ต้องบอกเลยว่า การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแต่อย่างใด และเรามักได้ยินข่าวทำนองนี้มานักต่อนัก โดยในปัจจุบันการถูกคามทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง เพศชาย และเพศหญิง
บ่อยครั้งสังคมไทยก็มองว่าปัญหา การคุกคามทางเพศ หรือการล่วงละเมิดทางเพศนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย และถูกมองข้ามอยู่เสมอ ทำให้เหยื่อหลายคนไม่กล้าที่จะออกมาพูดความจริง อีกทั้งคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้วิธีการป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธี หรืออาจเป็นเพราะไม่รู้ว่าการถูกกระทำแบบไหนถึงเรียกว่า การถูกคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment)
วันนี้ทีมข่าว ไบรท์ ทูเดย์ (Bright Today) ก็ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การคุกคามทางเพศ มาฝากกันค่ะ
หลาย ๆ คนคงยังไม่รู้ว่า พฤติกรรมแบบนี้นี่แหละที่เข้าข่ายการคุกคามทางเพศ หากใครเคยเจอ และถูกคุกคามในลักษณะนี้ให้ได้เข้าใจว่านี่คือการคุกคามทางเพศ
- การแสดงออกทางวาจา เช่น พูดจาล่วงเกิน พูดเกี่ยวกับเรื่องเพศ เล่าเรื่องตลกเกี่ยวกับเรื่องเพศ พูดถึงสัดส่วนของร่างกาย หรือพูดเล่นคำที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ และเมื่อเหยื่อทำท่าไม่พอใจหรือสีหน้าไม่ดี ผู้กระทำมักจะพูดแก้ตัว เช่น “ล้อเล่นน่า” “คิดมากไปได้”
- สายตาเเละสีหน้า เป็นรูปแบบที่ระบุได้ยาก ผู้กระทำส่งสายตาหรือแสดงออกทางสีหน้าที่ส่อถึงเรื่องทางเพศ โดยที่เหยื่อรู้ตัวหรือไม่รู้ก็ได้ หากเหยื่อเห็นจะเกิดความรู้สึกหวาดกลัว ขยะแขยง เช่น การแลบลิ้นเลียรอบปาก การจ้องมองที่หน้าอก
- การสัมผัสทางร่างกาย เช่น พยายามใกล้ชิดโดยไม่จำเป็น หรือสัมผัสกับร่างกายของเหยื่อ ซึ่งไม่ได้ขออนุญาตก่อน เช่น แตะเนื้อต้องตัว โอบกอด โอบไหล่ โอบเอว จับมือ
- การส่งข้อความในเชิงอนาจาร เป็นข้อความที่สื่อถึงเรื่องทางเพศ โดยการเขียนจดหมาย หรือพิมพ์ข้อความในเชิงส่อไปทางเพศ รวมไปถึงการส่งรูปภาพร่างกาย หรืออวัยวะเพศให้แก่ผู้อื่น โดยการคอมเมนต์ แชท ตัวอย่างเช่น บุคคลสาธารณะที่เจอข้อความแทะโลม “ผัวแห่งชาติ” “ขอพี่สักครั้ง”
- เขาคือใคร! เปิดวาร์ป ยุ่น ภูษณุ พระเอกซีรีส์วาย หลังเกิดดราม่าคู่ ลีน่าจัง
- ดราม่า #แบนลีน่าจัง หลังพยายามยกแขน ยุ่น ภูษณุ เพื่อดมรักแร้ ซ้ำหยุมหัวอีก
ป้องกันตัวเองได้อย่างไรได้บ้าง หากต้องประสบพบเจอกับการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) กับตนเองหรือเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์เหล่านี้ ก่อนอื่นเราควรตะหนักได้ว่า การคุกคามทางเพศนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะฉะนั้นแล้วหากเราต้องตกเป็นเหยื่อก็ควรที่รู้วิธีการป้องกันตัวเองให้เหมาะสมได้โดยการ
- การเพิกเฉยไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น บ่อยครั้งของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมักจะเพิกเฉยหรือทำเป็นไม่สนใจ แต่ความจริงแล้วมันไม่ช่วยให้การคุกคามทางเพศหยุดลง
- เรียนรู้ที่จะพูดปฏิเสธเมื่อตกเป็นเหยื่อของการคุกคาม เช่น ขอร้องให้หยุด หรือแสดงออกถึงความรู้สึกไม่พอใจ
- ร้องเรียนกับผู้มีอำนาจ หากคุณต้องเป็นเหยื่อของการคุกคามทางเพศอย่าลังเลที่จะพูดถึงปัญหานี้กับเจ้านาย คุณครู ตำรวจ หรือองกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ไม่เพิกเฉยต่อผู้เป็นเหยื่อ บ่อยครั้งที่ผู้ที่โดยคุกคามที่รู้สึกกลัว อับอาย หากเราอยู่ในเหตุการณ์นี้ขอให้ไม่เพิกเฉยต่อพฤติกรรมนั้น โดยการห้ามหรือขอร้องให้หยุดเป็นต้น
- เคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแต่งตัว รูปร่าง หน้าตา
- ไม่มีส่วนรวมหรือเป็นผู้ริเริ่มคุกคามผู้อื่น บ่อยครั้งที่พฤติกรรมคุกคามทางเพศเกิดขึ้นได้ เพราะการมีส่วนรวม ฉะนั้นแล้วเมื่อเห็นเหตุการณ์นี้จงอย่าเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนรวมเสียเอง
ข้อมูลจาก : manarom, mangozer, thairath
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY