FootNote:2 รูปแบบ ต่อสู้ทางการเมือง จาก 14 ไปยัง 16 พฤศจิกายน

Home » FootNote:2 รูปแบบ ต่อสู้ทางการเมือง จาก 14 ไปยัง 16 พฤศจิกายน


FootNote:2 รูปแบบ ต่อสู้ทางการเมือง จาก 14 ไปยัง 16 พฤศจิกายน

FootNote:2 รูปแบบ ต่อสู้ทางการเมือง จาก 14 ไปยัง 16 พฤศจิกายน

คล้ายกับการชุมนุม ณ แยกปทุมวัน แล้วเคลื่อนขบวนไปยังสถานเอกอัครราชทูตสหพันธรัฐเยอรมนี เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน กับการประชุมรัฐสภาในวันที่ 16 พฤศจิกายน จะเป็นเรื่องคนละประเด็น

เนื่องจากประเด็นในวันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นเรื่องของการชุมนุมเรียกร้อง ขณะที่วันที่ 16 พฤศจิกายนเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ

กระนั้น หากดูจากรากฐานและรายละเอียดอันเป็นส่วนเสริมองค์ประกอบ กระทั่งประเมินจากเป้าหมายก็จะเห็นตัวละคร ‘ร่วม’ ที่แทบไม่แตกต่างกันมากนัก

เพราะมูลเชื้อแห่งความจำต้องเคลื่อนไหวในวันที่ 14 พฤศจิกายน กับ การเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 16 พฤศจิกายนกลับเป็นอย่างเดียวกัน

นั่นก็คือ รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 อันเป็นที่มาแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และสภาพการปกครองอย่างที่ประจักษ์ในเดือนพฤศจิกายน 2564

เป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่างหากคือ ‘เป้าหมาย’

เป็นระบอบอันก่อรูปมาจากกระบวนการรัฐประหาร 2 ครั้งติดต่อกันต่างหากที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและต่อสู้ขึ้นมา

ยิ่งเมื่อหันไปดูตัวละครไม่ว่าที่เห็นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ไม่ว่าที่จะเห็นในวันที่ 16 พฤศจิกายน ทั้งที่เป็นฝ่ายเสนอ ทั้งที่เป็นฝ่ายร่วมกันพิจารณาก็แทบมิได้แตกต่างกันเลย

เพราะคนที่จะเข้าไปชี้แจงในรัฐสภาคนหนึ่งคือ นายปิยบุตร แสงกนกกุล คนหนึ่งคือ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ

เพราะส่วนหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายจะรับหรือปฏิเสธก็คือ บรรดานักการเมืองจากพรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ และที่สำคัญก็คือบรรดา 250 ส.ว.

เพียงแต่การเคลื่อนไหวในวันที่ 14 พฤศจิกายนอยู่บนในถนน ขณะที่บทบาทในวันที่ 16 พฤศจิกายนอยู่ในที่ประชุมรัฐสภา

แม้ว่ากระบวนการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 จะก่อรูปของรัฐสภาขึ้นมาตามขนบแห่งระบอบประชาธิปไตย แต่ภายหลังการยุบ พรรคอนาคตใหม่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ก็ก่อเกิดปรากฏการณ์

นั่นก็คือ การต่อสู้บนท้องถนนที่มี ‘เยาวชน’ เป็น ‘กองหน้า’

การเคลื่อนไหวผ่านกระบวนการ ‘รี-โซลูชั่น’ คือความพยายาม ประสานการต่อสู้บนท้องถนนกับในรัฐสภาเข้าไปด้วยกันจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอีกไม่นานจะได้คำตอบ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ