ไม่ว่าจะประหยัดแค่ไหน ก็ไม่ควรเก็บ 5 สิ่งนี้ไว้ในครัว นอกจากจะทำอาหารเสียรสชาติแล้ว ราคาที่ต้องจ่ายอาจเป็นมะเร็งที่มาเยือนทั้งครอบครัว
จริง ๆ แล้ว ห้องครัวเป็นสถานที่ที่อันตรายกว่าที่เราคิด ไม่ใช่แค่มีของมีคมและความเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้เท่านั้น แต่ยังมีสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งซ่อนอยู่มากมาย ดังนั้นไม่ว่าคุณจะประหยัดแค่ไหน ก็ไม่ควรเก็บ 5 สิ่งนี้ไว้ในครัว นอกจากจะทำให้รสชาติอาหารเสียแล้ว ยังอาจทำให้ตัวคุณและครอบครัวเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคมะเร็งอีกด้วย
- สมาชิกในครอบครัวล้วนป่วยมะเร็ง หมอสืบจนรู้ ที่แท้ต้นตอจากของใช้ที่มีทุกครัว
- มะเร็งตับคร่าชีวิตผัวเมียวัยแค่ 34 หมอสืบจนรู้ ต้นตอจากอุปกรณ์ทำครัวที่มีทุกบ้าน
1. เขียงที่มีรอยขีดข่วนหรือมีเชื้อราขึ้น
ดร.ยาน จงไห่ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต และผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันพิษคลินิกหลินโข่วชางกง ในไต้หวัน แนะนำให้ทิ้งเขียงที่มีรอยขีดข่วนหรือมีเชื้อราโดยเร็ว โดยเฉพาะเขียงที่ทำจากไม้
เขาอธิบายว่า ไม่ว่าจะเป็นเขียงชนิดใด หากมีรอยขีดข่วนมากก็จะทำให้ประสิทธิภาพลดลง และทำความสะอาดได้ยาก เนื่องจากมีร่องที่เศษอาหารและน้ำสามารถติดค้างได้ ทำให้เขียงและอาหารที่ติดอยู่เกิดเชื้อราและเสื่อมสภาพได้ง่าย
เมื่อใช้เขียงที่มีรอยขีดข่วนในการปรุงอาหารจะส่งผลต่อรสชาติ อาจมีเชื้อราและสารพิษติดไปกับอาหารและเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะเขียงไม้ที่นอกจากจะเกิดแบคทีเรียได้ง่ายแล้ว ยังสามารถเกิดเชื้อราที่มีสารอะฟลาทอกซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้อีกด้วย
- เฉลยแล้ว รูใหญ่ข้าง “เขียง” มีไว้ทำไม มีประโยชน์มากกว่าที่คิด ไม่ใช่แค่ไว้แขวน
2. หม้อและกระทะเคลือบกันติดที่มีรอยขีดข่วนหรือเคลือบลอกออก
ในปัจจุบันหม้อและกระทะเคลือบกันติดเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ถ้าเกิดรอยขีดข่วนหรือเคลือบลอก แม้เพียงเล็กน้อยก็ควรทิ้งทันที
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลและมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่า แค่รอยขีดข่วนเล็ก ๆ บนกระทะเคลือบกันติด สามารถปล่อยอนุภาคพลาสติกออกมาประมาณ 9,100 ชิ้น ในระหว่างการทำอาหาร
และถ้าเคลือบกันติดเสียหาย แม้จะขนาดไม่กี่มิลลิเมตร ก็สามารถปล่อยอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กกว่า 2.3 ล้านชิ้น รวมถึงไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก ซึ่งอาจเข้าสู่อาหารได้
ด้านในของเครื่องครัวที่เคลือบกันติด จะเคลือบด้วยสารประกอบโพลิเมอร์ที่เรียกว่าโพลีเตตราฟลูออโรเอทิลีน (PTFE)
การสัมผัสกับสารนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ลดอัตราการเจริญพันธุ์ และก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการในเด็กทารกและเด็กเล็ก เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และภูมิคุ้มกันที่ลดลง
นอกจากนี้ การเคลือบกันติดยังสามารถปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายออกสู่อากาศเมื่อปรุงอาหารที่อุณหภูมิสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส
3. กล่องพลาสติกที่ใช้มานานจนเปลี่ยนสี
เมื่อเวลาผ่านไป กล่องพลาสติกสามารถปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น บิสฟีนอล เอ (BPA) ซึ่งสามารถซึมเข้าสู่อาหารที่บรรจุอยู่ได้
การบริโภคสารเคมีเหล่านี้เป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะกล่องพลาสติกที่มีแหล่งที่มาไม่แน่นอนและคุณภาพต่ำ
แม้แต่กล่องพลาสติกที่มีคุณภาพดีก็ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะหากคุณใช้บรรจุอาหารร้อนหรือใช้ในไมโครเวฟและเตาอบที่ใช้ความร้อนบ่อย ๆ
นอกจากการปล่อยสารพิษที่ซึมเข้าสู่อาหารแล้ว กล่องพลาสติกยังอาจเกิดการบิดเบี้ยวหรือเสียหายได้ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการเก็บรักษาอาหารลดลงและเอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ทางที่ดีควรเปลี่ยนกล่องพลาสติกบ่อย ๆ ทันทีที่มีสัญญาณผิดปกติเมื่อเทียบกับตอนซื้อใหม่ เช่น มีกลิ่นแปลก หรือหลังการใช้งาน 1-2 ปี แม้ว่ากล่องจะยังไม่เสียหายก็ตาม
4. ตะเกียบไม้ไผ่และตะเกียบไม้ที่มีเชื้อรา
เช่นเดียวกับเขียง หลายคนที่ต้องการประหยัดหรือไม่ได้ใส่ใจอาจเลือกที่จะล้าง ทำความสะอาด ต้มหรือนึ่งตะเกียบที่มีเชื้อราเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
แต่การวิจัยของศาสตราจารย์หลี่ เจิ้งต๋า จากคณะสาธารณสุขและโภชนาการ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฟู่หยิง ไต้หวัน ระบุว่า วิธีนี้ไม่สามารถกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียได้หมด โดยเฉพาะสารพิษอะฟลาทอกซินที่ก่อให้เกิดมะเร็งและโรคร้ายอื่น ๆ เนื่องจากสารนี้ทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก
ควรเปลี่ยนตะเกียบทุก 3-6 เดือน หรือทันทีที่มีรอยขีดข่วนมาก มีรอยแตก หรือมีเชื้อรา
เมื่อทำความสะอาดตะเกียบ ควรใช้ฟองน้ำหรือแผ่นทำความสะอาดแบบเฉพาะสำหรับล้างทีละอันให้สะอาด แทนที่จะวางตะเกียบไว้ในฝ่ามือแล้วกลิ้งไปมา เพราะวิธีนั้นไม่เพียงพอที่จะทำความสะอาดได้หมดจด โดยเฉพาะเมื่อคุณล้างตะเกียบหลายคู่พร้อมกัน
- สายกินควรรู้ หมอมาเฉลยเอง “ตะเกียบ” แบบใด? สะอาดและมีแบคทีเรียน้อยที่สุด
5. ผ้าเช็ดและฟองน้ำล้างจานที่ใช้มานาน
ในหลายครัวเรือน ผ้าเช็ดหรือฟองน้ำล้างจานมักจะถูกใช้เป็นเวลานานโดยไม่ถูกเปลี่ยนจนกว่าจะเสียหาย แต่เนื่องจากต้องสัมผัสกับน้ำและเศษอาหารอยู่บ่อยครั้ง ฟองน้ำล้างจานจึงง่ายต่อการสะสมของแบคทีเรีย
โดยเฉพาะวัสดุอย่างฟองน้ำหรือใยบวบที่มีโครงสร้างกักเก็บน้ำได้ดี แถมยังเก็บคราบน้ำมันและเศษอาหารไว้ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย
ศาสตราจารย์หลี่ เจิ้งต๋า ระบุว่า ฟองน้ำเหล่านี้อาจมีแบคทีเรียมากกว่า 300 ชนิดเลยทีเดียว
เช่นเดียวกัน ผ้าเช็ดในครัวก็มีแนวโน้มที่จะเกิดเชื้อราและแบคทีเรียหากใช้เป็นเวลานานและไม่ล้างบ่อย ๆ
นอกจากนี้ ยังอาจเปื่อยและปล่อยเส้นใยผ้าไปติดบนจานชาม ทำให้เรากินเส้นใยเหล่านั้นเข้าไปหากใช้ผ้าเช็ดจาน
ดังนั้นควรเปลี่ยนฟองน้ำล้างจานทุกเดือน และล้างผ้าเช็ดบ่อย ๆ ผึ่งแดดให้แห้ง และเปลี่ยนทุก 2-3 เดือน หรือทันทีที่มีสัญญาณผิดปกติ
- บริษัทดังมาบอกเอง ฟองน้ำด้านสีเหลือง ไม่ได้มีไว้ล้างจาน เผยวัตถุประสงค์ที่แท้จริง