การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุ ในการเสียชีวิตที่ป้องกันได้ก่อนวัยอันควร หรือที่เราเรียกันว่า “สูบความตายผ่อนส่ง” ในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ครึ่งหนึ่งของประชากรชายสูบบุหรี่ ซึ่งมีจำนวนรวมกันกว่า 125 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั่วโลก อีกทั้งในแต่ละปี และการสูบบุหรี่ ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในภูมิภาคนี้กว่าหนึ่งแสนคนต่อปีด้วยกัน เมื่อมีกระแสต่อต้านบุหรี่มวนเกิดขึ้น บริษัทบุหรี่หลายรายจึงหันมาผลิต บุหรี่ไฟฟ้า โดยให้เหตุผลว่า “บุหรี่ไฟฟ้ามีพิษภัยน้อยกว่าบุหรี่มวน” ส่งเสริมให้มีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทดแทนบุหรี่มวน โดยชวนเชื่อว่า ผู้ติดบุหรี่สามารถใช้บุหรี่ไฟฟ้า ในการอดบุหรี่ได้ ข้อความดังกล่าวเป็นจริงมากน้อยเพียงใด และอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้ามีมากแค่ไหน?
- เปิดผลสำรวจ คนไทย กว่า 1.06 ล้านคน มีความผิดปกติทางอารมณ์
- ผู้ป่วยจิตเวชทำผิด มีกระบวนการทางกฏหมายอย่างไร?
- “เห็ดพิษ” อันตรายถึงชีวิต “ไม่รู้จัก ไม่แน่ใจ ไม่เก็บ ไม่กิน”
ความหลากหลาย ของ “บุหรี่ไฟฟ้า” ในปัจจุบัน
- บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสูบบุหรี่ ผ่านการสร้างความร้อนไอน้ำด้วยแบตเตอรี่ จากกาศึกษาวิจัยในปัจจุบัน พบว่าบุหรี่ไฟฟ้าในท้องตลาด มีมากกว่า 550,000 รูปแบบ และมี 16,000 รสชาติ ทั้งรูปแบบกลิ่นและรสชาติ โดยมีการพัฒนาและปรับปรุง เพื่อให้ถูกใจกลุ่มเด็กและวัยรุ่น โดยบริษัทบุหรี่ มักพุ่งเป้าขายบุหรี่ไฟฟ้าให้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญและจะเป็นลูกค้าในระยะยาว
- ผลการสำรวจพฤติกรรมสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย 61,688 คน ปี พ.ศ. 2566 ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบเยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 9.1 และส่วนใหญ่ถูกเพื่อนชักชวนให้สูบร้อยละ 92.2 สิ่งที่น่ากังวลไปกว่านั้นมาก คือ เด็กที่สูบบุหรี่มีอายุน้อยลง เพราะเด็กเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อยู่ชั้นประถม
- บุหรี่ไฟฟ้ามีสาร “นิโคติน” ซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีพิษภัยไม่น้อยกว่าบุหรี่มวน เป็นสารที่มีความเสพติดสูง ที่มีฤทธิ์เสพติดเทียบเท่า เฮโรอีน เมื่อได้รับสารดังกล่าว จะส่งผลต่อระบบประสาท กระตุ้นสมองและหัวใจ ทำให้เส้นเลือดหด ความดันเลือดสูงขึ้น และเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในระบบทางเดินหายใจได้
บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน คำตอบคือ ไม่จริง!
- นอกจากบุหรี่ไฟฟ้า จะประกอบไปด้วยสารเสพติดนิโคตินแล้ว บุหรี่ไฟฟ้ายังประกอบไปด้วยสารอื่น ที่มีผลต่อสุขภาพได้มากมาย สารในบุหรี่ไฟฟ้า ที่สร้างความอันตรายให้กับร่างกาย เช่น ไดอาซีทิล (Diacetyl), อัลดีไฮด์ (Aldehyde), โลหะหนัก ตะกั่ว นิกเกิล ดีบุก และอื่นๆ มากกว่าพันชนิด เป็นสารพิษที่เกี่ยวข้องกับภาวะโรคปอดและหัวใจอักเสบรุนแรง จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยเรียกว่าภาวะนี้ว่า E-cigarette or vaping use-associated lung injury (EVALI)
- นอกจากนี้ จากข้อมูลวิจัยจากหลายสถาบันหลายชาติ พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่สามารถทำให้ผู้สูบบุหรี่มวน เลิกบุหรี่ได้ และผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่มวนส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้สูบทั้งบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า และยังมีโอกาสที่จะสารเสพติดชนิดอื่นต่อไปได้อีกด้วย ทั้งผู้สูบและผู้ใกล้ชิด..!!
- ในปัจจุบัน แม้บุหรี่จะเป็นสารเสพติดที่ถูกกฎหมาย แต่บุหรี่ ก็มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูบและผู้ใกล้ชิด ทำให้เกิดเป็นโรค ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล และความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งไม่ต่างกับ “บุหรี่ไฟฟ้า” ที่มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมปอดโป่งพอง ต้องได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการหอบเหนื่อย เป็นเวลานานนับ 10 ปีก่อนจะสิ้นชีวิต ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดต้นต้องกลายเป็นอัมพาตตลอดชีวิต และผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดต้องใช้เงินทองที่สะสมมาตลอดชีวิตในการรักษาพยาบาล
แม้บุหรี่จะมีพิษภัยมหาศาล แต่สังคมโลก ยังเปิดโอกาลให้ผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้สูบ สามารถสูบบุหรี่ได้ ภายใต้ขอบเขตกฎเกณฑ์ของกฎหมายและสังคม การที่บริษัทผู้ผลิตและผู้ขายบุหรี่พยายามใช้กลยุทธ์ทางการค้า และกดดันให้ภาครัฐประเทศต่างๆ แก้ไขกฎหมาย เพื่อเปิดช่องทางให้สามารถค้าขายได้เพิ่มขึ้น การขยายกลุ่มผู้สูบไปยังเด็ก เยาวชน และผู้หญิง เพื่อให้ได้ผู้สูบกลุ่มใหม่ที่จะเป็นทาสบุหรี่ต่อไปในระยะยาว เป็นสิ่งที่พึงกระทำหรือไม่ในด้านจริยธรรม?
กฎหมายและการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
- ห้ามขาย / นำเสนอเพื่อขาย / ห้ามให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า กรณีผู้ประกอบธุรกิจ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 9/2558)
- ห้ามสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานที่สาธารณะ : ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560)
- หมากฝรั่งเลิกบุหรี่ ได้รับการรับรองให้ใช้รักษาเพื่อเลิกบุหรี่
บุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลเสียอย่างไรต่อระบบร่างกาย
มีสารปรุงแต่งกลิ่น รส หลอกล่อเด็กได้ง่าย ส่งผลเสียต่อสุขภาพเท่าบุหรี่ 20 มวน
- ระบบการหายใจ – ไอ เหนื่อยง่าย หลอดลมอักเสบ มะเร็ง
- ระบบหลอดเลือด – จังหวะการเต้นหัวใจผิดปกติ
- ระบบประสาท – เซลล์สมองถูกทำลาย
- ระบบทางเดินอาหาร – เกิดแผลในกระเพาะ คลื่นไส้
ผู้ใหญ่ควรหมั่นสอดส่องดูแล ให้บ้าน-สถานศึกษา เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
ดังนั้น หากใครที่คิดจะลอง หรือกำลังสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพราะ คิดว่าสามารถทดแทนการสูบบุหรี่ธรรมดาได้นั้น ขอให้คิดใหม่นะครับ การสูบ “บุหรี่ไฟฟ้า”ก็ไม่ได้ตายช้า กว่า บุหรี่มวน อย่างแท้จริง วัยรุ่นยุคใหม่ เท่ได้ โดยไม่ต้องพึ่งบุหรี่
ที่มา สภาเภสัชกรรม : The Pharmacy Council , สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth