PDPA คืออะไร 4 เรื่องหลักๆที่ยังเข้าใจผิดอยู่ สามารถทำอะไรได้บ้างหลัง 1 มิ.ย. 65

Home » PDPA คืออะไร 4 เรื่องหลักๆที่ยังเข้าใจผิดอยู่ สามารถทำอะไรได้บ้างหลัง 1 มิ.ย. 65
PDPA

เจาะลึก PDPA คืออะไร กับ 4 เรื่องไม่จริงที่ทุกคนควรรู้ สามารถทำอะไรได้บ้าง ถ่ายรูปติดใครได้บ้าง หลังกฎหมายประกาศใช้ 1 มิ.ย. 65 นี้

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

ควรรู้! ก่อน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA บังคับใช้วันที่ 1 มิ.ย. 65 นี้

โดยกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019)ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 62 และยกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) ถูกเลื่อนออกมาให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 65

ซึ่งจากกระแสเรื่องการถ่ายรูปหรือวิดีโอติดภาพบุคคลอื่น ด้านเพจ PDPC Thailand ก็ได้ออกมาชี้แจงเพิ่มเติมว่า แท้จริงแล้วทำสิ่งใดได้บ้าง โดยแบ่งออกเป็น 4 เรื่องไม่จริง ที่ยังมีคนเข้าใจผิดอยู่

ขอบคุณรูปภาพ : PDPC Thailand

4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA

  • 1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA
    ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
  • 2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA
    ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • 3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA
    ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
  • 4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้
    ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป

PDPA = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น

ขอบคุณข้อมูล : PDPC Thailand

อ่านข่าวที่น่าสนใจ

  • ห้ามทำ! 4 อย่างนี้ หลัง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประกาศเริ่มใช้ 1 มิ.ย.65
  • ต้องทำสิ่งนี้! หากอยากถ่ายรูปคนอื่น หลังกฎหมาย PDPA เริ่มใช้ 1 มิ.ย. 65
  • ครูหื่น! ละเมิดทางเพศลวนลามนักเรียน จนต้องย้ายโรงเรียนหนี วอนตรวจสอบด่วน!
  • ชาวเน็ตร่วมยินดี! วัน อยู่บำรุง สุดแฮปปี้หลังลูกชาย กาโม่ อาชวิน รับปริญญา
  • ร่างฟ้องรอแล้ว! ที่ปรึกษาคดี แตงโม เผยมี 2 แบบไม่ฆาตกรรมก็ทำร้ายร่างกาย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ