วันนี้ (17 ก.ค. 66) ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา กล่าวชี้แจง กระแสข่าว กรณีการลาประชุมของสมาชิกวุฒิสภาระหว่างการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 13 ก.ค. 66 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนการประชุมวุฒิสภาว่า ขอชี้แจงใน 3 ประเด็น การลาประชุมของสมาชิกวุฒิสภา ตามรายงานการลาประชุม ซึ่งมีเหตุแก่การลา 3 ประเภท คือ
การไปราชการต่างประเทศของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งในเรื่องนี้ตนในฐานะประธานรัฐสภาขนาดนั้นได้มอบหมายให้สมาชิกวุฒิสภา 2 คนเดินทางเข้าร่วมประชุม ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการ AIPA
ส่วน การลากิจของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น ผู้นำเหล่าทัพ จำนวน 6 คน เนื่องจากติดราชการสำคัญประกอบกับการประชุมให้ความเห็นชอบเลือกนายกรัฐมนตรีที่มีเพียงวาระเดียว และผู้นำเหล่าทัพได้พิจารณาแล้วแจ้งว่ายังอยู่ในราชการจึงไม่ประสงค์เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ส่วน การลากิจของสมาชิกวุฒิสภาคนอื่นๆ มีจำนวน 9 คน ส่วนใหญ่เป็นภารกิจที่ไม่ทราบวันประชุมมาก่อน และยังอยู่ต่างประเทศ เนื่องจากมีภารกิจ ที่นัดหมายไว้ล่วงหน้าแล้ว การลาป่วย มีสมาชิกแจ้งลาป่วยจำนวน 16 คน ดังนั้นการลาของ สมาชิกวุฒิสภาจึงรวมกันทั้งสิ้น 33 คน
- สว.เสรี ยัน! ยื่นฟ้อง ทนายเดชา ทนายอั๋น เรื่องถึงเจ้าหน้าที่แล้ว วันนี้
- เรืองไกร ร้อง ปธ.รัฐสภา สอบ ‘พิธา’ เป็นบุคคลต้องห้าม รมต.
- ภูมิธรรม ถาม ‘ก้าวไกล’ จะแก้ ม.272 เพื่ออะไร ทั้งๆที่รู้ว่าจะไม่สำเร็จ
กรณีการลงมติ ซึ่งมีสมาชิกวุฒิสภาไม่ลงมติจำนวน 43 คน เป็นสมาชิกที่แจ้งลา 33 คน จึงแสดงว่ามีสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม แต่ไม่ลงมติจำนวน 10 คน
สำหรับการที่มีบุคคลเข้าคุกคาม และละเมิดความเป็นส่วนตัวของสมาชิกวุฒิสภา และครอบครัว อาทิ การเข้าตรวจสอบสถานที่อยู่อาศัย สถานที่ประกอบธุรกิจของบุคคล การใช้ถ้อยคำด่าทอไปยังบุคคลนั้นนั้น รวมถึงการข่มขู่ให้เกิดความกลัว ตนในฐานะประธานวุฒิสภา เห็นว่ามีหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลสมาชิกวุฒิสภาทุกคนให้ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งตัวของสมาชิกและครอบครัว
จึงได้ขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการช่วยดูแลสมาชิก ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงหวังว่าประชาชนที่กระทำการลักษณะคุกคามโจมตีแทรกแซงบุคคลอื่น จะหยุดการกระทำนั้นลง เพราะ มีความเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญา
ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร ยังกล่าวถึง กรณีพรรคก้าวไกลยื่นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ว่า สมาชิกวุฒิสภายังไม่สมควรแสดงความคิดเห็นโต้ตอบ กับการดำเนินการเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเมื่อเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมรัฐสภาแล้ว สมาชิกจึงจะมีหน้าที่ในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ไม่ควรโต้แย้งหรือโต้ตอบต่อผู้ที่อยู่ในสภาวะไม่พอใจเหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อให้การแก้ไขกฎหมายเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการ
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY