รมว.พลังงาน แจง น้ำมันเมืองไทย ถูกกว่า สิงคโปร์ จ่อกู้อีก 2-3 หมื่นล้าน มาอุ้มอีก!

Home » รมว.พลังงาน แจง น้ำมันเมืองไทย ถูกกว่า สิงคโปร์ จ่อกู้อีก 2-3 หมื่นล้าน มาอุ้มอีก!


รมว.พลังงาน แจง น้ำมันเมืองไทย ถูกกว่า สิงคโปร์ จ่อกู้อีก 2-3 หมื่นล้าน มาอุ้มอีก!

“สุพัฒนพงษ์” แจง น้ำมัน ประเทศไทยไม่แพงเท่าสิงคโปร์ กองทุนน้ำมันติดลบแล้ว 1.5 หมื่นล้าน เพราะเอาไปตรึง ราคาน้ำมัน ดีเซล-ก๊าซหุงต้ม เตรียมกู้อีก 2-3 หมื่นล้าน

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. เวลา 11.30 น.ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจาของ นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ส.ส.ลำปาง พรรคเพื่อไทย ถามเรื่อง วิกฤติน้ำมันราคาแพง และแนวทางแก้ไข ทั้งที่ประเทศไทยเคยประสบปัญหาน้ำมันราคาแพงมาแล้วในอดีต

แต่รัฐบาลก็หาทางแก้ไขและผ่านไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกองทุนน้ำมัน มาตรการทางด้านภาษี การลดภาษีสรรพสามิตร ที่สามารถช่วยดึงราคาน้ำมันได้ จะลดหรือไม่แะจะลดเมื่อไหร่ และที่ผ่านมาเราเอาของถูกมาผสม แต่ตอนนี้เอทานอลก็มีราคาแพง บี 100 ก็มีราคาแพง เราเอาของแพงมาผสมทำไม ทำไมไม่ปรับตรงนี้ และะกองทุนน้ำมันที่มีเงิน 4 หมื่นล้านบาท ท่านบริหารอย่าไร ทำไมบริหารจนติดลบ เพราะครม.มีมติให้กองทุนน้ำมันกู้เงินมาเสริมสภาพคล่อง และในเมื่อรัฐบาลมีงบกลางทำไมไม่เอางบกลางมาให้กองทุนน้ำมัน ทำไมต้องให้กองทุนมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มอีก เพราะภาระที่เพิ่มก็ส่งผลมาที่ประชาชน

ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯละรมว.พลังงาน ชี้แจงว่า สถานการณ์ขณะนี้เป็นสถานการณ์ที่ล่อแหลม เกือบจะเป็นวิกฤตอยู่แล้ว ซึ่งเราต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะอุปสงค์การต้องการน้ำมันเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และมีความตึงเครียดในการเมืองระหว่างประเทศ และมีอากาศหนาวเย็นเข้ามา และการผลิตของโอเปกพลัส ไม่ยอมขึ้น ขึ้นแค่ 4 แสนบาร์เรล ต่อวัน

ในขณะที่ควรจะผลิตในอัตราที่เท่ากับก่อนการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และวันนี้ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายก็พูดคุยกัน โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับผู้นำของโอเปกให้ทบทวนกำลังการผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งตรงนี้จะลดการตรึงตัวระดับหนึ่ง ข้อมูลที่ปรากฎ ตั้งแต่ ธ.ค.64 จนถึงวันนี้ น้ำมันดิบขึ้นมา 4 บาท ต่อลิตร น้ำมันดีเซลขึ้นมาเกือบ 6 บาท ต่อลิตร เบนซินขึ้นมา 5 บาท เป็นเหตุที่จำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติม

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวต่อว่า วันนี้สิ่งที่ได้ทำไปแล้วคือตรึงราคาน้ำมันมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ซึ่งตอนนี้กองทุนฯช่วยลิตรละ 3.79 บาท เงินไหลออก 7 พันล้านบาทต่อเดือน และก่อนหน้านี้ตรึงราคาก๊าซแอลจี ไว้ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ช่วงโควิดระบาด เพื่อที่จะให้ช่วงวิกฤตจากการแพร่ระบาดผ่านพ้นไปได้

โดยที่ประชาชน พ่อค้า แม่ค้าใช้ก๊าซหุ้งต้มในราคาไม่สูงและเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก เพื่อให้เกิดการหมุ่นเวียนทางเศรษฐกิจต่อไปได้ ซึ่งใช้เงินจำนวน 2 หมื่นกว่าล้านบาท เมื่อเราใช้เงินกองทนุฯขนาดนี้ จนถึงวันนี้ กองทุนน้ำมันติดลบไปแล้ว 1.5 หมื่นล้านบาท และยังเตรียมที่จะกู้เงินอีก 2-3 หมื่นล้านบาทเพื่อดำเนินการต่อ เบื้องต้นอยู่ในกระบวนการกู้เงิน และเชื่อว่าจะไม่เป็นปัญหา

นายสุพัฒนพงษ์ ชี้แจงด้วยว่า สำหรับข้อเสนอแนะต่อการลดส่วนผสมของน้ำมันชีวภาพนั้น รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการใหม่ๆ เพื่อดูแลประชาชน โดยทำเป็นข้ึนตอน จากที่ผ่านมาเป็นบี 10 ตอนนี้ลดเหลือบี 7 วันนี้เหลือบี 5 ถ้าลดลงพรวดพราด จะกระทบกับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน เมื่อลดลงมาถึงบี 5 ราคาปาล์มน้ำมันอยู่ที่ 11 บาท ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่กระทบเกษตรกรมากจนเกินไป แต่ลดภาระให้กับผู้ใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ยังรักษารายได้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน นอกจากนั้นยังมีการลดสัดส่วนกองทุนอนุรักษ์พลังงานเคยเก็บ 25 สตางค์ต่อลิตร วันนี้ลดลงมาเกือบจะไม่เหลือแล้ว

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวด้วยว่า กรณีที่มีผู้ระบุว่าประเทศไทยราคาน้ำมันดีเซล มีราคาสูงถึงลิตรละ30บาท ถือว่าแพงที่สุด จากการค้นข้อมูลพบว่าหลายรัฐบาลมีราคาสูงเช่นเดียวกัน และเมื่อเทียบกับ 8 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ยกเว้นบูรไน และมาเลเซีย ที่มีแหล่งพลังงานของตนเองและสามารถส่งออกได้ไม่จำกัด พบว่าประเทศไทยราคาขายปลีกหน้าสถานีบริการอยู่ ในอันดับที่ 6-7 ของ 8 ประเทศซึ่งเราไม่แพง

ส่วนประเทศที่แพงที่สุดคือสิงคโปร์ หมายความว่าในยามที่เกิดเหตุการณ์กึ่งวิกฤตแบบนี้ ระดับราคาที่เราตั้และเราตรึงก็ยังทำให้รักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง ในขณะเดียวกันยังรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ ไม่ได้ด้อยไปกว่าประเททศเพื่อนบ้านที่มีลักษณะของการพึ่งพาพลังงาน ยืนยันว่าสิ่งที่รัฐบาลได้คำนึงและทำอย่างดีที่สุด ที่จะรักษาเสถียรภาพให้ทุกอย่างเดินไปได้ และรักษาความมั่นคงของประเทศ

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับค่าไฟฟ้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) สั่งการให้พิจารณาในระยะสั้นเพื่อลดการนำเข้าแอลเอ็นจี ที่มีราคาแพง โดยใช้วิธีผลิตอื่น เช่น ขยายต่ออายุโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 ปี แม้กระทบสิ่งแวดล้อมแต่มีพื้นที่ไม่มาก รับซื้อไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มมากขึ้น โดยให้ร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ