เอพี รายงานภาพชีวิตสุดพลิกผันไปมาของ นางออง ซาน ซู จี ขณะเผชิญดรามาบทใหม่ หลังจากศาลพิเศษเมียนมาตัดสินจำคุกถึง 4 ปี ในข้อหาการยุยงปลุกปั่น และการฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโควิด-19 และยังมีอีกหลายข้อหาที่ยังไม่ได้ตัดสิน

FILE – นางซู จี ประธานาธิบดี วิน มินต์ (กลาง) และดร.มโย ออง ประธานสภาเนปยีดอว์ ถูกนำตัวขึ้นศาล เมื่อ 24 พ.ค. 2021. (Myawaddy TV via AP, File)
พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อเดือน พ.ย. 2563 ซึ่ง จะทำให้ซู จีและพรรคเอ็นแอลดีกลับได้บริหารประเทศเป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี

FILE – นางซู จี และพลเอกอาวุโส มิน อ่อง ไหล่ ที่สนามบินกรุงเนปยีดอว์ เมื่อ 6 พ.ค. 2016. (AP Photo/Aung Shine Oo, File)
หลังจากบ้านเมืองเพิ่งจะมีเสถียรภาพและเริ่มมีบรรยากาศประชาธิปไตยในระยะสั้นๆ นับจากที่กองทัพปกครองมานานหลายทศวรรษ กระทั่งกองทัพยึดอำนาจอีกเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 พร้อมทั้งจับกุมซู จีและคนอื่นๆ ผลักให้เมียนมาตกอยู่ในความโกลาหล หลังจาก
ชะตาชีวิตของซู จีเคยสูงสุด ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและตกต่ำที่สุด ถูกกักบริเวณในบ้าน 15 ปีในยุคที่รัฐบาลทหารปกครอง

FILE – อเล็กซานเดอร์ อริส ลูกชายนางซู จี รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แทนแม่ เมื่อ 10 ธ.ค. 1991 (พ.ศ.2534) (AP Photo/Bjoern Sigurdsoen, File)
นายพลออง ซาน บิดา ผู้เป็นวีรบุรุษปลดแอกประเทศจากอังกฤษ ถูกสังหารในปี 2490 ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเพียงไม่กี่เดือน
ซู จี ใช้ชีวิตในช่วงที่จะเริ่มผู้ใหญ่ด้วยการแต่งงานกับนายไมเคิล อริส นักวิชาการมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมีบุตรด้วยกัน 2 คน

FILE – ออง ซาน ซู จี เมื่อครั้งเป็นเด็กน้อย อายุ 2 ขวบ อยู่พร้อมหน้าครอบครัว พ่อ แม่ และพี่ชาย (Kyodo News via AP, File)
เธอเริ่มคลุกคลีในเส้นทางการเมืองเมื่อปี 2531 ขณะที่กลับมาดูแลแม่ที่ป่วยหนักซึ่งขณะนั้นเกิดการประท้วงใหญ่ต่อต้านระบอบเผด็จการทหารของนายพลเน วิน
ซู จี ช่วยก่อตั้งพรรคเอ็นแอลดี แต่หนึ่งปีให้หลัง กลับถูกกักบริเวณในบ้านพักเป็นเวลา 15 ปี จาก 22 ปีนับตั้งแต่เดินทางกลับบ้านเกิด

FILE – นางซู จีนำมวลชนชุมนุมที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อ 14 ต.ค. 1991 หรือพ.ศ. 2534 (The Nation via AP, File)
ชื่อเสียงขจรขจายในปี 2534 เพราะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ต้องใช้เวลาถึง 21 ปีกว่าจะได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งได้นั่งในรัฐสภา

FILE – นางซู จี ได้รับการปล่อยตัววันแรก เมื่อ 11 ก.ค. 1995 หรือพ.ศ. 2538 (AP Photo/Stuart Isett, File)

FILE – ผู้สนับสนุนนับพันคนมายินดีที่นางซู จี ได้รับอิสรภาพ เมื่อ 11 ก.ค. 1995. AP Photo/Stuart Isett, File)

FILE – นางซู จี เปิดแถลงข่าวที่บ้านพัก หลังถูกกักบริเวณนาน 6 ปีและได้รับอิสรภาพรอบแรก เมื่อ 14 ก.ค. 1995 (AP Photo/Anat Givon, File)

FILE – นางซู จี ปีนรั้วมาพบปะผู้สนับสนุนหน้าบ้าน เมื่อ 16 ก.ค. 1995. . (AP Photo/Anat Givon, File)

FILE – Aung San Suu Kyi, top center, stands behind her gate to greet a crowd of about 1,000 people who came to see her in Rangoon, Burma on July 11, 1995. Myanmar court on Monday, Dec. 6, 2021, sentenced ousted leader Suu Kyi to 4 years for incitement and breaking virus restrictions, then later in the day state TV announced that the country’s military leader reduced the sentence by two years. (AP Photo/Stuart Isett, File)

FILE – นางซู จี เปิดแถลงข่าวที่บ้านพัก เมื่อ 23 พ.ค. 1996. หรือ พ.ศ. 2539 แต่จากนั้นในปีเดียวกันนี้ถูกกักบริเวณอีก (AP Photo/Richard Vogel, File). (AP Photo/Richard Vogel, File)

FILE – นางซู จี ให้สัมภาษณ์ที่บ้านพัก เมื่อ 12 ก.ค. 1996 วาระครบรอบที่พ้นจากการถูกกักบริเวณในบ้านพักครบ 1 ปี AP Photo/Richard Vogel, File)

FILE – นางซู จี เดินทางมาถึงพรรคเอ็นแอลดี เมื่อ 2 เม.ย. 2012 หรือ พ.ศ.2555 (AP Photo/Khin Maung Win, File)
การชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายปี 2558 เปิดทางให้พรรคเอ็นแอลดีทรงอำนาจ แต่ตัวเธอเองถูกกีดกันด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยกองทัพไม่ให้เป็นประธานาธิบดี จึงตั้งตำแหน่งใหม่ “ที่ปรึกษาแห่งรัฐ” ให้ผู้นำประเทศ

FILE – นางซู จี ในงานแถลงข่าว หลังพบปะนายเนส์ สโตลเทนเบิร์ก นายกฯ นอร์เวย์ ที่บ้านพักรับรองของรัฐบาลนอร์เวย์ในกรุงออสโล เมื่อ 15 มิ.ย. 2012. (AP Photo/Markus Schreiber, File)

FILE – นางซู จี เมื่อครั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านเข้าประชุมสภา เมื่อ 14 ส.ค. 2012. (AP Photo/Khin Maung Win, File)

FILE – นางซู จีเยือนทำเนียบขาว และพูดคุยกับนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ เมื่อ 19 ก.ย. 2012. AP Photo/Susan Walsh, File)
เสียงชื่นชมจากนานาชาติที่ยกย่องให้เธอเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยซาลง เมื่อนางซู จี ขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เดือน ธ.ค. 2562 เพื่อต่อสู้ข้อกล่าวหาว่ากองทัพสังหารชาวมุสลิมโรฮิงยาทางตะวันตกของรัฐยะไข่อย่างเหี้ยมโหดเมื่อปี 2560

FILE – นางซู จีขึ้นกล่าวต่อคณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในการไต่สวนคดีโรฮิงยา เมื่อ 11 ธ.ค. 2019 หรือ พ.ศ.2562 (AP Photo/Peter Dejong, File)
การเลือกตั้งเดือน พ.ย. 2563 พรรคเอ็นแอลดีได้ที่นั่งมากกว่าการเลือกตั้งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่กองทัพไม่ยอมรับการเลือกตั้งและยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 จับนางซู จี ประธานาธิบดี วิน มินต์ และแกนนำพรรคเอ็นแอลดี ดำเนินคดี
มิเชล บาเชอเลต์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวถึงกระบวนการดำเนินคดีต่อนางซู จี ว่าของปลอม
ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการกลุ่มฮิวแมน ไรตส์ วอตช์ กล่าวว่า นี่เป็นแค่การเริ่มต้นของกระบวนการที่จะเล่นงานนางซู จี ไม่ให้ได้รับอิสรภาพอีก
นายแอนโธนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า รัฐบาลทหารพม่ายังคงไม่เคารพหลักนิติธรรม และยังคงใช้ความรุนแรงต่อประชาชนชาวพม่า สิ่งเหล่านี้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนที่จะต้องฟื้นฟูให้พม่ากลับสู่เส้นทางประชาธิปไตย
ส่วนจีน ยังคงวางตนเป็นมิตรกับผู้นำทหารพม่า และไม่วิพากษ์วิจารณ์ใดๆ เกี่ยวกับคำพิพากษาครั้งนี้ แต่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันสานต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
…………..
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ศาลจำคุกซูจี 4 ปี ประเดิมคดีแรกใน11ข้อหา ปธน.วินมินต์โดนเท่ากัน