FootNote สถานการณ์ “สภาล่ม” ซ้ำซาก กับ ข่าวลือ ข่าวปล่อย ยุบสภา
สถานการณ์ “สภาล่ม” เมื่อที่ 20 สิงหาคม แตกต่างไปจากสถานการณ์อย่างเดียวกันนี้ไม่ว่าจะเป็นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม หรือเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม
เนื่องจาก “สภาล่ม”ก่อนหน้านี้มาจากร่างพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ขณะที่ครั้งหลังสุดเป็นร่างพรบ.งบประมาณ
ต่อร่างพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งมีความเด่นชัดว่าพรรคเพื่อไทยอันอยู่ในสถานะผู้นำฝ่ายค้านต้องการคว่ำซึ่งสอดรับกับความ ต้องการลึกๆของกลุ่มกุมอำนาจ
ไม่ว่าที่สำแดงออกผ่านบางส่วนภายใน 250 ส.ว. ไม่ว่าที่สำ แดงออกผ่านด้านหลักของพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งดำรงอยู่ในฐานะแกนนำของพรรคร่วมรัฐบาล
ขณะที่กล่าวสำหรับร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 พรรคฝ่ายค้านไม่ว่าพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าพรรคก้าวไกล แม้จะของสงวนคำแปรญัตติแต่เพื่อขอตัดมิใช่เพื่อคว่ำ
การดำรงองค์ประชุมของสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นการดำรง
โดยความรับผิดชอบของพรรคฝ่ายค้าน ปัจจัยอันทำให้”สภาล่ม”จึงมาจากพรรคร่วมรัฐบาลอย่างเป็นด้านหลัก
และที่ละเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่งเป็นสภาวะ”สภาล่ม”ต่อร่างพรบ.งบประมาณซึ่งเสนอโดยรัฐบาล
หากมองจากผลประโยชน์ของรัฐบาลมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่รัฐบาลจักต้องผ่านความเห็นชอบต่อร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ให้จงได้
เหตุผลที่สำคัญเพราะเป็นร่างพรบ.อันเกี่ยวกับ”งบประมาณ”และเสนอโดยรัฐบาลมีผลสะเทือนสูงอย่างสูงยิ่ง
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหากไม่ผ่านรัฐบาลต้องออก
ความละเอียดอ่อนอยู่ตรงที่ปัจจัยอันทำให้”สภาล่ม”มาจาก ทางด้านของรัฐบาล มิใช่ทางด้านของฝ่ายค้าน นี่ย่อมเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของรัฐบาล
ความหมายก็คือ ภาวะ”สภาล่ม”สะท้อนทั้งปัญหาระหว่างรัฐ บาลกับพรรคร่วมรัฐบาล และระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
ในที่สุดก็คือ ปัญหาของ”รัฐบาล”กับ”รัฐสภา”
น่าสนใจก็ตรงที่สถานการณ์”สภาล่ม”เกิดขึ้นในท่ามกลางกระแสข่าวลือที่”ปล่อย”ออกมาอย่างเป็นระบบว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจเลือก”ยุบสภา”เป็นทางออกจากปมแห่งปัญหา
นั่นก็คือ ปัญหาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี
นั่นก็คือ เลือกเอาวิธีการ”ยุบสภา”จากสถานการณ์ปั่นป่วนวุ่นวายที่เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา
โดยมีกลไกบางส่วนใน”รัฐสภา”สร้างความชอบธรรมให้