Mou คืออะไร? ทำไมต้องมีในการ จัดตั้งรัฐบาล รู้ไว้เท่าทันการเมือง

Home » Mou คืออะไร? ทำไมต้องมีในการ จัดตั้งรัฐบาล รู้ไว้เท่าทันการเมือง
mou

Mou หรือ Memorandum of Understanding คืออะไร? ทำไมต้องมีในการ จัดตั้งรัฐบาล รู้ไว้เท่าทันการเมือง

การเลือกตั้งในปีนี้ถือว่าเป็นที่จับตามากที่สุดตั้งแต่ตอนหาเสียงจนกระทั่งถึงวันที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้งกัน และการนับบัตรคะแนนเสียงของในแต่ละเขต แต่ละคูหา คราวก่อนเราได้อธิบายการจัดตั้งรัฐบาลกันไปแล้วคราวนี้มาที่ข้อเสนอ Mou หรือ Memorandum of Understanding กันบ้าง ว่าคืออะไร? ทำไมต้องมีในการ จัดตั้งรัฐบาล รู้ไว้เท่าทันการเมือง

  • ภาษากายฉบับ “ทิม พิธา” ขณะพูดคุยการจัดตั้งรัฐบาล ท่านี้แปลว่าอะไร?
  • กกต. จัดเลือกตั้งใหม่ หน่วย10 เขต1 จ.นครปฐม ปมฝนตกหนัก-เต็นท์ล้ม
  • ด้อมส้มส่องด่วน! เลขทะเบียนรถแห่ “ทิม พิธา” เคลื่อนขบวนขอบคุณชาวนนทบุรี
business-concept-with-team-close

MOU คืออะไร?

MoU ย่อมาจาก Memorandum of Understanding หรือเรียกกันว่า บันทึกความเข้าใจ หมายถึง เอกสารที่บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ซึ่งเมื่อทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกัน รับทราบถึงรายละเอียดในบันทึกข้อตกลง และยอมรับข้อตกลงที่ทำร่วมกันแล้ว ตัวแทนผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายจะลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้น เพื่อรับรองว่าทั้งสองฝ่ายพึงพอใจกับข้อตกลงที่ทำร่วมกัน และ MOU ฉบับนี้ก็จะมีผลบังคับใช้เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในเอกสารนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

กองธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน นฤมล บุญแต่ง นักวรรณศิลป์ 7 ว ให้คำอธิบายว่า บันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู (MOU-Memorandum of Understanding)  เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด และตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง

โดยที่หนังสือนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้ เช่น สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทำบันทึกความเข้าใจกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา

ขณะที่ บันทึกข้อตกลง (Memorandum of Agreement) เป็นหนังสือหรือสัญญา ซึ่งมีข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นข้อกติกา ข้อที่นัดหมายกันไว้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงมีใช้ได้ทั้ง 2 คำ แต่จะใช้บันทึกความเข้าใจมากกว่า เช่น MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยกับส่วนราชการ ในการแลกเปลี่ยนวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

แหล่งที่มา กองธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน นฤมล บุญแต่ง นักวรรณศิลป์ 7 ว

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ