NASA เฉลย! ภาพที่ดูเหมือนรุ้งทอดยาวบนดาวอังคาร แท้จริงคือ แสงแฟลร์

Home » NASA เฉลย! ภาพที่ดูเหมือนรุ้งทอดยาวบนดาวอังคาร แท้จริงคือ แสงแฟลร์

NASA เฉลย! ภาพที่ดูเหมือนรุ้งทอดยาวบนดาวอังคาร แท้จริงคือ แสงแฟลร์ จากเลนส์กล้อง ที่ตกกระทบส่วนเซนเซอร์รับภาพ

หลังจากที่ทาง NASA ได้เผยภาพเฮลิคอปเตอร์จิ๋ว Ingenuity ที่ถูกส่งไปยังดาวอังคารกับภารกิจ Mars 2020 ขณะลงแตะพื้นดาวอังคารครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา โดยภาพนี้ถูกถ่ายโดนยานสำรวจ Perseverance Rover

แต่ทางด้านมุมซ้ายและมุมขวาบนของภาพดังกล่าว ปรากฎให้เห็นสิ่งที่ดูเหมือนสายรุ้งทอดยาวบนดาวอังคาร ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานมากมายเพราะรุ้งกินน้ำไม่สามารถเกิดขึ้นได้บนดาวอังคารแบบเดียวกับบนโลก เนื่องจากสภาพความชื้น และการหักเหของแสงบนดาวอังคารที่ต่างกัน หนึ่งทฤษฎีคือ Icebow ปรากฏการณ์ที่เกิดจากรุ้งที่เกิดจากการสะท้อนของน้ำแข็งในบรรยากาศ


และล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เมษายน ทาง NASA ได้ไขข้อสงสัย ว่ารุ้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้บนดาวอังคาร เพราะรุ้งจะเกิดจากแสงอาทิตย์สะท้อนหยดน้ำละอองน้ำในอากาศ แต่บนดาวอังคารนั้นไม่มีความหนาแน่นของน้ำเพียงพอ และหนาวเกินที่อากาศในรูปแบบของเหลวจะมีอยู่ในอากาศ


อย่างไรก็ตาม ทาง NASA เผยว่าภาพดังกล่าวเกิดจาก Lens flare ซึ่งเลนส์แฟลร์เกิดจากการที่แสงจากแหล่งกำเนิดแสงมีความเข้มมากๆอย่างดวงอาทิตย์ หรือหลอดไฟ โดยเมื่อแสงวิ่งเข้าเลนส์กล้องในมุมที่พอดี ก็จะเกิดการสะท้อนไปมาในชิ้นเลนส์ และไปกระทบส่วนเซนเซอร์รับภาพทำให้เกิดภาพเป็นวงแสงนั้นเอง

ข้อมูลและรูปภาพจาก NASA’s Perseverance Mars Rover

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ