกบ้าน พบเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ไว้ใช้นอกบ้านระหว่างวัน หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีคนรวมกันจำนวนมาก รักษาระยะห่างจากผู้คน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งเข็มแรกและเข็มที่ 2 ตามกำหนด เท่านี้ก็ยังถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์
- อะไรนะ? อนามัยโลกจับตา โควิดสายพันธุ์มิว (B.1.621) แม้แต่วัคซีนอาจจะต้านไม่ได้