นครเจนไนของอินเดียเป็นอัมพาต – วันที่ 8 พ.ย. บีบีซี รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติในอินเดียว่า ฝนตกหนักและพายุฝนฟ้าคะนองทำให้น้ำท่วมรุนแรงในนครเจนไน เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู ทางใต้ของอินเดีย. แม้จะยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต แต่เจ้าหน้าที่ในรัฐทมิฬนาฑู ออกประกาศเตือนเพื่ออพยพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม.
สื่อท้องถิ่นแพร่ภาพต้นไม้โค่นล้มและรถยนต์จมใต้น้ำ เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและปิดกั้นถนนหนทาง และกองกำลังรับมือภัยพิบัติแห่งชาติและกองทัพอินเดียช่วยประชาชนขึ้นมาบนเรือยาง ขณะที่น้ำท่วมไหลบ่าเข้าบ้านเรือนของพวกเขา.
ถนนสายหลักสวนใหญ่มีน้ำท่วมขังตั้งแต่วันเสาร์ที่ 6 พ.ย. จนเมืองเป็นอัมพาต. ต่อมา วันอาทิตย์ที่ 7 พ.ย. ในหลายพื้นที่ของนครเจนไน กระแสไฟฟ้าดับหลายชั่วโมง เนื่องจากแผนกไฟฟ้าปิดการจ่ายไฟเพื่อมาตรการป้องกันล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงไฟฟ้าชอร์ต.
เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาระบุเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ย. คาดว่าฝนตกหนักอีก 48 ชั่วโมงข้างหน้าในหลายพื้นที่ของรัฐทมิฬนาฑู ทำให้ทางการประกาศหยุดการเรียนการสอนในสถานศึกษาเป็นเวลา 2 วัน ในนครเจนไนและอีก 3 เมืองที่อยู่ใกล้เคียง และยังแนะนำไม่ให้ประชาชนเดินทางในสภาพอากาศอันตราย และชาวประมงตามแนวชายฝั่งยังถูกห้ามออกทะเล.
ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์หลายคนกล่าวว่า สถานการณ์เลวร้ายพอกับน้ำท่วมในปี 2558 ที่คร่าชีวิตไปมากกว่า 200 คนในรัฐทมิฬนาฑู.
Rescue ops carried out by TamilNadu fire and rescue department at Teynampet today.
Memories of 2015 flashing.#ChennaiRain #tamilnadurainupdate #Rain pic.twitter.com/TIg2Prqlku
— Sanjeevee sadagopan (@sanjusadagopan) November 7, 2021
ทางการนครเจนไนระบุว่า เปิดศูนย์บรรเทาทุกข์และค่ายแพทย์ทั่วเมือง และกำลังแจกจ่ายอาหารแก่ผู้ประสบอุทกภัย.
เอ็มเค สตาลิน มุขมนตรีรัฐทมิฬนาฑู กล่าวว่า เมืองเจนไนและอีก 11 เขตได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำฝนมากกว่า 20 ซม. และขอให้รัฐมนตรีทั้งหมดช่วยฟื้นฟู.
This is going to end up worse than 2015 floods.
Location- KORATTUR#ChennaiRains #ChennaiRain pic.twitter.com/w5N2li9gAL— Naveen Natarajan (@NaveenN40919487) November 7, 2021
แม้ว่านครเจนไนจะเผชิญฝนตกหนักบ่อยครั้งในช่วงเวลานี้ของทุกปี แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า การพัฒนาเมืองไม่มีการตรวจสอบและการวางผังเมืองที่ไม่ดีนำมาสู่ความพินาศและความวุ่นวายของเมือง.
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นสาเหตุให้โลกร้อนขึ้นยังมีส่วนต่อปัญหาดังกล่าว มีโอกาสที่ฝนตกหนักสุดขั้วมากขึ้นและบ่อยขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
น้ำท่วมไม่อาจกั้น! บ่าวสาวอินเดีย นั่งในหม้อยักษ์ ลอยเข้างานแต่ง ขณะน้ำท่วมหนัก