วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา สมาชิกรัฐสภาตุรกีได้อนุมัติกฎหมายเพื่อกำจัดสุนัขจรจัดนับล้านตัว ทำให้ผู้รักสัตว์เกิดข้อกังวลว่าสุนัขหลายตัวจะถูกฆ่า หรือถูกส่งไปอยู่ในสถานสงเคราะห์สัตว์ที่แออัด และไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
ซึ่งภายในประเทศตุรกีมีสุนัขจรจัดประมาณ 4 ล้านตัว ทั้งบนถนน และในพื้นที่ชนบท แม้ว่าหลายตัวจะไม่เป็นอันตรายอะไร แต่สุนัขเหล่านี้ก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีที่รวมตัวกันเป็นฝูงเพื่อเข้าทำร้ายคน ทางกฎหมายใหม่จึงจะกำหนดให้เทศบาลจะต้องจับสุนัขจรจัดไปไว้ที่สถานสงเคราะห์ เพื่อฉีดวัคซีนและทำหมันก่อนหาเจ้าของใหม่ แต่สำหรับสุนัขที่ป่วยระยะสุดท้าย หรือเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของมนุษย์ได้ ก็จะถูกทำการุณยฆาต โดยสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้าน กลุ่มสวัสดิภาพสัตว์ และกลุ่มอื่นๆ เรียกร่างกฎหมายนี้ว่า ‘กฎหมายสังหารหมู่’ และนอกจากนี้ยังมีผู้คนหลายพันคนจัดการประท้วงทั่วตุรกีเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิก
ผู้คนหลายร้อยคนไปรวมตัวกันที่จัตุรัสในอิสตันบูลและส่งสารไปยังรัฐบาลว่า “กฎหมายการสังหารหมู่ของคุณเป็นแค่กระดาษแผ่นหนึ่งสำหรับเรา” พร้อมกล่าวกับฝูงชน “เราจะเขียนกฎหมายนี้ลงบนพื้นถนน สิ่งที่จะชนะคือชีวิตและความสามัคคี มิใช่ความเกลียดชังและความเป็นศัตรู” ซึ่งหมายถึงการมองว่าประชาชนคือผู้กำหนดกฎเกณฑ์ที่แท้จริง หาใช่รัฐบาล และพวกเขาต้องการส่งเสียงนี้ไปให้ถึงผู้มีอำนาจ
- ดินถล่มในอินเดีย คร่าไปแล้ว 166 ชีวิต ชาวบ้านสูญหายอีกนับร้อย
- สะเทือนใจ! ปอป้อ นั่งร้องไห้ข้างสนาม หลังแพ้แบตคู่ผสม โอลิมปิก 2024
- “หวัง ชูฉิน” มือวางอันดับ 1 ของโลก ตกรอบ โอลิมปิก 2024 หลังไม้คู่ใจหัก!
ทางคนรักสัตว์ได้มีการออกมาประท้วง โดยมีการเตือนทางรัฐบาลว่า “เราขอเตือนรัฐบาลอีกครั้ง หยุดใช้กฎหมายนี้ อย่าก่ออาชญากรรมต่อประเทศนี้” และทางพรรคฝ่ายค้านหลักของตุรกี ก็พยายามที่จะยกเลิกกฎหมายนี้ โดยตั้งคำถามสำคัญถึงเจตนาของกฎหมาย ว่าเพราะเหตุใดร่างกฎหมายจึงต้องกำหนดให้มีการรวบรวมสัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่ก้าวร้าวด้วย ถ้าไม่ได้ตั้งใจจะฆ่าพวกมัน
ด้านประชาชนได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ต้นตอของการเพิ่มขึ้นของประชากรสุนัขจรจัด ก็เกิดมาจากความล้มเหลวในการบังคับใช้กฎระเบียบต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ ที่กำหนดให้ว่าสุนัขจรจัดทุกตัวต้องถูกจับไปทำหมันก่อน แล้วจึงส่งคืนไปยังพื้นที่อยู่อาศัยของพวกมันเพื่อไม่ให้เกิดจำนวนสุนัขจรจัดเพิ่มขึ้นมาอีก
ในเมื่อปัญหาจากสุนัขจรจัดที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่สวัสดิภาพสัตว์ก็เป็นสิ่งสำคัญ จึงน่าติดตามต่อไปว่าการบังคับใช้กฎหมายนี้ในตุรกีจะเป็นอย่างไรต่อไป และสำหรับประเทศไทยเองที่ก็เผชิญปัญหาสัตว์จรจัด จะมีแนวทางใดการแก้ไขจัดการอย่างไรในเร็วๆ นี้บ้างหรือเปล่า