นักวิจัยชิลีตะลึง – วันที่ 2 ธ.ค. เอเอฟพี รายงานว่า เมื่อวันพุธที่ 1 ธ.ค. นักบรรพชีวินวิทยาชิลีนำเสนอการค้นพบเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบเมื่อ 3 ปีก่อนในแพนตาโกเนีย ซึ่งระบุว่ามีหางสูงผิดปกติ จนนักวิจัยงุนงงไปตามๆ กัน
ฟอสซิลของสเตกอรัส เอเลงกัสเซน (Stegouros elengassen) ถูกค้นพบระหว่างการขุดค้นในปี 2561 ที่เซร์โร กวยโด เขตที่รู้จักว่ามีฟอสซิลมากมาย โดยทีมนักวิจัยที่เชื่อว่าตัวเองกำลังทำงานเกี่ยวกับไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่รู้จักอยู่แล้ว กระทั่งตรวจสอบหางของมัน
อเล็กซานเดอร์ วาร์กัส หนึ่งในนักบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า เป็นความประหลาดใจหลักๆ โครงสร้างนี้น่าทึ่งมากๆ “หางปกคลุมไปด้วยออสทีโอเดิร์ม (osteoderms) 7 คู่ จึงเป็นอาวุธที่แตกต่างจากสิ่งที่เรารู้จักในไดโนเสาร์อย่างสิ้นเชิง” นักวิจัยเสริมระหว่างการนำเสนอการค้นพบที่มหาวิทยาลัยชิลี”
ออสทีโอเดิร์ม โครงสร้างของแผ่นกระดูกที่อยู่ในชั้นผิวหนังของผิวหนัง ถูกจัดเรียงที่หางทั้งสองข้าง จึงมีลักษณะคล้ายเฟิร์นขนาดใหญ่
นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบโครงกระดูกของไดโนเสาร์ตัวนี้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และประมาณว่ามีชีวิตในราว 71-74.9 ล้านปีก่อน ยาวราว 2 เมตร หนัก 150 กิโลกรัม และเป็นสัตว์กินพืช
ตามข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์งานวิจัยในนิตยสารเนเจอร์ ไดโนเสาร์ตัวนี้อาจตัวแทนของสายเลือดไดโนเสาร์หุ้มเกราะที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในซีกโลกใต้ แต่มีการระบุแล้วว่าอยู่ในทางเหนือของทวีป
“เราไม่รู้ว่าทำไมหางไดโนเสาร์มีวิวัฒนาการ เรารู้ว่าภายในกลุ่มไดโนเสาร์ดูจะมีแนวโน้มที่จะพัฒนากลไกการป้องกันตามกระดูกเชิงกรานที่แตกต่างกันอย่างอิสระ” เซอร์จิโอ โซโต สมาชิกอีกคนหนึ่งของทีมนักบรรพชีวินวิทยา กล่าว
เขตเซร์โร กีโด ทอดยาว 15 กิโลเมตร อยู่ในหุบเขาลัส ชีนัส ห่างจากซานตีอาโก เมืองหลวง ไปทางใต้ราว 3,000 กิโลเมตร โดยโขดหินต่างๆ มีซากดึกดำบรรพ์จำนวนมาก
การค้นพบดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคาดเดาได้ว่า ทวีปอเมริกาและทวีปแอนตาร์กติกาในปัจจุบันอยู่ใกล้กันเมื่อหลายล้านปีก่อน
“มีหลักฐานชัดเจนว่ามีความเชื่อมโยงทางชีวภูมิศาสตร์กับส่วนอื่นๆ ของโลก ในกรณีนี้คือทวีปแอนตาร์กติกาและทวีปออสเตรเลีย เพราะเรามีไดโนเสาร์หุ้มเกราะ 2 ตัวที่นั่นที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด” กับ สเตกอรัส” โซโตกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ไดโนเสาร์ : พบ สายพันธุ์ “ฟันฉลาม” ขนาดยักษ์ชนิดใหม่ในอุซเบกิสถาน