การโจมตีของ “กลุ่มฮามาส” ต่อ “อิสราเอล” เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นการโจมตีที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 50 ปี ที่อิสราเอลประกาศกร้าวว่าจะ “แก้แค้น-เอาคืน” กลุ่มฮามาสอย่างสาสมนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่อิสราเอลเผชิญหน้ากับกับภัยความมั่นคงในลักษณะนี้ เพราะอิสราเอลต้องเตรียมพร้อมและรับมือกับสงครามอยู่ตลอดเวลา แม้จะมีข้อจำกัดด้าน “ทรัพยากร” ก็ตาม
- ปฏิกิริยาผู้นำโลกต่อเหตุ “ฮามาส” โจมตี “อิสราเอล” รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี
- “ฮามาส” คือใคร ทำไมเปิดฉากโจมตี “อิสราเอล” อย่างรุนแรง
- เสียหายหนัก! ภาพมุมสูงเผยสภาพ “เมืองกาซา” หลังโดน “อิสราเอล” โจมตีกลับอย่างหนัก (มีคลิป)
จากประเทศเกิดใหม่อายุไม่ถึงร้อยปี อิสราเอลทำอย่างไรจึงกลายเป็นประเทศผู้นำนวัตกรรมทางทหาร Sanook พาทุกคนไปทำความรู้จัก “กองกำลังป้องกันอิสราเอล” และการเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยีทางทหารที่ล้ำหน้าที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
“กองกำลังป้องกันอิสราเอล” คืออะไร
กองกำลังป้องกันอิสราเอล (Israel Defense Forces หรือ IDF) คือกองทัพของประเทศอิสราเอล หรือที่รู้จักในชื่อ “ซาฮาล” ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 ประกอบด้วยกองทัพบก, กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ โดยมีการเกณฑ์ทหารทั้งชายและหญิง เมื่ออายุครบ 18 ปี เนื่องจากเป็นประเทศที่มีประชากรน้อย โดยผู้ชายจะรับราชการทหารเป็นเวลา 3 ปี ขณะที่ผู้หญิงจะรับราชการทหารเป็นเวลา 2 ปี
Getty Images
เนื่องจากปัจจัยเรื่องทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมถึงความขัดแย้งที่ดำเนินมาหลายทศวรรษ ทำให้อิสราเอลสร้างประเทศขึ้นจากการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งนำไปสู่ความเจริญทางเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับกองกำลังป้องกันอิสราเอล และทำให้อิสราเอลกลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีทางทหารที่ล้ำสมัยที่สุดของโลก
ผลงานการคิดค้นและประดิษฐ์เทคโนโลยีทางทหารของอิสราเอลมีมากมาย ซึ่งทำให้ปัจจุบัน อิสราเอลกลายเป็นมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีทางทหารขั้นสูง และเป็นผู้ส่งออกอาวุธลำดับต้นๆ ของโลก โดยในปี 2020 การส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของอิสราเอล มีมูลค่าสูงถึง 8,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ผู้คิดค้น “โดรน”
ในปี 1969 อิสราเอลคือผู้คิดค้นและสร้าง “โดรน” หรืออากาศยานไร้คนขับ ได้เป็นชาติแรกของโลก กระทั่งกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกโดรนรายใหญ่ของโลก หรือประมาณ 60% ของตลาดทั่วโลก โดยประเทศลูกค้าของอิสราเอล ได้แก่ รัสเซีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และบราซิล เป็นต้น
Getty Images
และในปี 2010 ประเทศ 5 สมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation หรือ NATO) ล้วนแล้วแต่ใช้โดรนของอิสราเอลในปฏิบัติการที่ประเทศอัฟกานิสถาน
รถอัตโนมัติ Guardium
Guardium คือยานพาหนะภาคพื้นดินไร้คนขับ หรือ UGV เพื่อใช้ในการต่อสู้และป้องกันผู้รุกรานตามอนวชายแดนของอิสราเอล โดยอิสราเอลถือเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้หุ่นยนต์เหล่านี้เพื่อทดแทนทหารในภารกิจต่างๆ ยานพาหนะชนิดนี้ติดกล้องหลายตัวเพื่อตรวจการณ์สภาพแวดล้อม ใช้เรดาห์และเลเซอร์ในการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง และควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
ระบบต่อต้านขีปนาวุธ
อิสราเอลเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถคิดค้นระบบต่อต้านขีปนาวุธชั้นสูง หรือโครงการแอร์โรว์ (Arrow) ได้สำเร็จ โดยระบบดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันขีปนาวุธเหนือชั้นบรรยากาศและอากาศ สามารถยิงสกัดขีปนาวุธที่พุ่งเข้ามาในพื้นที่ของอิสราเอล
Getty Images
นอกจากนี้ยังมีระบบ David’s Sling หรือระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่อิสราเอลใช้รับมือกับภัยคุกคามชนิดต่าๆ ทั้งเครื่องบิน โดรน ขีปนาวุธ และจรวด เป็นต้น และ Iron Dome (ไอรอนโดม) หรือระบบป้องกันขีปนาวุธพิสัยใกล้ ที่สามารถสกัดกั้นขีปนาวุธของฝ่ายตรงข้ามได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์
อิสราเอลเป็นประเทศเดียวในโลกที่ใช้ระบบต่อต้านขีปนาวุธในช่วงเวลาสงคราม ซึ่งระบบเหล่านี้ทำหน้าที่ในการช่วยรักษาชีวิตของพลเรือนมาแล้วจำนวนมาก
- รู้จัก “Iron Dome” ระบบโดมเหล็กป้องกันขีปนาวุธ ราคาหมื่นล้านของ “อิสราเอล”
- ดูวินาที “Iron Dome” สกัดขีปนาวุธของ “ฮามาส” สมเป็นระบบป้องกันหมื่นล้านของ “อิสราเอล” (มีคลิป)
สุดยอดรถถังของอิสราเอล
Merkava (เมอร์คาวา) คือรถถังของอิสราเอล ที่ได้ฉายาว่าเป็น “รถม้าศึกแห่งอิสราเอล” ถือเป็นโครงการลับสุดยอดโครงการหนึ่งของอิสราเอล โดยรถถังดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็นรถถังที่มีความรุนแรงและมีระบบป้องกันดีที่สุดในโลก เกิดขึ้นหลังจากสหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ ปฏิเสธที่จะขายรถถังให้กับอิสราเอล พวกเขาจึงเริ่มต้นโครงการนี้ในช่วงปี 1970s
Getty Images
เมอร์คาวาถูกพัฒนามาแล้ว 4 รุ่น รุ่นล่าสุด ชื่อว่า “Merkava Mk4” สามารถวิ่งได้เร็วกว่า 40 ไมล์ต่อชั่วโมง มาพร้อมชุดเกราะโมดูลาร์ใหม่ หรือรถถังสามารถปรับให้รับการติดตั้งเกราะใดๆ ก็ได้ เพื่อให้เหมาะกับภารกิจทางทหารที่ได้รับ นอกจากนี้ การพัฒนาล่าสุดของเมอร์คาวา พบว่ามีระบบการยิงแบบใหม่ เรียกว่า Knight Mark 4 (ไนท์ มาร์ค 4) ขณะที่รูปร่างของรถถังก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นสีไม่สะท้อน และเกราะสำหรับไอเสียรถที่จะผสมกับอากาศ ทำให้เกิดภาพความร้อนที่จะสร้างความสับสนให้กับศัตรู และทำให้รถถังตกเป็นเป้าได้ยากขึ้น
ดาวเทียมสอดแนมล้ำสมัย
อิสราเอลยังมีดาวเทียมสอดแนมที่ล้ำสมัยมากๆ โดยส่งดาวเทียมสอดแนมขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกในปี 1988 และกลายเป็น 1 ใน 8 ประเทศที่สามารถส่งดาวเทียมขึ้นสู่ชั้นอวกาศได้ อย่างไรก็ตาม อิสราเอลไม่ได้สร้างดาวเทียมขนาดใหญ่ แต่กลับสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Ofek-9 ดาวเทียมที่มาพร้อมกับกล้องความคมชัดระดับสูง และ TecSar ดาวเทียมที่ติดอันดับระบบอวกาศที่ล้ำสมัย เพราะมีเสาอากาศคล้ายจานขนาดใหญ่ เพื่อรับส่งสัญญาณเรดาห์ที่สามารถเจาะความมืดและความหนาของเมฆได้