ประเด็น “ค่าไฟ” ยังคงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง โลกออนไลน์แห่แชร์ใบแจ้งค่าไฟบ้าน ที่พุ่งขึ้นสูงเกือบเท่าตัว พร้อมตั้งคำถามกับค่าไฟที่สูง แบบก้าวกระโดด จากหลักร้อยเป็นหลักพัน จากสองพัน เป็น ห้าพัน พร้อมทั้งเสียงโอดโอยกับเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับในแต่ละเดือน
- สภาเภสัชกรรม แจง! ปม พี่สาว แอม ไซยาไนด์ ยัน พร้อมลงโทษหากผิดจริง
- แห่ชื่นชม! พลเมืองดี ล้วงท่อระบายน้ำ หวังเขี่ยขยะ-ใบไม้ พลาดมือติด กู้ภัยเข้าช่วย
- ร้องทุกข์! ผู้พิการ โอด หลังแพทย์ตัดสินไม่พิการ ทั้งที่นิ้วเป็นแบบนี้
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า กกพ. ปรับขึ้นค่าไฟรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 66 อีกทั้งยังมีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ คือ 98.27 สตางค์/หน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาท/หน่วย
ต่อมา กฟผ. เสนอขอรับภาระยืดหนี้การชำระค่าไฟฟ้า ทำให้ค่าไฟงวดเดือน พ.ค.-ส.ค.ลดลง 7 สตางค์ต่อหน่วย จากที่ประกาศไว้เดิม 4.77 บาท เหลือ 4.70 บาทต่อหน่วย เทียบจากงวดปัจจุบันค่าไฟอยู่ที่ 4.72 บาท (ลดลง 2 สตางค์) โดยไม่ต้องรับฟังความเห็น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า ในช่วงสถานการณ์หลายต่อหลายบ้าน “ค่าไฟ”ขึ้น หลายคนหาที่มาที่ไปของต้นตอค่าไฟเพิ่มขึ้นและมีการกล่าวถึง “ PPA “ หรือสัญญาซื้อไฟจากเอกชน รายใหญ่ เรื่องที่ทาง กฟผ.ออกมายืนยันว่า พร้อมจะเปิดให้ดูแต่ต้องได้รับการยินยอมจากคู่สัญญาก่อนส่วนการรับซื้อไฟจากรายย่อยดูได้ที่เว็บ กกพ. ย้ำ การรับซื้อไฟเป็นไปตามนโยบายของรัฐ
นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะโฆษก กฟผ. กล่าวยืนยันว่า การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเป็นไปตามนโยบายภาครัฐ เพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐ ลดหนี้สาธารณะ และเพิ่มการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า ซึ่งภาครัฐเป็นผู้คัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้า ที่มีราคาต่ำสุดในช่วงเวลานั้น ๆ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ขณะที่ กฟผ. เป็นเพียงผู้รับซื้อไฟฟ้าตามราคาที่รัฐกำหนด และดำเนินการตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าฯ เท่านั้น โดย กฟผ. ไม่มีการบวกกำไรเพิ่ม และค่าไฟฟ้าที่ เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการ กกพ.
รองผู้ว่าการ กฟผ. ยังกล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้ กฟผ. เปิดเผยสัญญารับซื้อไฟฟ้า (PPA) จากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ว่า กฟผ. ยินดีเปิดเผยข้อมูลหรือรายละเอียดสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ต่อบุคคลภายนอก แต่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาของ กฟผ. ก่อนดำเนินการ ส่วนสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ได้มีการเปิดเผยต้นแบบสัญญาตั้งแต่แรกจึงสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY