ประวัติ “พระเจ้าท้ายสระ” โอรสพระเจ้าเสือ อีกหนึ่งตัวละครลับที่สำคัญใน ‘พรหมลิขิต’

Home » ประวัติ “พระเจ้าท้ายสระ” โอรสพระเจ้าเสือ อีกหนึ่งตัวละครลับที่สำคัญใน ‘พรหมลิขิต’

พระเจ้าท้ายสระ-min

ทำความรู้จัก ประวัติ พระเจ้าท้ายสระ หรือ เจ้าฟ้าเพชร อีกหนึ่งตัวละครสำคัญที่มีอยู่จริงในยุคกรุงศรีอยุธายา ก่อนจะถูกหยิบมาถ่ายทอดในละครเรื่อง ‘พรหมลิขิต’

เป็นการกลับมาที่สมการรอคอยอย่างยิ่งสำหรับละครเรื่อง พรหมลิขิต ภาคต่อของละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ละครไทยที่หยิบยกเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาเผยแพร่ให้คนไทยได้รู้ซึ้งถึงเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

และอีกหนึ่งตัวละครลับที่มีความสำคัญในละครเรื่องพรหมลิขิต นั่นก็คือ เจ้าฟ้าเพชร หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ (พระเจ้าท้ายสระ) หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ พระเจ้าภูมินทราชา หรือ พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์ พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2251-2275 ซึ่งผู้ที่ได้มารับบทอันทรงเกียรตินี้ คือ พระเอกหนุ่มมากความสามารถอย่าง เกรท วรินทร ปัญหกาญจน์ นั่นเอง

หลายๆ คนคงจะยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว พระเจ้าท้ายสระ คือใคร? เป็นลูกของใคร? และข้อสงสัยอีกมากมาย โดยในวันนี้ทีมข่าว ไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) จะขอใช้โอกาสนี้ในการ เปิดประวัติ พระเจ้าท้ายสระ เพื่อให้แฟนละครทุกท่านได้รู้จัก และทราบข้อมูลเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นก่อนจะได้ไปรับชมฉากเปิดตัว พระเจ้าท้ายสระ ในละครเรื่องพรหมลิขิต

พระเจ้าท้ายสระ-1-min

ประวัติ ‘พระเจ้าท้ายสระ’

สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ หรือ พระเจ้าท้ายสระ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเพชร เสด็จพระราชสมภพเมื่อปีมะแม จุลศักราช 1040 (พ.ศ. 2221) ในรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้าท้ายสระ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) กับพระอัครมเหสีพระนามว่าสมเด็จพระพันวษา

พระเจ้าท้ายสระ มีพระอนุชา (น้องชาย) และพระกนิษฐา (น้องสาว) ร่วมพระมารดา 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าพร และเจ้าฟ้าหญิง (ไม่ทราบพระนาม)

พระเจ้าท้ายสระ ประสูติตั้งแต่พระราชบิดา (พระเจ้าเสือ) ยังเป็นขุนนางในตำแหน่งออกหลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ หลังจากพระอัยกา (พระเพทราชา) ทรงครองราชย์ และแต่งตั้งพระเจ้าเสือให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ทำให้ เจ้าฟ้าเพชร หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ และออกพระนามว่า สุรินทกุมาร

เมื่อ พระเจ้าเสือ เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2251 จึงขึ้นครองราชย์ เฉลิมพระนามว่าพระเจ้าภูมินทราชา แต่จารึกชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์ออกพระนามว่า พระบาทพระศรีสรรเพชญสมเด็จเอกาทศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว แต่ประชาชนมักออกพระนามว่าพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่งที่มาของพระนามนี้มาจากนามของพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระราชวัง นั่นเอง

พระอุปนิสัย ของ ‘พระเจ้าท้ายสระ’

เรื่องราวนี้ปรากฏอยู่ใน พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม ซึ่งได้มีกล่าวถึงพระอุปนิสัยของ พระเจ้าท้ายสระ ความว่า

“ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประพฤติเหตุในอโนดัปปธรรม แล้วเสด็จเที่ยวประพาสทรงเบ็ดเหมือนสมเด็จพระราชบิดา แล้วพระองค์พอพระทัยเสวยปลาตะเพียน ครั้งนั้นตั้งพระราชกำหนดห้ามมิให้คนทั้งปวงรับพระราชทานปลาตะเพียนเป็นอันขาด ถ้าผู้ใดเอาปลาตะเพียนมาบริโภค ก็ให้มีสินไหมแก่ผู้นั้นเป็นเงินตรา ๕ ตำลึง”

นอกจากนั้นแล้วยังปรากฎข้อเท็จจริงในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม ที่ว่า พระเจ้าท้ายสระ ทรงมีพระอุปนิสัยคล้ายคลึงกับพระราชบิดา นั่นก็คือการที่พระองค์นั้นมีความชื่นชอบในการล่าสัตว์ เหมือนพระเจ้าเสือ ความว่า

“สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนั้นพอพระทัยทําปาณาติบาต ฆ่ามัจฉาชาติปลาน้อยใหญ่ต่าง ๆ เป็นอันมาก ด้วยตกเบ็ดทอดแหแทงฉมวก ทำลี่กันเฝือก* ดักลอบ ดักไซ กระทำการต่าง ๆ ฆ่าสัตว์ต่าง ๆ ประพาสป่าฆ่าเนื้อนกเล่นสนุกด้วยดักแร้ว ดักบ่วง ไล่ช้าง ล้อมช้าง ได้ช้างเถื่อนเป็นอันมาก เป็นหลายวัน แล้วกลับคืนมายังพระนคร”

ที่มา : wikipedia

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ