การแจ้งความคนหาย ไม่มีกฏหมายข้อใดระบุว่าต้องรอให้เวลาผ่านไป 24 ชั่วโมงจึงจะแจ้งความได้ ญาติสามารถไปสถานีตำรวจท้องที่ที่คนหาย เพื่อแจ้งความและให้รายละเอียดกับพนักงานสอบสวน และควรขอสำเนาบันทึกประจำวันและหมายเลขโทรศัพท์มือถือของพนักงานสอบสวน เพื่อประสานงานหรือสอบถามความคืบหน้าด้วย ปัญหาการความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การแจ้งความคนหาย ต้องรอให้ถึง 24 ชั่วโมง ยังคงเป็นความสับสนในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะความไม่รู้ อาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้
- โอนเงินผิดบัญชี ต้องทำอย่างไร? ทำตามวิธีนี้ ได้เงินคืนแน่นอน
- เช็กก่อนเลี้ยง! สัตว์ที่ห้ามเลี้ยงในประเทศไทย หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
- “บุหรี่ไฟฟ้า” ปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน เรื่องจริงหรือแค่คำหลอกลวงผู้บริโภค ?
ซึ่งปัญหาที่ญาติคนหายพบเสมอในการแจ้งความ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความ โดยให้เหตุผลว่า คนหายยังหายไปไม่ถึง 24 ชั่วโมง ถือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้ปฏิบัติ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจใช้ดุลพินิจในการไม่รับแจ้งความกรณีไม่สมเหตุสมผล เช่น คนหายขาดการติดต่อ หรือกลับบ้านคลาดเคลื่อนจากเวลาปกติ แต่ถ้าเป็นกรณีเด็กเล็ก คนชรา หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง สามารถแจ้งความได้ทันที
ช่วงเวลา 48 ชั่วโมงแรกถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการค้นหา สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำชับพนักงานสอบสวนทุกท้องที่ให้รับแจ้งความคนหายในทุกกรณี และทำการสืบสวนสอบสวนตามหาคนหายทันทีโดยไม่ต้องรอให้ครบ 24 ชั่วโมง แต่ล่าสุดในทางปฏิบัติก็ยังคงพบกรณีแบบนี้อยู่เรื่อยๆ
เมื่อคนสูญหายต้องทำอย่างไร?
เมื่อพบว่ามีการสูญหายของบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ลูก-หลาน ญาติ-พี่น้อง หรือคนรู้จัก ให้รีบไปแจ้งความทันที โดยต้องเดินทางไปที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่คนหายเพื่อแจ้งความ และลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานเพื่อให้ดำเนินการสืบค้นหาคนหายต่อไป เพราะการรีรอไม่เป็นผลดีต่อการสูญหายของบุคคลที่คุณรักโดยเฉพาะ เด็ก-เยาวชน และสตรี ที่มักตกเป็นเป้าของการค้ามนุษย์ และมิจฉาชีพได้ง่าย
ขั้นตอนการแจ้งความคนหายที่สถานีตำรวจ
- พบพนักสอบสวนเพื่อให้สอบถามรายละเอียดและสอบปากคำผู้แจ้งเกี่ยวกับข้อมูลของคนหาย
- เสมียนประจำวันคดีลงบันทึกประจำวัน
- พนักงานสอบสวนมอบสำเนาบันทึกประจำวันให้แก่ผู้แจ้ง (ในกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่มอบสำเนาบันทึกประจำวันดังกล่าวให้ ผู้แจ้งความต้องร้องขอ)
- ให้ผู้แจ้งขอชื่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือของพนักงานสอบสวนที่รับแจ้งความไว้ด้วย สำหรับการประสานงานเพื่อสอบถามความคืบหน้า
ใครที่สามารถแจ้งความคนหายได้
ส่วนบุคคที่สามารถแจ้งความได้ ตามระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีเรื่องคนหาย พลัดหลง และประมวลวิธีพิจารณาความอาญา คือ บุคคลดังต่อไปนี้
- ผู้บุพการี ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
- ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
- ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาลของผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถ
- สามี ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น
แต่ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจใช้ดุลพินิจในการไม่รับแจ้งความได้ ในกรณีที่ไม่สมควรแก่เหตุ เช่น การกลับบ้านคลาดเคลื่อนจากเวลาปกติที่เคยกลับเพียง 2–3 ชั่วโมง ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอ เนื่องจากผู้หายอาจจะติดธุระ หรือมีเหตุจำเป็นเรื่องอื่น จึงทำให้กลับบ้านช้ากว่าปกติ เป็นต้น
ดังนั้น การแจ้งความคนหายจึงสามารถแจ้งได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องหายไปครบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างใด อีกทั้งถ้าเป็นกรณีเร่งด่วน เช่น เด็ก คนชรา หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองหายออกจากบ้านไป สามารถแจ้งความเพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันที เพื่อจะได้แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที
ที่มา จส.100