ในช่วงก่อนหน้านี้ กรมอุตุนิยมวิทยานั้นเคยประกาศ เตือนว่า ประกาศไทยตอนบน จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ในช่วงวันที่ 20-24 มี.ค. 66 ซึ่งพยากรณ์อากาศในวันนี้ (19 มี.ค. 66) กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ภาคเหนือจะมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นทีกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กิโลเมตร/ชั่วโมง
โดยเมื่อวาน 18 มี.ค. 66 เวลา 15.30 น. เกิดพายุฤดูร้อน วาตภัย และ พายุลูกเห็บ ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย และอำเภอดอยสะเก็ด ส่งผลให้มีบ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้ล้มทับเสาไฟฟ้า กีดขวางถนน ป้ายโฆษณาล้มทับรถยนต์ได้รับความเสียหาย
“กองทัพอากาศ” ร่วมปฏิบัติการบินยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บกับ “กรมฝนหลวง” และการบินเกษตร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน โดยได้ส่งอากาศยานแบบ Alpha Jet จากฝูงบิน 231 กองบิน 23 วางกำลัง ณ กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ และได้ขึ้นบินเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บอย่างต่อเนื่อง 3 วันที่ผ่านมา
- “สถิติหวยออก 1 เมษายน” ย้อนหลัง พบ เลขเด็ด เคยออกซ้ำหลายงวด
- สรุปความเสียหาย “พายุลูกเห็บ” เชียงใหม่ เกือบ 700 หลังคาเรือน
- เต็มคาราเบล ลุงเมากาว ซัดเต็มที่คาบเต็มจมูก ควบคุมตัวเองไม่อยู่จะเข้าบ้านคนอื่น
วันที่ 19 มี.ค. 66 กองทัพอากาศ ได้นำเครื่องบิน อัลฟา เจ็ต ( Alpha Jet) ขึ้นบินปฏิบัติการยับยั้งและบรรเทาความรุนแรงของลูกเห็บเหนือพื้นที่ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยก่อนปฏิบัติการ พบกลุ่มเมฆคิวมูลัสที่กำลังพัฒนาตัว มีความคมชัดระดับ Hard-Medium โดยกลุ่มที่ 1 ยอดเมฆเป้าหมายสูง 23,000 ฟุต เครื่องบิน อัลฟา เจ็ต ยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ จำนวน 4 นัด กลุ่มที่ 2 พบกลุ่มเมฆคิวมูลัสขนาดใหญ่ พัฒนาตัวอย่างรวดเร็ว ยอดเมฆเป้าหมายสูงมากกว่า 30,000 ฟุต เครื่องบิน อัลฟา เจ็ต จึงยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ จำนวน 10 นัด หลังปฏิบัติการ พบความคมชัดของเมฆลดลงในระดับ Medium Soft ยุบตัวและฟุ้งกระจาย แต่บางส่วนยังคงมีการพัฒนาตัว ทั้งนี้ ยังไม่ได้รับรายงานการตกของลูกเห็บในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการ แต่พบว่าฝนได้ตกลงมาเป็นเม็ดน้ำปกติ
ปฏิบัติการฝนหลวง ไม่ใช่แค่ทำฝนเทียม หนึ่งในโครงการพระราชดำริ ที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นอกจากการทำฝนเทียมแล้ว การยับยั้งลูกเห็บก็เป็นภารกิจหนึ่งที่จำเป็น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ปกตินักบินจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่บินเข้าไปในเมฆฝน เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการหลงสภาพการบิน รวมทั้งอาจเกิดความเสียหายกับเครื่องบินได้ แต่การยับยั้งลูกเห็บนั้น นักบินจำเป็นต้องนำเครื่องบินบินเข้าไปในเมฆที่กำลังก่อตัวเป็นพายุร้าย เพื่อยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Silver Iodide) เข้าสลายหยดน้ำที่กำลังจับตัวเป็นลูกเห็บ ให้ตกลงมาเป็นฝนแทน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY