อาการร้อนแบบนี้! ทำให้รู้ว่าเข้าหน้าร้อนอย่างจริงจังแล้ว หน้าร้อนแบบแหละตัวดีเลย ที่จะทำให้อาหารของเราเน่าเสียได้ง่าย ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในอาหารได้เป็นอย่างดี จึงเหตุผลที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่เกิดอาการท้องร่วง หรืออาหารเป็นพิษได้
- อากาศร้อนจัด! เสี่ยงต่อเนื้อเยื่อผิวเสื่อมสภาพ ป้องกันอย่างไร?
- เตือนภัย! อากาศร้อน พาวเวอร์แบงค์ไหม้ ทั้งๆที่ไม่ได้ชาร์จทิ้งไว้ ไหม้โต๊ะเกือบทะลุ
- การไฟฟ้านครหลวง ชี้แจง ค่าไฟแพง อากาศร้อน ทำให้เกิดสิ่งนี้ตามมา
ดังนั้นวิธีการจัดเก็บอาหารอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารบูดหรือเน่าเสีย ที่จะไม่นำไปสู่อาการผิดปกติ เช่น ท้องเสีย อาเจียน อาหารเป็นพิษ เป็นต้น ทางไบร์ททีวีจึงอยากเสนอวิธีเก็บอาหารและเก็บของสดแบบไหนถึงจะดีที่สุด
- อุณหภูมิและการเก็บอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
การปล่อยอาหารที่ปรุงสุกไว้ในอุณหภูมิห้อง จะทำให้อายุการเก็บของอาหารสั้นลงยิ่งขึ้น เพราะอุณหภูมิภายในห้องจะอยู่ระหว่าง 4°C ถึง 60°C และที่อุณหภูมิ 37 °C แบคทีเรียจะสามารถเติบโตได้ดีที่สุด ยิ่งเป็นช่วงหน้าร้อนของประเทศไทยที่อุณหภูมิส่วนใหญ่จะอยู่ 30 – 40 °C จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารบูด ดังนั้นเมื่อทำปรุงอาหารสุกจนเสร็จควรรับประทานให้หมด หรือถ้าไม่หมดก็ควรเก็บแช่ในตู้เย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารที่ทำจากกะทิ, อาหารที่มีความมันสูง, อาหารทะเล, อาหารที่มีรสจัดหรือรสเปรี้ยว เช่น ขนมจีนน้ำยากะทิ, แกงกะทิ เป็นต้น
- อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บอาหาร
ส่วนอาหารที่ปรุงสุกก็ควรเก็บในอุณหภูมิสูงกว่า 60°C เพื่อที่จะทำให้อาหารของเราปลอดภัยนั้นเอง แต่เมื่อเราต้องการที่จะเก็บอาหารไว้ในที่เย็น ก็ควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่ถูกตั้งอุณหภูมิไว้ต่ำกว่า 4°C ซึ่งจะทำให้อาหารอยู่นานถึง 3-5 วัน เมื่อจะรับประทานให้นำมาอุ่นร้อนอีกครั้ง หรือถ้าทุกคนต้องการจะแช่แข็งอาหารก็สามารถใส่ได้ในช่องฟรีซ ก็จะสามารถยืดอายุอยู่ได้ถึง 3-5 เดือน แต่รสชาติอาจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
- อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บของสด
วิธีการเก็บอาหารสามารถเก็บได้ทั้งแบบแช่แข็งและแช่เย็น โดยอุณหภูมิต้องเหมาะสมสำหรับการเก็บของสด อย่างเช่น ประเภทเนื้อสัตว์ ที่อุณหภูมิจะอยู่ที่ 0°C ถึง 4°C การทำวิธีนี้สามารถจะอยู่ได้นานถึง 5-7 วัน และการแช่แข็งเนื้อสัตว์จะใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า -18 °C ก็จะสามารถรักษาคุณภาพของเนื้อสัตว์ได้นานสูงสุดถึง 6 เดือน เป็นต้น วิธีการที่กล่าวมาสามารถใช้ได้กับตู้เย็นประเภททั่วไป แต่ในส่วนของผักสดหรือผลไม้สดนั้น สามารถเก็บในตู้เย็นทั่วไปในช่องล่างสุดที่เอาไว้สำหรับการเก็บผัก เพื่อหลีกเลี่ยงให้ผักไม่สัมผัสความเย็นโดยตรง ไม่อย่างนั้นจะทำให้ใบผักเหี่ยวเฉาได้ง่าย