เบื้องหน้าคำถาม หากต้องพบกับการรัฐประหารในฐานะเป็นผู้ว่าฯกทม.ท่านจะวางบทบาทของตนอย่างไร คำตอบจาก นาย สกลธี ภัททิยกุล กับ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร แตกต่างกัน
เป็นความแตกต่างที่สามารถเข้าใจได้ ไม่ว่าจะมองจากด้าน ของ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร หรือ นายสกลธี ภัททิยกุล
ประการ 1 เพราะ นายสกลธี ภัททิยกุล คือ บุตรของ พล.อ.วิ นัย ภัททิยกุล ซึ่งเคยเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม และเคยเป็นเลขาธิการคมช.ซึ่งมีบทบาทในรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
ประการ 1 เพราะ นายสกลธี ภัททิยกุล เคยร่วมอยู่ในมวลมหาประชาชนกปปส.ซึ่งมีบทบาทในการปูทางสร้างเงือนไขให้รัฐ ประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เกิดขึ้น
ประการ 1 เพราะภายหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 นายสกลธี ภัททิยกุล และเพื่อนจากพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้าร่วมในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
อันนำไปสู่การร่วมในการก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ อันไม่
เพียงแต่ทำให้พวกเขาได้เป็นรัฐมนตรี หาก นายสกลธี ภัททิยกุล ยังได้รับตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าฯกทม.
พื้นฐานความสัมพันธ์ทางการเมืองเช่นนี้เองทำให้ท่าทีและการตอบของ นายสกลธี ภัททิยกุล ออกมาก้ำๆกึ่งๆไม่เด็ดขาด
เมื่อท่าทีของ นายสกลธี ภัททิยกุล ถูกรัดรึงไว้ด้วยความสัมพันธ์และผลประโยชน์ทางการเมืองจึงนำไปสู่การแยกจำแนกอย่างเด่น ชัดใน 2 จุดยืนซึ่งแตกต่างกัน
นายสกลธี ภัททิยกุล แบ่งรับแบ่งสู้ ขณะที่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ปัดปฏิเสธ”รัฐประหาร”อย่างสิ้นเชิง
ไม่เพียงปฏิเสธหากยังประณามการรัฐประหารอย่างถึงแก่น
ท่าทีและการตอบคำถามของ นายสกลธี ภัททิยกุล เมื่อปรากฏพร้อมกับ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร จึงนำไปสู่การแบ่งขั้ว
ในทางความคิดและในทางการเมืองอย่างเด่นชัด
ความเด่นชัดนี้จะมีผลหรือไม่ต่อการตัดสินใจของชาวกรุงเทพมหานครในการเลือกหรือไม่เลือก
คำตอบจะเห็นอย่างเป็นรูปธรรมในวันที่ 22 พฤษภาคม
ระยะเวลาก่อนถึงวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคมจึงเป็นระยะเวลาอันทรงความหมายยิ่งในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว ไม่ ว่าจะเป็นการพูดล้วนส่งผลสะเทือนทั้งสิ้น
ทุกอย่างดำเนินไปอย่างสัมพันธ์กับรากฐานและที่มา
ไม่ว่าจะมองผ่าน นายสกลธี ภัททิยกุล ไม่ว่าจะมองผ่าน นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ล้วนมิอาจหลบเลี่ยงได้
เป็นไปตามกฎแห่งกรรม เป็นไปตามหลักกรรมใดใครก่อ