ต้องทำสิ่งนี้! หากอยากถ่ายรูปคนอื่น หลังกฎหมาย PDPA เริ่มใช้ 1 มิ.ย. 65

Home » ต้องทำสิ่งนี้! หากอยากถ่ายรูปคนอื่น หลังกฎหมาย PDPA เริ่มใช้ 1 มิ.ย. 65

4 ข้อง่ายๆ หากอยากถ่ายรูปผู้อื่น หลัง 1 มิ.ย. 65 ประกาศใช้กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ทุกคนควรทราบ

ใกล้เข้ามาแล้วกับกฎหมาย PDPA ที่ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

ซึ่งจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 65 โดยกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA Personal Data ProtectionAct B.E. 2562 (2019)ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 62 และยกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) ถูกเลื่อนออกมาให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 65

ควรรู้! ก่อน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA บังคับใช้วันที่ 1 มิ.ย. 65 นี้

และหลายๆคนอาจจะสงสัยในข้อห้ามต่างๆ ที่ประชาชนอย่างเราจะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือการใช้สื่อโซเชียล
อย่างมาก บางข้อก็เข้าใจได้ แต่บางข้อก็ทำให้สับสนเช่นกันว่าแบบนี้เราจะต้องปฏิบัติตนอย่างไรให้ถูกกฎหมาย อาทิ

  • 1.ห้ามถ่ายรูปภาพ หรือ คลิปวิดีโอติดหน้าคนอื่นในระดับที่ชัดพอว่าจะรู้ว่าบุคคลนั้นเป็นใคร
  • 2.ห้ามโพสต์ หรือ Live ติดหน้าคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • 3.ห้ามติดกล้องวงจรปิด นอกบริเวณบ้านซึ่งมีโอกาสที่จะถ่ายติดหน้าบุคคลอื่น
  • 4.ห้ามเก็บหรือแชร์ข้อมูลส่วนตัวผู้อื่น

ซึ่งจากข้อกฎหมายที่ประชาชนทราบกันคร่าวๆ และมีคำถามมากมายนั้นคือ ถ้าเราถ่ายรูปติดคนอื่น หรือถ่ายติดโดยไม่ตั้งใจและไม่ได้ทำอะไรให้บุคคลในภาพเกิดความเสียหาย เรายังจะมีความผิดหรือไม่ หรือต้องขออนุญาตใครบ้างหากต้องการจะถ่ายรูปผู้อื่น

ซึ่งก็มีข้อมูลจากผู้มีความรู้ก็ได้สรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ จากช่อง Tiktok lawriwa ว่าหลังจาก 1 มิ.ย. 65 หากต้องการถ่ายภาพผู้อื่นต้องปฏิบัติเช่นไร แบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้

  • 1.ขอความยินยอมจากอีกฝ่ายอย่างชัดเจน
  • 2.ขอความยินยอมจากอีกฝ่ายเป็นหนังสือหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเซ็นหนังสือ
    หรืออนุญาตผ่านข้อความมือถือ จะขอทางวาจาได้ ต้องยืนยันจริงๆ
    ว่าเราไม่สามารถสร้างหนังสือหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้
  • 3.ต้องแจ้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ว่าจะนำรูปภาพไปทำอะไรไม่ทำให้เกิดความเสียหายใช่หรือไม่
  • 4.ผู้ยินยอมนั้นสามารถถอนความยินยอมเมื่อไหร่ก็ได้ เช่น เรากำลังจะลงภาพแล้ว
    แต่อีกฝ่ายกลับเปลี่ยนใจเรากฌห้ามลง
@lawriwa

#เล่ากฎหมายใน30วิ #กฎหมาย #นิติศาสตร์ #รู้กฎหมายกับtiktok #รู้หรือไม่ #อาหารสมอง #วัยรุ่น #วัยรุ่นสร้างตัว #ความรู้ #tiktokuni #กฎหมายใหม่

♬ เสียงต้นฉบับ – ลอว์ไรวะ – ลอว์ไรวะ

ขอบคุณคลิปจาก : lawriwa

อ่านข่าวที่น่าสนใจ

  • ห้ามทำ! 4 อย่างนี้ หลัง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประกาศเริ่มใช้ 1 มิ.ย.65
  • ส.ส. เต้ มงคลกิตติ์ แจง แค่หยอกล้อ ในฐานะเพื่อนกับ ทนายเดชา ปมโทรขู่ส่งคนไปกระทืบ
  • หมอของขวัญ อัปเดต ยังไม่ได้หมายศาลจาก กระติก ลั่น! “กระดูกคนละเบอร์ เกรงใจพี่แดงนิดนึงนะคะ”
  • ทนายเกิดผล ลั่น ไม่เชื่อน้ำคำ บังแจ็ค หลังอ้างมีข้อมูลทั้งหมดจาก มือถือแตงโม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ