ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยเดินหน้ารับมือการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สาม ซึ่งอยู่ในช่วงเดียวกันกับวันแห่งการตระหนักถึงความเท่าเทียมกัน หรือ Global Accessibility Awareness Day นั้น Facebook ประเทศไทย ร่วมนำเสนอเคล็ดลับสำหรับการเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์อย่างเท่าเทียมเพื่อเชื่อมต่อทุกๆ ชุมชนเข้าด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึงผู้ที่มีความพิการด้วย
รายงานการสำรวจจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่จัดทำขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ระบุว่ามีผู้พิการขึ้นทะเบียนในระบบกว่า 2 ล้านคนในประเทศไทย หรือหมายความว่าทุกๆ 100 คน จะมีผู้พิการประมาณ 3 คน โดยในจำนวนดังกล่าว มีผู้พิการกว่าหนึ่งล้านคนที่ประสบปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และมีอีกหลายแสนคนที่ต้องใช้ชีวิตกับการมองเห็น หรือการได้ยินที่บกพร่อง หรือมีภาวะบกพร่องทางสมอง
พันธกิจของ Facebook คือการเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึงผู้ที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายต่างๆ ด้วย ความสามารถในการการเข้าถึงข้อมูลถือเป็นการสร้างโอกาสไปสู่สิ่งใหม่ๆ และสังคมก็ล้วนได้รับประโยชน์เมื่อทุกคนสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ในปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานชาวไทยกว่า 160,000 คน เป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆ บน Facebook กว่า 770 กลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันประสบการณ์ การอาสาสมัคร การบริจาค การให้การสนับสนุน และการหางานสำหรับผู้ที่มีความพิการ
เป้าหมายของเราคือ การสร้างผลิตภัณฑ์และการให้บริการที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าพวกเขาจะมีความแตกต่างทางด้านร่างกายอย่างไร Facebook จึงเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีการเข้าถึงเนื้อหาอย่างเท่าเทียม (accessibility) แบ่งปันประสบการณ์การทำงานด้านนี้เพื่อต่อยอดการพัฒนาและเรียนรู้ เน้นการอบรมเกี่ยวกับการเข้าถึงเนื้อหาอย่างเท่าเทียมในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และร่วมสร้างมาตรฐานใหม่บนโลกออนไลน์เพื่อให้อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เช่นฟีเจอร์คำบรรยายใต้ภาพ
ซึ่งรวมไปถึงการบรรยายแบบเรียลไทม์สำหรับวิดีโอบน Facebook Live หรือฟีเจอร์ข้อความกำกับภาพ (Automatic Alt Text) ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการสร้างคำบรรยายแบบอัตโนมัติเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ใช้งานโปรแกรมอ่านหน้าจอ โดยสามารถบรรยายได้ทั้งเนื้อหาแบบข้อความหรือบรรยายรูปภาพแบบละเอียด และภายในเดือนนี้ เราก็จะเพิ่มเทคโนโลยีข้อความบรรยายวิดีโอแบบอัตโนมัติในกลุ่มต่างๆ บน Facebook ในภาษาท้องถิ่น รวมถึงภาษาไทยเพื่อทำให้เนื้อหาวิดีโอนั้นเข้าถึงคนทุกกลุ่มได้ง่ายขึ้น
คุณแม๊กซ์ ซิมป์สัน ผู้ก่อตั้ง Steps with Theera ศูนย์ฝึกทักษะอาชีพให้กับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ มีความเชื่อว่าคนเราทุกคนล้วนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรี และใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม โดยเขากล่าวว่า “ในยุคดิจิทัลนี้ ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ที่ยอมรับทุกคนในแบบที่พวกเขาเป็น การสร้างชุมชนบนโลกออนไลน์ที่ให้การยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน จะช่วยทำให้พวกเรารู้สึกมีศักยภาพในการทำสิ่งต่างๆ และมีความมั่นใจในตัวเอง ทั้งยังเชื่อมโยงเราเข้าด้วยกันในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้”
ในขณะที่ผู้คนยังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับบ้านเพื่อลดความเสี่ยง และเลือกที่จะใช้ช่องทางออนไลน์ในการเชื่อมต่อถึงกันนั้น การคำนึงถึงผู้พิการ หรือผู้ที่อาจมีข้อจำกัดในด้านต่างๆ ก่อนที่จะโพสต์เนื้อหาลงบน Facebook และ Instagram ก็เป็นสิ่งสำคัญ เราจึงขอนำเสนอเคล็ดลับดีๆ ที่จะทำให้โพสต์ของคุณนั้น เป็นโพสต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง และเข้าใจได้
ใช้ภาษาเรียบง่าย
เลือกใช้คําที่เข้าใจง่ายและประโยคที่สั้น กระชับ ได้ใจความ ประโยคที่ยาวเกินไปอาจทําให้เข้าใจยาก หากคุณเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็แนะนําให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ของตัวอักษรแรกเมื่อขึ้นต้นประโยคเท่านั้น หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพื่อช่วยอํานวยความสะดวกให้กับผู้ที่มีความบกพร่องด้านสมองหรือมีปัญหาในการอ่านตัวหนังสือ
การใช้แฮชแท็ก
สําหรับภาษาอังกฤษ ขึ้นต้นคําด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกครั้งสําหรับการเขียนแฮชแท็ก เช่น ใช้ #BestFriendForever แทน #bestfriendforever วิธีนี้เรียกว่า CamelCase หรือการเขียนติดกันโดยไม่เว้นวรรค โดยจะช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถอ่านแฮชแท็กได้แม่นยํามากขึ้น
สัญลักษณ์อีโมจิ
หลีกเลี่ยงการสร้างอีโมติคอนจากตัวอักษร เช่น ̄_(ツ)_/ ̄ เนื่องจากผู้ใช้งานหลายคนไม่สามารถอ่านหรือถอดความหมายได้ และยังยากต่อฟีเจอร์ช่วยอ่าน (screen reader) ในการอ่านคําให้ผู้พิการทางสายตา ควรใช้สัญลักษณ์อีโมจิหรือรูปเล็กๆ เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกหรือบอกกล่าวความคิดของคุณได้เช่น