OIL SUPPLY ทางเลือกของ “โอเปกพลัส” จะไปต่อหรือพอแค่นี้

Home » OIL SUPPLY ทางเลือกของ “โอเปกพลัส” จะไปต่อหรือพอแค่นี้

ปก OIL SUPPLY

โอเปกพลัส ปรับเพิ่มการผลิตเป็น 1.1 MMBD ท่ามกลางสงครามการค้าระกว่างสหรัฐฯกับจีน และการคว่ำบาตรของสหรัฐฯต่ออิหร่าน

KNG 9051

หลังจากสถานการณ์โควิด (COVID-19) ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกได้ปรับตัวลดลงราคาน้ำมันลดลงอย่าง
รวดเร็ว แต่หลังจากสถานการณ์คลี่คลายราคาน้ำมันก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหลังจากนั้นโลกต้องเผชิญกับสงครามความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนและสงครามความไม่สงบในตะวันออกกลาง ทั้งหมดได้ส่งผลกระทบให้อุปทานน้ำมันชะงักตัวลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่านอกจาก OIL DEMAND แล้ว OIL SUPPLY ก็มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อราคาน้ำมันโลกได้ไม่น้อยเช่นกัน

IMG20241121151157 0-min

ในส่วนของผู้ผลิตน้ำมันโลกหรือ OIL SUPPLY แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันโอเปกพลัส
(OPEC+) และกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกพลัส (Non-OPEC+) ซึ่งถ้าย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อน กลุ่มโอเปกพลัส
(OPEC+) มีการครอบครองตลาดมากกว่า 50% แต่ในปัจจุบันกำลังการผลิตได้ถูกเปลี่ยนมือมาทางฝั่งนอกกลุ่มโอเปกพลัส (Non-OPEC+) แทน และในปี 2568 ผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกพลัส (Non-OPEC+) จะมีบทบาทสำคัญในตลาดโลก โดยคาดว่าจะครองส่วนบางการผลิตน้ำมันถึง 58% หรือ 60 MMBD ซึ่งปรับเพิ่มขึ้น 1.4 MMBD จากปีที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายกำลังการผลิตจากโครงการใหม่ๆ ดังจะเห็นได้จากภาค SUPPLY ของปัจจัยในประเทศนอกกลุ่มโอเปกพลัส (Non-OPEC+) เหล่านี้ ได้แก่

สหรัฐอเมริกา

บทบาทในการผลิตน้ำมันของสหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นั่งคือปัจจุบันสหรัฐอเมริการได้พัฒนา
เทคโนโลยีที่ใช้ในการขุดเจาะน้ำมันที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถสำรวจและวางแผนการขุดเจาะในแหล่งน้ำมันที่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันได้มากกว่า อีกทั้งยังได้ลงทุนด้านการสำรวจปละผลิตปิโตรเลียมด้วยมูลค่ากว่า 220 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา ประกอบกับนโยบายจากประธานาธิบดีคนใหม่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ส่งเสริม ให้มีการขุดเจาะน้ำมัยภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้คาดว่ากำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐอเมริกาในปี 2568 จะถึงระดับสูงสุดได้

แคนาดา

ประเทศที่มีกำลังการผลิตที่เติบโตรองลงมาจากสหรัฐอเมริกาคือ แคนาดา โดยการศักยภาพในการขนส่งของท่อขนส่งน้ำมัน Trans Mountain (TMX) จากระดับ 0.3 MMBD ปรับเพิ่มสูงขึ้นไปที่ระดับ 0.89 MMBD ส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาข้อจำกัดในการส่งออกน้ำมันของแคนาดา โดยสามารถส่งออกน้ำมันไปยังโรงกลั่นแถบตะวันตกของสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งส่งไปยังตลาดต่างประเทศได้โดยตรง โดยเฉพาะในเอเชีย ได้แก่ จีน อินเดีย และเกาหลีใต้

บราซิล

อีกประเทศหนึ่ง คือ บราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่ได้เปรียบทางด้านลักษณะทางธรณีวิทยา โดยมีแหล่งน้ำมันในระดับชั้น Pre-salt ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในระยะหลังบราซิลได้พัฒนาเทคโนโลยีในการขุดเจาะน้ำมันที่ทนแรงดันสูง ทำให้สามารถขุดเจาะน้ำมันได้ในระดับชั้นลึกขึ้นได้ ส่งผลให้บราซิลมีกำลังการผลิตน้ำมันภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในแถบอเมริกาใต้

กายอานา

เมื่อปี 2558 ได้มีการค้นพบน้ำมันดิบ 1 หมื่นล้านบาร์เรลที่บริเวณนอกชายฝั่งทะเลของประเทศกายอานา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนขุดเจาะน้ำมันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มกำลังการผลิตของ FPSO (Floating Production Storage and Offloading) มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2568 มีโครงการ Yellowtail ที่มีกำลังการผลิตของ FPSO ที่ระดับ 0.25 MMBD ทำให้คาดว่ากำลังการผลิตน้ำมันของกายอานาจะสามารถใกล้ระดับเกือบ 0.9 MMBD ได้

IMG20241121151350 0-min

ส่วนกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกพลัส (OPEC+) ในปี 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 42% เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตทั้งหมด โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโอเปกพลัสต้องเผชิญกับประเด็นปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ได้แก่ สงครามความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน สงครามความไม่สงบในตะวันออกกลาง และประเทศที่ถูกคว่ำบาตรจากประเทศมหาอำนาจ ได้แก่

เวเนซุเอลา

ประเทศเวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกคว่ำบาตรอีกทั้งมีปัญหาการเมืองภายใน จึงทำให้ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งการไม่มีโอกาสที่จะถูกยกเลิกคว่ำบาตรจึงส่งผลให้กำลังการผลิตภายในประเทศไม่มีแนวโน้มจะปรับสูงขึ้นได้

อิหร่าน

ประเทศอิหร่านเป็นประเทศที่ถูกคว่ำบาตรจากการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ในสมัยนายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปี 2561 ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตที่เข้มงวดทำให้อิหร่านไม่สามารถส่งออกน้ำมันไปประเทศต่าง ๆ ได้ ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันปรับลดลง กำลังการผลิตภายในประเทศจึงปรับลดลง จนมาถึงช่วงประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรลง ทำให้อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมันได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะส่งออกไปประเทศจีน นอกจากนี้อิหร่านยังได้ร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม BRICS ที่มีกำลังการผลิต คิดเป็น45% ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยถ้าหากกลุ่มนี้มีแนวคิดในการสร้างระบบการเงินของตัวเองขึ้นมา อาจทำให้มีการลดการพึ่งพาเงินสกุลดอลลาร์ เกิดดุลอำนาจใหม่ในอุตสาหกรรมน้ำมันได้เช่นกัน ขณะเดียวกันถึงแม้จะยังคงมีสงครามความขัดแย้งในตะวันออกกลางอยู่แต่ท่าทีการปิดช่องทางการส่งออกน้ำมันจะยังคงมีความเสี่ยงในระดับต่ำ

รัสเซีย

ประเทศรัสเซียถึงแม้จะถูกคว่ำบาตรจากการทำสงครามกับยูเครน แต่ยังคงสามารถรักษากำลังการผลิตและปริมาณการส่งออกน้ำมันในระดับเดิมอยู่ได้ โดยได้ส่งออกไปยังผู้ซื้อรายใหม่ ได้แก่ จีน และ อินเดีย ได้มากขึ้น

IMG20241121151824 0-min (1)

อย่างไรก็ตามจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ก็อาจจะไม่ได้สร้างความกังวลให้กับตลาดว่าอุปทานจะตึงตัว เนื่องจากโอเปกพลัส (OPEC+) มีกำลังการผลิตสำรอง (Spare Capacity) เป็นจำนวนมาก โดยเป็นกำลังการผลิตที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที และคงอยู่อย่างน้อย 90 วัน โดยมีมากถึง 6 MMBD ที่มาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศคูเวต เป็นหลัก ซึ่งกำลังการผลิตที่มีอยู่ในระดับสูงเป็นผลมาจากการที่กลุ่ม โอเปกพลัส (OPEC+) มีนโยบายในการปรับลดกำลังการผลิตลง ส่งผลให้โอเปกพลัส (OPEC+)เสียส่วนแบ่งทางการตลาดไปเช่นกัน

โอเปกพลัส (OPEC+) จึงต้องรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด โดยมีนโยบายในการทยอยยุติการปรับลดกำลังการผลิตหรือปรับเพิ่มกำลังการผลิตที่ระดับ 0.18 MMBD ตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 แม้ว่าที่ผ่านมาโอเปกพลัส (OPEC+) จะพยายามออกนโยบายในการปรับเพิ่มกำลังการผลิต แต่เนื่องจากสถานการณ์ตลาดน้ำมันที่มีอุปทานในระดับสูงทำให้ โอเปกพลัส (OPEC+)เลื่อนแผนในการปรับเพิ่มกำลังการผลิตออกไป

KNG 9044-min (1)

โดยสรุป ในปี 2568 คาดว่าจะมีกำลังการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากฝั่งผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกพลัส (Non-OPEC+) ปรับเพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.4 MMBD และทางกลุ่มโอเปกพลัส (OPEC+) ปรับเพิ่มกำลังการผลิตที่ระดับ 1.1 MMBD ส่งผลให้อุปทานทั้งหมดในปี 2568 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นที่ระดับ 2.5 MMBD ขณะเดียวกันอุปสงค์การใช้น้ำมันทั่วโลก (OIL DEMAND) เติบโตขึ้นอยู่ที่ 1.1 MMBD ทำให้ในปีหน้าคาดว่าการเติบโตของอุปทานน้ำมันจะมากกว่าการเติบโตของอุปสงค์ถึง 1.3 MMBD แสดงให้เห็นว่าถ้าหากโอเปกพลัส (OPEC+)จะยังคงเดินหน้าปรับเพิ่มกำลังการผลิตจะทำให้ตลาดมีอุปทานส่วนเกิน ดังนั้นโอเปกพลัส (OPEC+) ควรจะทบทวนหรือปรับนโยบายในการปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การตลาดและเพื่อรักษาสมดุลของตลาดน้ำมันไว้

ขณะเดียวกันท่ามกลางความไม่แน่นอนจากประเด็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ หลังการเลือกตั้ง สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน รวมไปถึงมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯต่ออิหร่าน ทำให้ PRISM คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2568 จะเคลื่อนไหวในกรอบ 70-80 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล

ที่มา: คุณญาณภา เสาวภา นักวิเคราะห์การพาณิชย์ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) นักวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน กลุ่ม ปตท. PRISM Experts

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ