กลุ่ม 'Save อโยธยา' จี้ทบทวนการศึกษา ผลกระทบรถไฟความเร็วสูง ผ่านพื้นที่ 'อโยธยา'

Home » กลุ่ม 'Save อโยธยา' จี้ทบทวนการศึกษา ผลกระทบรถไฟความเร็วสูง ผ่านพื้นที่ 'อโยธยา'


กลุ่ม 'Save อโยธยา' จี้ทบทวนการศึกษา ผลกระทบรถไฟความเร็วสูง ผ่านพื้นที่ 'อโยธยา'

นักวิชาการ กลุ่ม ‘Save อโยธยา’ ยื่นหนังสือทบทวนการศึกษาผลกระทบรถไฟความเร็วสูงผ่านพื้นที่ ‘อโยธยา’ แนะไปใช้แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเอเชียแทน

เมื่อวันที่ 20 เม.ย.66 ที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น การศึกษาผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของแหล่งมรดกโลกทาง นครประวัติศาสตร์ ครั้งที่ 2ในโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย

โดย มีนายกกชัย ฉายรัศมี รองผวจ.พระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในการเปิดการประชุม นายกกชัย กล่าวว่า ในการดำเนินการสร้างรถไฟฟ้า ย่อมมีผลกระทบกับหลายด้าน เกิดขึ้น เป็นต่อชุมชนและพี่น้องประชาชน และสืบเนื่องมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งต้องศึกษาผลกระทบให้รอบด้านละเอียด รับฟังความคิดเห็น ของชาวบ้านเขาคิดอย่างไร เขาได้ประโยชน์อะไร และต้องรักษาความเป็นมรดกโลกเอาไว้ด้วย

อีกมุมหนึ่งประเทศเรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาต้องมีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งเศรษฐกิจ และสังคมให้ดีขึ้นควบคู่กันไป บ้านเมืองเรามีความเจริญมากขึ้นก็ต้องมีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้น การรับฟังความคิดเห็นและการศึกษาผลกระทบจึงมีความจำเป็นมาก

โดยในการประชุม รศ.ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม รายงานรายงานผลการรับฟังความเห็น ประะเด็น การรับฟังความคิดเห็นประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม เมื่อครั้งที่ 1 อยุธยาเป็นเมืองที่ทับซ้อนกันระหว่างเมืองเก่ากับเมืองที่กำลังมีการพัฒนา

สิ่งปลูกสร้างหลายอย่างที่มีอยู่ในปัจจุบันมีรูปแบบการก่อสร้างที่เข้าไปในพื้นที่ใกล้กับอุทยานประวัติศาสตร์ และโบราณสถานในพื้นที่นอกเกาะเมือง การศึกษาผลกระทบ และมีเวลาในโครงการนี้เป็นโครงการแรกที่ทำในเมืองไทยเป็นครั้งแรก และมีเวลาที่จำกัด

“เราศึกษาข้อมูลพื้นฐานของแหล่งมรดกโลกและสภาพปัจจุบัน ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล การวิเคราะห์คุณค่าตามที่ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ไม่ได้ศึกษาแค่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา หรือแค่เฉพาะในแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยาเท่านั้น เพราะการประเมินผลกระทบต้องมองถึงองค์รวมของเส้นทางรถไฟทั้งหมด”

ในช่วงของการเปิดรับฟังความคิดเห็น มีประชาชน ที่ได้รับผลกระทบแสดงความคิดเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมถึงมีนักวิชาการบางส่วนที่ประชุมผ่านระบบออนไลน์ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นในความไม่ชัดเจนใน ข้อมูลการนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบทางวัฒนธรรม

รวมถึงความคุ้มในการลงทุนที่อาจจะต้องแลกการสูญเสียความงดงามทางวัฒนธรรม กับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่จะเกิดจากการมีรถไฟความเร็วสูง และสถานีรถไฟความเร็วสูงที่อยู่ในพื้นใกล้กับแหล่งวัฒนธรรม ข้อมูลน้อยเกินไป โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ โบราณสถานในพื้นที่เมืองอโยธยา ที่อยู่นอกนครประวัติศาสตร์

อ.ไชยวัฒน์ วรเชษฐวราวัตร อายุ 68 ปี อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ตนเป็นผู้ได้รับผละทบโดยตรง เพราะมีบ้านพักอยู่ใกล้กับแนวรถไฟปัจจุบัน เข้ารับฟังความคิดเห็นมาแล้ว 2 ครั้ง ยังไม่มีความชัดเจนว่า สถานีรถไฟความเร็วสูงจะเกิดขึ้นที่อยุธยาไหม ส่วนตัวอยากให้มี และการดำนินการก่อสร้างก็มีการดำเนินการก่อสร้างตัวตอม่อของราวรถไฟมาแล้ว ไม่ได้แค่อยากให้รถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่านอยุธยาไป เสนอแนะให้ทำประชาพิจารณ์ ให้ลงคะแนนเสียงแบบเลือกตั้งไปเลยว่าจะสร้างหรือไม่สร้าง

ด้าน นายธนกฤต กิตติธรรมกูล นายกสามคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ในมุมมองของผู้ประกอบการท่องเที่ยว มองว่าการท่องเที่ยวกำลังถูกเอามาเป็นจำเลยอีกแล้ว ทุกโครงการที่จะเกิดขึ้นที่อยุธยา จะนำเสนอว่าส่งเสริมกระตุ้นการท่องเที่ยว ถ้าเรามีรถไฟความเร็วสูงมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวมาก

มาถึงสถานีอยุธยาแล้ว จะเดินทางไปท่องเที่ยวในอยุธยาแบบไหน เรามีสถานที่ท่องเที่ยวรองรับเพียงพอไหม ศักยภาพพร้อมไหม หลายสถานที่ท่องเที่ยวหลายผู้ประกอบการ ติดขัดเรื่องปัญหาของการพัฒนา ด้วยข้อกฎหมาย พรบ.ของกรมศิลปากร ตามระเบียบ ธุรกิจท่องเที่ยวต้องการเพิ่มเรื่องการจับจ่ายใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว

ไม่ได้ต้องการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ในปัจจุบันอยุธยามีนักเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมาก วันหยุด หรือเทศกาลต่าง เรามีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก จนการจราจรติดขัด มีรถไฟความเร็วสูงมีสถานีรถไฟความเร็วสูง มันจะเพิ่มนักท่องเที่ยวได้มากจริงไหมแล้ว เราพร้อมรองรับจำนวนนักเที่ยว ประชาชนที่จะเดินทางรถไฟความเร็วสูง จำนวนมากได้แล้วหรือยัง อยากให้มีการศึกษาตรงนี้ด้วย

“คนอยุธยาอยากมีรถไฟความเร็วสูง เราดีใจ แล้วการที่มีมรดกโลกเราได้อะไร หรือไม่มีแล้วเราจะเสียอะไร ถ้าเราไม่มีมรดกโลก พอยูเนสโก้ประกาศว่าเราเป็นมรดกโลก เรามาถูกห้ามทำโน่นทำนี่ อยากให้นักวิชาการมาบอกให้ชัดเจนกว่านี้” นายธนกฤต กล่าว

ด้าน นายเฉลิม อภิวาท รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าว่า ส่วนตัวมองว่า เราจะเสียหายมาก ถ้าหากก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและสถานีรถไฟความเร็วสูง มีผลทำให้อยุธยาถูกถอดออกจากมรดกโลก การศึกษาผลกระทบถ้าพบว่ามีผลกระทบ เลี่ยงได้ควรเลี่ยง หรือต้องใช้งบประมาณที่มากจากเดิม เพื่อรักษาความเป็นมรดกโลกเอาไว้ ทำให้รถไฟความเร็วสูงอยู่คู่กับมรดกโลกให้ได้

นายศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักวิชาการอิสระ และนายฆนัท นาคถนอมทรัพย์ นักวิชาการอิสระ และ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม ‘Save อโยธยา’ นำหนังสือ ทบทวน เรื่องของการศึกษาของโครงการ และรายชื่อประชาชนที่ต้องการเก็บรักษาประวัติศาสตร์ของชาติไว้ เพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานทบทวนให้ย้ายเส้นทางรถไฟออกไปนอกเขตเมืองเก่าอโยธยาศรีรามเทพนคร โดยจะนำรายชื่อผู้เสนอให้ทบทวนโครงการ เสนอต่อ แทนของการรถไฟแห่งประเทศไทยในที่ประชุม

นายศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ กล่าวว่า มีประชาชน และนักวิชาการ กล่าวถึงผลกระทบ ความคุ้มค่าในการสร้าง รวมถึงประชาชนที่เห็นด้วยกับการก่อสร้าง เพราะอาจะยังไม่เข้าใจในเรื่องของผลกระทบที่ศึกษายังไม่รอบด้าน เนื้อหาที่ประชาชนยากที่จะเข้าใจมานำเสนอ เราจะรวบรวมรายชื่อเพิ่มเติมอีก เพื่อคัดค้านผลจาการศึกษาที่ยังไม่รอบด้าน

ซึ่งเป็นเส้นทางที่รถไฟความเร็วสูง จะคู่กับแนวทางรถไฟเดิม ในพื้นที่ด้านทิศตะวันออกนอกเกาะเมืองอยุธยา พื้นที่นี้เรียกว่า “อโยธยา” ถือเป็นพื้นที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยา มีโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่งอยู่ใกล้ และยังไม่ขุดค้นอีกหลายจุด ควรหลีกเลี่ยงไปใช้แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเอเชียแทน แทนที่จะผ่านใน พื้นที่ของอโยธยา

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ