![ผปค.ร้องเรียน ครูสาวใส่เสื้อคลุม 1.4 แสน เชื่อรับ “ของขวัญ” แต่เฉลยที่มามีเงิบ รีบขอโทษ ผปค.ร้องเรียน ครูสาวใส่เสื้อคลุม 1.4 แสน เชื่อรับ “ของขวัญ” แต่เฉลยที่มามีเงิบ รีบขอโทษ](https://s.isanook.com/ns/0/ud/1838/9193446/tagline-template-update-april.jpg?ip/crop/w700h366/q80/jpg)
เมื่ออากาศเริ่มเย็นลง หลายๆ คนก็ค้นหาเสื้อผ้าหนาๆ มาสวมใส่กันหนาว เช่นเดียวกับคุณครูคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเฉิ่นหยาง ประเทศจีน ที่หยิบเสื้อคลุมกำมะหยี่มิงค์ตัวโปรดออกมาสวมใส่ ขณะออกไปพบปะกับเพื่อนๆ และถ่ายรูปโพสต์อย่างสวยงาม
แต่สิ่งที่เธอไม่เคยคาดคิดก็คือ ผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียน เห็นรูปเซลฟี่ของเธอใน WeChat Moments หลังจากการสังเกตอย่างรอบคอบเธอก็พบว่าเสื้อคลุมกำมะหยี่มิงค์ที่ครูสวมนั้นมีมูลค่ามากถึง 28,000 หยวน (มากกว่า 1.4 แสนบาท)
เมื่อมาถึงจุดนี้จึงไม่สามารถนั่งนิ่งได้ เพราะคิดว่าเงินเดือนของครู เพียงสามถึงสี่พันหยวนต่อเดือน จะซื้อเสื้อผ้าราคาแพงขนาดนี้ได้อย่างไร? และคิดว่าครูอาจรับของขวัญจากผู้ปกครองคนอื่นๆ ผ่านทางการจัดชั้นเรียนพิเศษส่วนตัว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีหลักฐาน จึงตัดสินใจทำในสิ่งที่ทำได้ คือรายงานเรื่องดังกล่าวต่อครูใหญ่
หลังจากได้รับรายงานแล้ว ครูใหญ่ก็ดำเนินการซักถามครูผู้หญิงคนดังกล่าวอย่างละเอียด ซึ่งสิ่งที่เธออธิบายก็ทำให้ผู้ปกครองรู้สึกละอายใจ ปรากฎว่าเธอเป็นลูกคนเดียวในครอบครัวที่ร่ำรวย นอกจากเงินเดือนของตัวเองแล้ว ยังมีเงินทุนที่ได้รับจากครอบครัวด้วย ส่วนเสื้อคลุมที่เป็นประเด็นนี้ เธออาศัยเงินที่เก็บมาหลายปี และการสนับสนุนจากสามีของเธอในการตัดสินใจซื้อ
เธอบอกด้วยว่า แม้เงินเดือนของเธอจะไม่สูง และเสื้อโค้ทตัวนี้ก็มีแพง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเธอไม่มีเงินจ่าย และไม่ได้หมายความว่าเธอไม่มีคุณสมบัติที่จะสวมใส่มัน เธอเชื่อว่าการทำงานหนักของเธอเป็นประโยชน์แก่นักเรียนทุกคน ดังนั้น การสวมเสื้อผ้าราคา 28,000 หยวนมีความผิดอะไร?
ครูผู้หญิงยังย้ำอีกว่า เธอไม่ได้จัดชั้นเรียนพิเศษใดๆ ที่เป็นการละเมิดกฎเกณฑ์ และไม่เคยรับของขวัญใดๆ จากเหล่าผู้ปกครองเลย เธอทำงานอย่างขยันขันแข็งและเอาใจใส่เด็กๆ เสมอ แต่ตอนนี้เธอกลับถูกสอบสวน เพราะผู้ปกครองต้องการแจ้งเรื่องในทางร้าย โดยไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงด้วยซ้ำ
หลังจากการของคุณครูอธิบาย ผู้ปกครองก็รู้สึกละอายและเข้าใจว่าเขาทำผิดกับคุณครู จึงได้รีบขอโทษทันที อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวได้ทำให้เกิดความขัดแย้งในโลกออนไลน์ไปแล้ว
โดยความคิดเห็นบนอินเทอร์เน็ตแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าการใช้จ่าย 28,000 หยวนเพื่อซื้อเสื้อผ้านั้นฟุ่มเฟือยและสิ้นเปลืองเกินไป ครูควรสร้างภาพลักษณ์ที่มั่นคงและประหยัด เพราะการกระทำเช่นนี้กระตุ้นให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างนักเรียน
บางคนถึงกับเชื่อว่า การที่ครูสวมเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์นั้น จะเป็นการปลูกฝังให้เด็กๆ มีความคิดที่ว่ามนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการที่ไร้สาระของตนเอง ด้วยการทำร้ายสัตว์อื่นๆ ได้
ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า การแต่งตัวเป็นเสรีภาพของบุคคล ครูก็ไม่มีข้อยกเว้น ตราบใดที่พวกเขาแต่งกายอย่างเหมาะสม ไม่ละเมิดหลักการและบรรทัดฐาน และไม่ใช้เงินของผู้อื่น เมื่อมองย้อนกลับไปในเหตุการณ์นี้จะพบว่า ถ้าไม่ใช่เพราะผู้ปกครองรายงาน คนส่วนใหญ่ก็คงไม่มุ่งความสนใจไปที่ “ความสูงส่ง” ของเสื้อผ้าชิ้นหนึ่ง สะท้อนถึงความวิตกกังวลของผู้ปกครองในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี สถานะทางเศรษฐกิจของแต่ละครอบครัวย่อมต่างกัน ผู้ปกครองบางคนใส่แบรนด์ดัง และขับรถหรูไปรับส่งลูก ในขณะที่บางคนใส่ได้แต่ยี่ห้อเบ็ดเตล็ดและขี่จักรยานไฟฟ้า ดังนั้น ถ้าเสื้อผ้าของครูทำให้เกิดการเปรียบเทียบกันในหมู่นักเรียนได้จริง แล้วมาตรฐานชีวิตของพ่อแม่ที่แตกต่างกัน จะไม่นำไปสู่การเปรียบเทียบในหมู่นักเรียนมากกว่านั้นอีกหรือ?
ผ่านเหตุการณ์นี้ ชาวเน็ตยังตำหนิผู้ปกครองว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องของความประมาท แต่เป็นการกล่าวหาที่ผิดๆ ตามจินตนาการส่วนตัว โดยไม่มีหลักฐาน” ในฐานะผู้ปกครองหากต้องการให้ลูกมีทัศนคติที่ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการเกิดความไร้สาระและการเปรียบเทียบ ก็ควรให้ความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้องแก่เด็กๆ มากขึ้น