ยุโรปเร่งรับมือ “มลพิษทางอากาศ” แต่ละปีคร่าชีวิตเด็กต่ำกว่า 18 ปีนับพัน

Home » ยุโรปเร่งรับมือ “มลพิษทางอากาศ” แต่ละปีคร่าชีวิตเด็กต่ำกว่า 18 ปีนับพัน


ยุโรปเร่งรับมือ “มลพิษทางอากาศ” แต่ละปีคร่าชีวิตเด็กต่ำกว่า 18 ปีนับพัน

ยุโรปเร่งรับมือ – เอเอฟพี รายงานว่ามลพิษทางอากาศทำให้มียอดผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรใน ทวีปยุโรป นั้นสูงกว่า 1,200 คนต่อปี สร้างความหวาดหวั่นว่าอาจเกิดกระทบต่ออนาคตของชาติ

แม้จะมีการปรับปรุงและแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ แต่ระดับมลพิษในหลายประเทศในยุโรปยังคงเพิ่มขึ้นสูงกว่าเกณฑ์ขององค์กรอนามัยโลก (WHO) โดยเฉพาะในแถบยุโรปตอนกลาง-ตะวันออก และอิตาลี

ยุโรปเร่งรับมือ

ยุโรปเร่งรับมือ – File Photo – Air pollution still causes more than 1,200 premature deaths a year in under 18’s across Europe and increases the risk of chronic disease later in life, the EU environmental agency said Monday. DPA

สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป (EEA) กล่าวว่ามลพิษทางอากาศยังคงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ถึง 1,200 คนต่อปี และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรัง

หลังทำการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจยุโรปมากกว่า 30 ประเทศ ซึ่งรวมถึงสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) 27 ประเทศ แต่ไม่ครอบคลุมประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างรัสเซีย ยูเครน และสหราชอาณาจักร ซึ่งบ่งชี้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตโดยรวมของทวีปนี้อาจสูงกว่าที่เป็นอยู่

อีอีเอประกาศเมื่อเดือนพ.ย.2565 ว่ามีประชากร 238,000 คน เสียชีวิตก่อนวัยอันควรอันมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศในทวีปยุโรป รวมถึงประเทศไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และตุรกี และยังเผยว่ามลพิษทางอากาศทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรกว่า 1,200 รายต่อปี และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่อออายุมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ยุโรปเร่งรับมือ

ยุโรปเร่งรับมือ – File Photo – Despite recent improvements, “the level of key air pollutants in many European countries remain stubbornly above World Health Organization” (WHO) guidelines, particularly in central-eastern Europe and Italy, said the EEA after a study in over 30 countries, including the 27 members of the European Union. DPA

การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่หน่วยงานมุ่งเน้นไปที่เด็กโดยเฉพาะ แม้ว่าจำนวนของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดในทวีปยุโรปต่อปี แต่การเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อยแสดงถึงการสูญเสียศักยภาพในอนาคตและมาพร้อมกับปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ทั้งในวัยเด็กและเมื่ออายุมากขึ้น

และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ทางการหันมาใส่ใจกับการปรับปรุงคุณภาพรอบๆ โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา และการการขนส่งมวลชน เนื่องจากเชื่อว่าภายหลังการคลอดบุตร มลภาวะทางอากาศโดยรอบจะเป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น โรคหอบหืด การลดการทำงานของปอด การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และอาการแพ้

คุณภาพอากาศที่แย่ทำให้อาการของโรคเรื้อรัง อย่างโรคหอบหืดรุนแรงขึ้น ซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่เด็กและวัยรุ่นในยุโรปถึงร้อยละ 9 รวมทั้งสร้างความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังเมื่ออายุมากขึ้นอีกด้วย ในปี 2564 ประชากรในเขตเมืองร้อยละ 97 สัมผัสกับอากาศที่ไม่เป็นไปตามคำแนะนำของ WHO ตามตัวเลขที่เผยแพร่

ยุโรปเร่งรับมือ

ยุโรปเร่งรับมือ – File Photo – The EEA announced last November that 238,000 people died prematurely because of air pollution in 2020 in the EU, plus Iceland, Liechtenstein, Norway, Switzerland and Turkey. “Air pollution causes over 1,200 premature deaths per year in people under the age of 18 in Europe and significantly increases the risk of disease later in life,” the agency said. DPA

อีอีเอได้เน้นย้ำเมื่อปีที่ผ่านมาว่าสหภาพยุโรปกำลังดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลงร้อยละ 50 ภายในปี 2573 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า เมื่อเทียบกับปี 2548 ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533-2542) ฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเกือบ 1 ล้านรายต่อปีใน 27 ประเทศซึ่งลดลงเหลือ 431,000 จากปี 2548 สถานการณ์ในยุโรปดูดีขึ้นกว่าหลายๆ ทวีปทั่วโลก

องค์การอนามัยโลกกล่าวโทษว่ามลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 7 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี เกือบเท่าๆ กับการสูบบุหรี่หรือการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ผู้เสียชีวิตหลายแสนคนคือเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และยุโรปใช้เวลานานถึงเดือนก.ย. 2564 ในการบรรลุข้อตกลงการจำกัดสารก่อมลพิษที่กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2548

ส่วนประเทศไทยที่เผชิญกับหมอกควันพิษปกคลุมทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2.4 ล้านคนเนื่องจากปัญหาที่เชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศตั้งแต่ต้นปี ฝุ่นละอองขนาดเล็กส่วนใหญ่มาจากรถยนต์และรถบรรทุกซึ่งสามารถเข้าลึกสู่ปอดได้ ถือเป็นมลพิษทางอากาศที่ร้ายแรงที่สุด รองลงมาคือไนโตรเจนไดออกไซด์และโอโซน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • เยอรมันฟ้องรัฐบาลปมมลพิษพุ่ง ละเมิดสิทธิเข้าถึงอากาศสะอาด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ