เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566 ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เผยข้อมูลระบุว่า หน่วยงานไทยทั้งภาครัฐและเอกชนได้ช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของโควิด-19 และอัปโหลดแชร์บนฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสส (GISAID)” จำนวนทั้งสิ้น 410 ตัวอย่างในช่วง 2 เดือนครึ่ง (1 ก.พ.-16 เมษ. 2566) ที่ผ่านมา
โดยมีโอมิครอน 12 สายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยเรียงตามลำดับมีดังนี้
- BN.1.3 68 ราย (22%)
- BN.1.2 59 ราย (19%)
- XBB.1.5 45 ราย (15%)
- XBB.1.9.2 22 ราย (7%)
- XBB.1.9.1 20 ราย (7%)
- BN.1.2.3 19 ราย (6%)
- CH.1.1 18 ราย (6%)
- BN.1.3.6 17 ราย (6%)
- BN.1.1 12 ราย (4%)
- EJ.2 9 ราย (3%)
- XBB.1.16 8 ราย (3%)
- BA.2.75 8 ราย (3%)
โดยพบโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 จำนวน 8 ราย และหนึ่งในแปดพบว่ามีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมเป็น XBB.1.16.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้ทำการวิเคราะห์จากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่าโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า BN.1.3 ประมาณ 148% และเหนือกว่า XBB.1.5 ประมาณ 90% คาดว่าจะเข้ามาแทนที่ BN1.3 และ XBB.1.5 ได้ภายใน 2-3 เดือนจากนี้
ศ.เกียรติคุณ วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อาการสำคัญคือ ไข้สูง อาการหวัด อาการไอ จากนั้นจะเกิดเยื่อบุตาอักเสบ คันตา ขี้ตาเหนียว ลืมเปลือกตาไม่ขึ้น แต่ไม่มีหนอง เพราะไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY